จัดการความเสี่ยงธุรกิจด้วย Risk Matrix
จัดการความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างเป็นระบบด้วย Risk Matrix ช่วยประเมินโอกาสและผลกระทบ เพื่อวางแผนรับมือได้อย่างแม่นยำและรอบคอบยิ่งขึ้น
คนส่วนใหญ่รู้ว่าธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายประการ แต่ก็ใช่ว่าทุกกรณีจะเลวร้ายเสมอไป เพราะหากสามารถวางแผนและจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้ ธุรกิจย่อมสามารถอยู่รอดและไปต่อได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด จึงเป็นที่มาของการทำ Risk Matrix ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงนั่นเอง
การใช้ Risk Matrix ไม่เพียงช่วยให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายมิติขององค์กร เช่น ในการวางแผนโครงการ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่ในการตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ ซึ่งในแต่ละมิติของธุรกิจนั้นจะมีระดับความเสี่ยงและผลกระทบที่แตกต่างกัน การใช้ Risk Matrix ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเห็นแนวโน้มของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแต่ละด้านได้อย่างชัดเจน และสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกฝ่ายในองค์กรมีมุมมองร่วมกันในการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายบัญชีการเงิน หรือฝ่ายกลยุทธ์ ก็สามารถใช้เมทริกซ์เดียวกันในการประเมินและติดตามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแผนงานหรือเป้าหมายทางธุรกิจ ทำให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แม้การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสี่ยงมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการได้รับผลตอบแทน เพราะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ธุรกิจจะได้ผลตอบแทนโดยไม่ต้องเสี่ยง ในบางกรณียิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งได้ผลตอบแทนมาก ดังนั้น จุดประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงจึงไม่ใช่การ “ขจัด” ความเสี่ยง แต่เป็นการดูแลความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ธุรกิจรับมือไหวและสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจไปพร้อมกัน

Risk Matrix เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับช่วยวางกระบวนการประเมินความเสี่ยง กำหนดระดับความเสี่ยงโดยพิจารณาถึงความน่าจะเป็นหรือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์กับความรุนแรงของผลที่ตามมาต่อธุรกิจหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เมื่อนำ Risk Matrix มาใช้ จึงจะช่วยให้ธุรกิจมองเห็นความเสี่ยงที่มีแนวโน้มเกิดขึ้น ช่วยประกอบการตัดสินใจและวางแนวทางบรรเทาผลกระทบ โดย Risk Matrix มีขั้นตอนการประเมินดังนี้
1. ทำรายการความเสี่ยงทางธุรกิจในการดำเนินงานและความเสี่ยงทางการเงิน รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องการเมือง นโยบายการบริหารประเทศ เป็นต้น
2. นำรายการความเสี่ยงที่ประเมินไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาจัดลำดับความเป็นไปได้ที่ความเสี่ยงเหล่านั้นอาจเกิดขึ้น โดยความเป็นไปได้ของความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- น่าจะเกิดขึ้น – มีโอกาสเกิดขึ้นมาก
- เป็นไปได้ – มีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง
- ไม่น่าจะเป็นไปได้ – โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น
3. วิเคราะห์แต่ละความเสี่ยงและกำหนดผลกระทบต่อธุรกิจหากความเสี่ยงนั้นจะเกิดขึ้น ผลกระทบของความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- 0 – ยอมรับได้ – แทบไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจเลย
- 1 – พอรับได้ – รู้สึกถึงผลกระทบแต่ไม่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจ
- 2 – ไม่สามารถยอมรับได้ – ทำให้เกิดการหยุดชะงักครั้งใหญ่ของธุรกิจ
- 3 – ทนไม่ได้ – ธุรกิจอาจไม่ฟื้นตัว

4. สุดท้าย พิจารณาจากโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงแต่ละอย่าง แล้วจัดวางแต่ละความเสี่ยงลงใน Risk Matrix ง ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมองเห็นภาพว่าความเสี่ยงไหนมีความรุนแรงมากที่สุดแล้วไปจัดการความลดความเสี่ยงนั้นก่อน อีกทั้งยังช่วยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อหาแนวทางเตรียมรับมือก่อนจะเกิดขึ้น
การประเมินและจัดการกับความเสี่ยงไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่า Risk Matrix เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่โซลูชันที่สมบูรณ์ แต่ก็ถือเป็นอีกเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการทำให้ธุรกิจมีจุดเริ่มต้นในการจัดการความเสี่ยงและการพัฒนากลยุทธ์การบรรเทาผลกระทบ
แล้วธุรกิจของคุณมีเมทริกซ์ความเสี่ยงสำหรับธุรกิจของคุณหรือยัง?
ขอบคุณข้อมูลจาก Steven Imke, Business2Community
ในโลกที่ธุรกิจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวอย่างรวดเร็วและแม่นยำกลายเป็นหัวใจสำคัญของความอยู่รอดและการเติบโต Bluebik Group บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านกลยุทธ์และ Digital Transformationพร้อมเป็นพาร์ตเนอร์สำคัญที่ช่วยองค์กรขับเคลื่อนสู่อนาคต ด้วยบริการที่ครอบคลุมทั้งการวางกลยุทธ์เชิงลึก การออกแบบและพัฒนาโซลูชันดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย Big Data& Artificial Intelligenceรวมถึงการบริหารจัดการโครงการ (Project Management) ที่เน้นผลลัพธ์เป็นรูปธรรม
Bluebik มีจุดแข็งในเรื่องของการผสานความเข้าใจธุรกิจเข้ากับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้ระบบ ERPเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ด้าน Supply Chain Managementให้ตอบโจทย์การผลิตและกระจายสินค้าในยุคที่ทุกวินาทีมีค่า หรือการออกแบบประสบการณ์ลูกค้าผ่าน Digital Platformที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ทุกบริการล้วนดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริงในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมร่วมคิด วางแผน และลงมือทำไปกับองค์กรทุกขั้นตอน เพื่อเปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน