fbpx
Insights 27 November 2024

จำกัดความเสียหายจากการโจมตีไซเบอร์ ด้วย IR Best Practices สำหรับธุรกิจ

แม้ธุรกิจส่วนใหญ่ตระหนักถึงภัยคุกคามไซเบอร์มากขึ้น แต่หนึ่งในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญอย่าง ขีดความสามารถในการตอบสนองเมื่อถูกโจมตี (Incident Response – IR) กลับถูกมองข้าม ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์โจมตีหรือการละเมิดข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา   

รายงานของ Computing Technology Industry Association หรือ CompTIA ในปี 2567 พบว่ามีเพียงร้อยละ 37 ของบริษัททั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการวางแนวทางตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีแผนรับมือ ด้วยเหตุนี้ บลูบิค ไททันส์ จึงนำเสนอบทความเพื่อยกระดับการตอบสนองพร้อมจำกัดความเสียหายเมื่อภัยมา ให้แก่ธุรกิจผ่าน IR Best Practices ดังต่อไปนี้ 

13 Incident Response Best Practices  

  1. การวางแผน IR (Build an IR Plan): การพัฒนาแผน IR โดยระบุขั้นตอนการตอบสนองที่ชัดเจน จะช่วยให้ทีมงานสามารถตอบสนองและฟื้นฟูระบบการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  1. การปฏิบัติตามกรอบการทำงานการตอบสนองต่อเหตุการณ์: แผน IR ควรอ้างอิงกรอบการดำเนินการตอบสนองต่อเหตุการณ์  (Incident Response Framework) ซึ่งมีกรอบการทำงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือจากหลายหน่วยงาน อาทิ National Institute of Standards and Technology – NIST), ISO, Information Systems Audit and Control Association – ISACA, และ SANS Institute and Cloud Security Alliance เป็นต้น กรอบการทำงานเหล่านี้ระบุแนวทางการตอบสนองและการแบ่งการทำงาน ซึ่งทีมงานสามารถพิจารณาใช้กรอบการทำงานที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร 
  1. การปฏิบัติตาม 6 ขั้นตอนของ IR: โดยหลักการพื้นฐานทั่วไปแล้วกรอบการทำงาน IR จะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้  
  • การเตรียมความพร้อม (Preparation): ในขั้นตอนนี้เกี่ยวกับ การสร้างและตรวจสอบนโยบายและคู่มือการดำเนินงานด้าน IR ประเมินความเสี่ยง ระบุทีมงานด้าน IR และหน้าที่อื่น ๆ เป็นระยะ เพื่อให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • การตรวจสอบ (Detection): ขั้นตอนนี้ประกอบไปด้วย การตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานและประเมินความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 
  •  การควบคุม (Containment): เป็นขั้นตอนจำกัดความเสียหายและผลกระทบจากเหตุการณ์ 
  • การกำจัด (Eradication): ในขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการกำจัดต้นตอที่ทำให้เกิดปัญหา 
  • การฟื้นฟู (Restoration): เป็นขั้นตอนการฟื้นฟูระบบและอุปกรณ์ให้กลับมาดำเนินการตามมาตรฐานปกติ 
  • การประเมินหลังเกิดเหตุ (Post-Incident Evaluation): ประกอบไปด้วยการบันทึกข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับใช้ในอนาคต 
  1. การจัดทำคู่มือ (Create Playbook): องค์กรควรเก็บรวบรวมและจัดทำคู่มือการตอบสนองเหตุการณ์ อาทิ บันทึกขั้นตอนการตอบสนองเหตุการณ์, แนวทางการจัดการกับภัยคุกคามทั่วไป เช่น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) และฟิชชิ่ง เป็นต้น การบุกรุกเครือข่ายและการติดเชื้อมัลแวร์ ซึ่งคู่มือเหล่านี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรสามารถรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมทั่วถึงทั้งองค์กรในอนาคต 
  1. การจัดตั้งทีมงาน (Build an IR Team): ทีมงานด้าน IR ผู้นำแผนงานและคู่มือต่าง ๆ ไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม ซึ่งขนาดและรูปแบบทีมงานนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นขององค์กร นอกจากการคัดเลือกสมาชิกแล้ว องค์กรควรระบุบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละคนในทีมด้วย โดยทีมงานด้านเทคนิค ได้แก่ ผู้จัดการ IR (IR Manager) นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัย (Security Analysts) และผู้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Responders) นอกจากนี้ยังมีทีมสนับสนุน ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายการสื่อสาร (Communications Representatives) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก (External Stakeholders) และบุคคลที่สาม ได้แก่ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน IR  
  1. แผนการสื่อสารด้าน IR (IR Communication Plan): แผนการสื่อสารเมื่อเกิดเหตุการณ์เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทีมงาน IR สามารถแบ่งปันความรู้และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ การสื่อสารอาจจำเป็นต้องทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

การอบรมทีมงาน (Train Response Personnal): สมาชิกของทีม IR จะต้องได้รับการฝึกอบรมกระบวนการด้าน IR และรับทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล การจัดอบรมจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าทีมงานพร้อมรับมือและตอบสนองเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง 

  1. การประเมินกระบวนการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (Continuously Evaluate Processes): องค์กรจำเป็นต้องประเมิน พิจารณาและอัปเดตกระบวนการต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยอ้างอิงจาก การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที การดำเนินธุรกิจ บุคลากรและการขยายตัวของภัยคุกคามไซเบอร์ เนื่องจากแผนงานที่ล้าสมัยอาจส่งผลต่อกระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตีได้  
  1. การตรวจสอบการบุกรุก (Hunt for intrusions): องค์กรไม่ควรรอให้เกิดเหตุ การพิจารณาใช้งานระบบตรวจจับที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเตือนให้ทีมงานทราบถึงกิจกรรมที่น่าสงสัย จำกัดความเสียหายจากภัยคุกคามได้  
  1. การจัดทำรายงานหลังเกิดเหตุและระบุบทเรียนที่ได้รับ (Conduct Post-Incident Reporting and Identify Lessons Learned): ทีมงานควรจัดทำรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการและบทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์นั้น ๆ เพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนและวิธีการรับมือกับภัยคุกคามในอนาคต 
  1. การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม (Choose the right Tools): ทีมงานจำเป็นต้องมีเครื่องมือ IR ที่เหมาะสม ช่วยตรวจจับ วิเคราะห์และจัดการภัยคุกคาม รวมถึงจัดทำรายงาน ด้วยเครื่องมือ IR ดังต่อไปนี้  
  • เครื่องมือบริหารจัดการช่องโหว่ (Vulnerability Management Tools) 
  • Security Information and Event Management – SIEM Systems 
  • เครื่องมือตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามสำหรับอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Detection and Response) 
  • การประสานรวมการรักษาความปลอดภัย ระบบอัตโนมัติและการตอบสนอง (Security Orchestration, Automation and Response – SOAR)  
  • เครื่องมือวิเคราะห์หาหลักฐาน (Forensics Analysis Tools) 
  1. การพิจารณาใช้ระบบอัตโนมัติ (Consider Automation): ระบบอัตโนมัติ (Automation) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุการณ์ของทีมงาน ระบบ IR ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) สามารถช่วยวิเคราะห์ คัดกรองข้อมูลจำนวนมหาศาลและวิเคราะห์โอกาสเกิดเหตุการณ์ ทำให้ทีมงานมีเวลามากขึ้น สามารถให้ความสำคัญกับปัญหาและการวิเคราะห์ในส่วนงานเร่งด่วน 
  1. การใช้บริการผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Outsource Services): หากองค์กรไม่สามารถจัดการกับ IR ได้ ควรเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก เข้ามาจัดการตรวจจับและตอบสนอง ช่วยจัดการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการบริหารจัดการวิกฤตสำหรับองค์กร 

ภูมิทัศน์ของภัยคุกคามไซเบอร์และความก้าวหน้าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทำให้การป้องกันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ธุรกิจในยุคดิจิทัลกำลังเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การตอบสนองต่อเหตุการณ์และแผนปฏิบัติการเชิงรุกที่เหมาะสมกับองค์กรธุรกิจแต่ละราย เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายในขณะเดียวกันก็เพิ่มขีดความสามารถในควบคุมผลกระทบเมื่อต้องเผชิญภัยคุกคาม  

บลูบิค ไททันส์ ช่วยองค์กรธุรกิจได้อย่างไร 

ทีมงาน บลูบิค ไททันส์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีประสบการณ์ในด้านการจัดการกับเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่เทคนิคการโจมตี กลยุทธ์การตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาและปรับปรุงแผน IR ไปจนถึงการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับองค์กรอย่างแท้จริง  

สำหรับองค์กรธุรกิจที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาเราได้ที่   

[email protected]  

02-636-7011  

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก techtarget, datalockcg