fbpx
Blogs 11 November 2020

สรุป OKR เครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว เชื่อว่าหลายบริษัทหรือหลายคนในที่นี้คงกำลังเริ่มวุ่นกับการทำแผนธุรกิจสำหรับปีหน้า และหนึ่งในหัวข้อสำคัญคงไม่ผลเรื่องแนวทางการปฏิบัติงานและการวัดผล โดยเฉพาะการทำ KPI และ OKR วันนี้เราจึงอยากจะมาเล่าถึงการจัด OKR ที่ดีเพื่อให้องค์สามารถบรรลุเป้าหมายธุรกิจในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คงต้องบอกว่า OKR (Objectives & Key Results) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถนำ OKR ไปใช้ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้จริง เราจึงขอนำเสนอแนวทางการเขียน OKR อย่างได้ผล

2020_10_16_OKR-01.png

โดย OKR มีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลักด้วยกัน

1. Objectives คือเป้าหมาย หมายถึงสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จ (What) ควรเป็นเป้าหมายหลักขององค์กร หน่วยงาน หรือทีมที่กระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันในการทำงาน โดยเป้าหมายอาจไม่จำเป็นต้องมีเพียงอย่างเดียว

เช็คลิสต์การตั้งเป้าหมาย

  • เป้าหมายมีทิศทางที่ชัดเจนหรือไม่
  • เป้าหมายควรสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร
  • เป้าหมายมีความท้าทาย แต่ขณะเดียวกันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริง
  • เป้าหมายควรอิงจากข้อมูลความเป็นจริง ไม่ล่องลอยโดยไม่มีหลักการ
  • เป้าหมายมีกรอบเวลาในการบรรลุผลหรือไม่

2. Key Results คือตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าหมาย ซี่งก็หมายถึงแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (How) ในการกำหนดตัวชี้วัดควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ โดยวัดจากผลลัพธ์ที่ได้ ไม่ใช่ตัวกิจกรรมที่ทำ และการกำหนดตัวชี้วัดควรอยู่ที่ราว 3-5 อย่าง

เช็คลิสต์การตั้ง Key Results

  • มีความเฉพาะเจาะจง
  • วัดผลเป็นตัวเลขได้ เช่น ต้องมียอดดาวน์โหลด 100,000 ดาวน์โหลด ภายในไตรมาส 3
  • มีกรอบเวลาวัดผลที่ชัดเจน เช่น วัดผลทุกไตรมาส

ทำไมถึงควรใช้ OKR

  • ช่วยให้ทุกคนทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน
  • ทำให้คนในองค์กรโฟกัสได้ตรงจุด สอดคล้องกับเป้าหมายที่องค์กรต้องการจริงๆ
  • สร้างกระบวนการทำงานที่ชัดเจนและวัดผลได้
  • สร้างความโปร่งใสของกระบวนการทำงานภายในองค์กร

แล้ว OKR ต่างจาก KPI อย่างไร

  • KPI จะมีผลโดยตรงต่อผลตอบแทนที่พนักงานได้รับ เราอาจเรียกว่า Compensation KPI ในขณะที่ OKR ไม่ยึดโยงกับผลตอบแทน
  • OKR จะประกาศให้ทุกคนในองค์กรรู้ และจะมีการทบทวนถี่กว่าอย่างน้อยเป็นรายไตรมาส ขณะที่ KPI ไม่มีการประกาศและทบทวน ครึ่งปีหรือปีละครั้ง
  • OKR เป็นการท้าทายระบบการทำงานแบบเดิม ในขณะที่ KPI ยังยึดรูปแบบหรือระบบการทำงานเดิมเป็นหลัก
  • ทีมสามารถควบคุมผลลัพธ์ของ OKR ได้บางส่วน สำหรับกรณี KPI ทีมสามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ทั้งหมด
  • OKR มาจากการระดมความคิดเห็นของพนักงานที่ปฎิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ (Bottom-up) ในขณะที KPI จะเป็น Top-down

ขอบคุณข้อมูลจาก okr-thai.com, piktochart