fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

Sharing Economy การทำธุรกิจแบบ Peer to Peer : Survive or Die

เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 5 - 10 ปีที่ผ่านมา กระแสธุรกิจ Sharing Economy เป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ที่มีลักษะณะการทำธุรกิจแบบ Peer to Peer (P2P) ซึ่งก็คือการจับคู่ระหว่างผู้ให้บริการที่มีทรัพย์สินหรือสิ่งของ เช่น ห้องพัก (Airbnb) รถยนต์ (Grab) ฯลฯ ที่ไม่ได้ใช้หรือมีมากเกินความจำเป็นกับผู้ใช้บริการที่มีความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ โดยการเช่า-ยืมแทนการครอบครอง โดยธุรกิจนี้ จึงสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการและในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการนำทรัพยากรที่ยังไม่ถูกนำมาใช้หรือทรัพยากรส่วนเกิน (Excess Capacity) มาจัดสรรให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เมื่อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาด ธุรกิจแบบนี้ส่วนใหญ่ต้องประกาศลดพนักงานเป็นจำนวนมากเนื่องจาก มาตรการที่หน่วยงานสุขภาพทั่วโลกได้นำมาใช้เพื่อช่วยลดจำนวนการแพร่เชื้อจากการระบาด นั่นก็คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น จากวิกฤตครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากของบริษัทและพนักงาน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นปรา...

23 February 2021

ขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่ วิสัยทัศน์ต้องมาพร้อมกลยุทธ์

คุณพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เทคนิคการแปลงวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยสามารถสรุปสาระสำคัญจากการบรรยายได้ดังนี้ โลกธุรกิจปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายเพิ่มขึ้น ทำให้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการหารายได้เพื่อความอยู่รอด แต่รู้หรือไม่ว่าการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนต้องเริ่มจากการตั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรให้ชัดเจน กล่าวคือมองตัวเองอย่างไรในอนาคตอันไกล (ระยะ 10 ปีขึ้นไป) จึงต้องพยายามปรับตัวไปในแนวทางนั้นโดยไม่หลุดจากกรอบที่วางไว้ เพื่อให้ทุกคนมองเห็นเป้าหมายขององค์กรไปในทิศทางเดียวกัน และนำมาซึ่งการขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น 3 ทางลัดในการสื่อสารวิสัยทัศน์ไปยังพนักงานทุกระดับจึงมีความสำคัญ  ตั้งเป้าหมายร่วมกันและวัดผล : ต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร ด้วยการสร้างรูปแบบกา...

17 February 2021

Brick-and-mortar Shops Focusing on Creating Good Customer Experience with Technology to Impress Gen M

The businesses that depend mainly on brick-and-mortar shops to adapt during the new wave of COVID-19 to create strengths and opportunities. They should apply technologies including geofencing technology, the Internet of Things (IoT) and cloud computing to offer the good customer experience that suits the completely changing behaviors of consumers, especially the millennials who have purchasing power. Good customer experience can happen through cleanliness, improved access to customers, long-term customer satisfaction, the status of being new destinations and increased collaboration between shop owners and landlords. These are known as SOLDC. COVID-19 outbreaks heavily affected business and it was difficult to foresee an opportunity for business to be restored to its pre-COVID state. The adverse situation happens especially to brick-and-mortar shops that feel three impacts – the declining number of the people who go shopping, the consumers who spend more carefully and the targ...

สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยโมเดล Customer Lifetime Value

ทำความรู้จักกับ Customer Lifetime Value (CLV) กลยุทธ์สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยการดึงลูกค้าใหม่ เอาใจลูกค้าเก่า การสร้างสรรค์สินค้าและบริการในปัจจุบัน หากใช้วิธีการออกแบบตามความพึงพอใจของผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไปแล้ว เพราะเทรนด์ของการทำธุรกิจในยุคนี้ ผู้ผลิตต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ทำทุกอย่างโดยมองจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้ตอบสนองความต้องการหรือ Pain Point ของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด เพราะเมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการของเรา แวะเวียนมาอุดหนุนบ่อยๆ จนกลายเป็นลูกค้าประจำ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ! CLV มักถูกนำมาใช้ประเมินความคุ้มค่าในการบริหารจัดการลูกค้า และเป็นตัวชี้วัดการปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ หากจะกล่าวให้ชัดก็คือ การคำนวณว่าลูกค้า 1 คน จะสามารถสร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้เท่าไรตลอดระยะเวลาที่เขาเป็นลูกค้าของเรา โดยวิธีการคำนวณมูลค่าที่ง่ายที่สุดแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ คำนวณจากข้อมูลของลูกค้ารายบุคคล ซึ่งต้องนำมูลค่าการซื้อต่อครั้ง ไปคูณกับความถี่ในการซื้อ จากนั้นจึงนำผลลั...

SOAR Analysis อีกทางเลือกหนึ่งที่มาแทน SWOT Analysis

SOAR Analysis เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ทดแทน SWOT Analysis ด้วยการวิเคราะห์จาก Strength (จุดแข็ง) Opportunity (โอกาส) Aspiration (แรงบันดาลใจ) และ Result (ผลลัพธ์) ซึ่งมีความแตกต่างจาก SWOT Analysis ที่เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นขององค์กรจากปัจจัยภายในและภายนอก แต่ไม่อาจระบุเป้าหมายหรือแนวทางในการดำเนินงานได้ ในขณะที่ SOAR Analysis ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้ผู้วิเคราะห์หรือนักกลยุทธ์มองเห็นไปถึงภาพสุดท้ายหรือผลลัพธ์ของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน SOAR Analysis คือการจัดทำ Matrix ที่แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 แกนร่วมกันได้แก่ ช่วงเวลาและปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรต่อองค์กร ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ Strength (จุดแข็ง) การวิเคราะห์หาจุดเด่นที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างและสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ BTS/MRT มีผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น Opportunity...

28 January 2021

Agile Marketing นักการตลาดต้องรู้ ยิงโฆษณาให้รวดเร็ว-ตรงจุด

ในปัจจุบัน นักการตลาดมีเครื่องมือมากมายในการโปรโมทสินค้า แต่คำถามสำคัญคือใช้เครื่องมือเหล่านั้นเต็มประสิทธิภาพหรือยัง? "Agile Marketing" คือหลักการที่จะช่วยให้ออกแคมเปญการตลาดได้รวดเร็ว และนำผลตอบรับจากผู้บริโภคไปปรับปรุงแคมเปญให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งออกแคมเปญได้ในเวลาที่เหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์ จากรายงานการสำรวจองค์กรธุรกิจชั้นนำจาก Digital.ai บริษัทให้บริการโซลูชั่นการบริหารจัดการองค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสอบถามความเห็นจากผู้บริหารและที่ปรึกษาธุรกิจจากหลายภาคอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 1,000 รายทั่วโลกเมื่อปี 2562 พบว่า องค์กรที่นำหลักการ Agile มาปรับใช้ในการทำการตลาด สามารถสร้างรายได้และยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 20 - 40% เมื่อเทียบกับการทำการตลาดแบบเดิม ขั้นตอนเบื้องต้นที่ธุรกิจสามารถนำหลักการ Agile ไปประยุกต์ใช้กับการทำการตลาด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน วางกรอบเป้าหมายนับเป็นขั้นตอนลำดับแรก โดยประกอบด้วยการตั้งเป้าหมายและวางแนวทางการทำงานเบื้องต้น ทั้งการสร้างทีมงาน วิธีการทำงานของนักการตลาดหรื...

24 January 2021

เชื่อหรือไม่ว่า!? บางบริษัทใช้ SWOT analysis เพียงแค่ “S” และ “W” เท่านั้น

จาก SWOT analysis ที่เราเคยศึกษากันมา 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง) เพื่อใช้วิเคราะห์สถานภาพขององค์กรและการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งการหาโอกาสในอนาคต แต่วันนี้เราจะมาเล่าถึงอีกแนวคิดหนึ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนจาก SWOT analysis เหลือเพียงแค่ "S" Strength และ "W" Weakness เท่านั้น แต่สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ "C" มาจาก "Competitor" หรือที่เรียกว่า "SWC" Strength "หาจุดแข็ง" ให้เจอWeakness "วิเคราะห์จุดอ่อน" ให้ออกCompetitor "รู้จักคู่แข่ง" ให้ดี ซึ่งในการวิเคราะห์นี้จะไม่เน้น O (Opportunity) และ T (Threat) แต่สนใจไปที่ C (Competitor) ในการเปรียบเทียบระหว่าง S และ W ขององค์กรเรากับคู่แข่งเพียงเท่านั้น ให้สามารถประเมินได้ว่าเรามีอะไรที่ชนะคู่แข่งหรือสิ่งใดที่จะทำให้คู่แข่งกลายเป็นเจ้าตลาดแทนเราได้ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถตอบโจทย์ได้จริงในการแข่งขันกับคู่แข่ง มากกว่าการวิเคราะห์จากโอกาสและความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้หรือเหนือความคาดการณ์ในบางครั้ง คงต้องบอกว่า SWOT analysis เป็นแ...

21 January 2021

SMEs ไทยกับปัญหาใหญ่เรื่อง “เงิน”

การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น รากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างธุรกิจ SMEs ที่คิดเป็นกว่า 90% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศและมีการจ้างงานสูงกว่า 13 ล้านคน ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากยิ่งขึ้นไปอีก จากวิกฤตโควิด หลังเผชิญคลื่น Technology Disruption ไปก่อนหน้านี้ เมื่อมองในภาพของปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของ SMEs นั้น พบว่าการเข้าไม่ถึงเงินทุนของสถาบันการเงินเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจ (Access of source of funds) การขาดความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในด้านการบริหารจัดการเงินทุน (Cash management) และการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร โดยหากแบ่งย่อยลงไปตามประเภทของ SMEs จะพบว่าแต่ละกลุ่มเผชิญปัญหาที่แตกต่างกัน 1. ME (Medium Enterprises) หมายถึงกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 50 - 500 ล้านบาท สำหรับปัญหาของ MEs คือหลักประกันไม่เพียงพอสำหรับขอสินเชื่อให้ได้วงเงินตามที่ต้องการ โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่ต้องการวงเงินสูงมาก ซึ่งจากจำนวน ME ทั้งหมด 44,290 ราย ข้อมูลจาก Bluebik Analysis พบว่ามีธ...

16 January 2021

Privacy หรือ Security ผ่านมุมมอง Digital Transformation

จากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของ Timeline ผู้ป่วย เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของทั้งตัวเองและคนรอบตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่าไม่ได้มีทุกคนที่ยินยอมจะบอกความจริงตั้งแต่ต้น และอาจจะสายเกินไปเมื่อเกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลหลายประเทศจึงเริ่มออกมาตรการในการติดตามตัวประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูล Timeline ที่แน่นอน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ อาทิ ระบบ GPS และ Bluetooth ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัว #Privacy อย่างร้อนแรง เนื่องจากเป็นทราบกันดีว่าในยุคนี้ "Data is a new oil" เราแทบไม่รู้เลยว่ากลุ่มธุรกิจหรือรัฐบาลสามารถทำอะไรกับข้อมูลของเราได้บ้าง แอปพลิเคชัน #หมอชนะ นับตัวอย่างหนึ่งของมาตรการรัฐบาลไทยเพื่อติดตามการเดินทางของประชาชนและประเมินความเสี่ยง โดยแอปฯ นี้ขออนุญาตเข้าถึงกล้อง ตำแหน่งผู้ใช้ คลังภาพและวิดีโอ รวมถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟนของเรา หลายคนจึงเกิดคำถามว่า เป็นการขอเข้าถึงข้อมูลเกินความจำเป็นหรือไม่? ...

ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่ตั้งแต่ที่จอดรถ

ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่หลังปลดล็อกดาวน์ระยะ 4 เรียกความมั่นใจให้ลูกค้าตั้งแต่ก้าวแรกเข้าใช้บริการด้วยนวัตกรรมการจอดรถอัจฉริยะหนุนไร้การสัมผัส ความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่การใช้ชีวิตไม่มีวันเหมือนเดิม เพราะยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และเพื่อให้รู้สึกถึงความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตเมื่อต้องไปสถานที่ต่างๆ มากขึ้น พร้อมแนะ 3 ธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า-โรงพยาบาล-คอนโดมิเนียม ต้องเริ่มและเร่งปรับตัวเพื่อเรียกความมั่นใจให้ผู้บริโภคและลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างไร้กังวลเรื่องความปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีระบบบริหารที่จอดรถอัจฉริยะเข้ามาช่วยให้มีการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ หรือบุคคลให้น้อยที่สุด (Contactless) ตั้งแต่ก้าวเข้ามาใช้บริการ  เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์โดยเริ่มเปิดสถานที่สาธารณะต่างๆ ให้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น แต่โควิด-19 ก็ได้สร้างความปกติในรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ (New Normal) ให้กับทุกคน เพราะต่างรู้กันอยู่แล้วว่า จากนี้ไปวิถีชีวิตประจำวันจะไม่มีอะไรเหมือนเดิม ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลชัดเจนที่ภาคธุร...