เพราะไม่มีระบบใดปลอดภัย 100%
Incident Response Retainer จึงสำคัญต่อธุรกิจ
‘ไม่มีระบบใดปลอดภัย 100%’ ความจริงที่ธุรกิจต้องยอมรับ ยิ่งความต้องการเปลี่ยนผ่านธุรกิจเป็นระบบดิจิทัล (Digital Transformation) เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้องค์กรเสี่ยงขึ้นตามไปด้วย จากการขยายตัวของพื้นที่โจมตี (Attack Surface) ผนวกกับพัฒนาการของอาชญากรไซเบอร์ ที่ทำให้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ กลายเป็นความท้าทายของธุรกิจที่ยากจะต่อกรด้วยหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรเพียงอย่างเดียว
เทคนิคการโจมตีไซเบอร์ การเติบโตของแฮกเกอร์หน้าใหม่และการรับมือกับผลกระทบที่ตามมา ทำให้บริการตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตีไซเบอร์ Incident Response Retainer (IRR) เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยธุรกิจตอบสนองเหตุการณ์และลดความเสี่ยงบนระบบดิจิทัลที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ (Ransomware) หรือถูกโจมตีซ้ำ ซึ่งบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก Incident Response (IR) และบทบาทของ IRR ตัวช่วยธุรกิจเมื่อภัย (ไซเบอร์) มาเยือน
Incident Response คืออะไร ?
IR หรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ คือ กระบวนการหรือแผนที่องค์กรใช้จัดการและตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Incidents) เช่น การโจมตีจากมัลแวร์ การบุกรุกระบบ การรั่วไหลของข้อมูล หรือภัยคุกความไซเบอร์อื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล ทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยเป้าหมายหลักของ IR คือ การจำกัดผลกระทบจากเหตุการณ์ ลดระยะเวลาการหยุดชะงักของเครือข่ายหรือระบบปฏิบัติการ รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำในอนาคต
Incident Response สำคัญกับองค์กรอย่างไร
ภัยคุกคามไซเบอร์เป็นหนึ่งในความท้าทายของธุรกิจยุคดิจิทัล เพราะเหยื่อจากการโจมตีไซเบอร์จะไม่มีวันหมดไปตราบใดที่จำนวนแฮกเกอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ IR เป็นหนึ่งในขีดความสามารถสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในแง่มุมต่าง ๆ ให้แก่ธุรกิจ ดังต่อไปนี้
1. ลดผลกระทบทางธุรกิจ: เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่น การโจมตีจากมัลแวร์ การรั่วไหลของข้อมูล หรือการถูกแฮก การตอบสนองอย่างรวดเร็วจะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดกับธุรกิจ เช่น การสูญเสียรายได้ การหยุดชะงักของบริการ และความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร
2. ปกป้องข้อมูลสำคัญ: การโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่ข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน หรือทรัพย์สินทางปัญญา การมีแผน IR ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและป้องกันการสูญเสียข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ลดต้นทุนการกู้คืน: การตอบสนองอย่างรวดเร็วช่วยลดระยะเวลาที่ระบบต้องหยุดทำงาน และลดค่าใช้จ่ายในการกู้คืนระบบหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการโจมตี ซึ่งต้นทุนเหล่านี้อาจสูงขึ้นมากหากไม่มีการตอบสนองที่เหมาะสม
4. ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมาย: หลายอุตสาหกรรมมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย เช่น PDPA, GDPR หรือกฎระเบียบของ ISO/IEC 27001 การมีแผน IR ช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ และหลีกเลี่ยงค่าปรับหรือการดำเนินคดี
5. เสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจ: องค์กรที่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงถึงความพร้อมและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน สิ่งนี้ช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจและภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
6. เพิ่มความตระหนักรู้ภายในองค์กร: IR ไม่ได้เป็นเพียงการตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฝึกอบรมและสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดของมนุษย์ เช่น การคลิกลิงก์ฟิชชิงหรือการตั้งรหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย
7. ช่วยป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต: หลังจากเกิดเหตุการณ์ IR จะช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุและปรับปรุงกระบวนการป้องกัน เช่น การแก้ไขจุดอ่อนในระบบหรือการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความปลอดภัย ทำให้องค์กรมีความพร้อมมากขึ้นในการป้องกันภัยในอนาคต
เปิด 3 เหตุผลที่ทำให้องค์กรไม่สามารถรับมือกับเหตุการโจมตีไซเบอร์ได้
- การขาดการเตรียมพร้อม: องค์กรมักมองข้ามการเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์โจมตีไซเบอร์ เมื่อเกิดเหตุขึ้นธุรกิจจึงไม่มีเวลามากพอที่จะเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการ IR ที่เชื่อถือได้ อีกทั้งยังไม่สามารถพิจารณาข้อตกลงและเงื่อนไข รวมถึงอัตราค่าบริการได้อย่างถี่ถ้วน ส่งผลต่อขีดความสามารถในการตอบสนองและบรรเทาผลกระทบจากการโจมตี
- เน้นวิธีการแบบตั้งรับ: ธุรกิจส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวที่สามารถช่วยตอบสนองเหตุการณ์/กู้สถานการณ์คืน มากกว่าการหาต้นตอ/ช่องโหว่บนระบบ และปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์เพื่อลดโอกาสโจมตีซ้ำ และทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นและรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- มองข้ามความสำคัญของ IRR: องค์กรส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าตนเองต้องสูญเสียเงินไปกับบริการ IRR โดยเปล่าประโยชน์ เพราะเหตุการณ์โจมตียังไม่เกิดขึ้น มุมมองดังกล่าวทำให้องค์กรเสียโอกาสในการเลือกบริการที่คุ้มค่าอย่างแท้จริง และการยกระดับรวมถึงการพัฒนามาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเหมาะสมกับองค์กรอีกด้วย
ประโยชน์จาก Incident Response Retainer โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของ ‘บลูบิค ไททันส์’
- พร้อมรับมือทุกการโจมตี: การเตรียมพร้อมตอบสนองเหตุการณ์โจมตีล่วงหน้า เน้นการสืบสวนถึงต้นตอภัยคุกคามพร้อมแนวทางแก้ไข ช่วยสร้างความมั่นใจให้องค์กรธุรกิจ ลดโอกาสถูกโจมตีซ้ำ
- ปรับแต่งได้ตามความต้องการธุรกิจ: บริการของ บลูบิค ไททันส์ สามารถปรับการให้บริการและวันทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการ และงบประมาณที่แตกต่างกันของแต่ละองค์กร
- บริการที่มากกว่าการตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตี: บลูบิค ไททันส์ มีบริการเชิงรุกที่หลากหลาย ทำให้องค์กรสามารถยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กรได้อย่างแท้จริง
- ตอบสนองรวดเร็วทันใจ: การบรรลุข้อตกลงและเงื่อนไขล่วงหน้า ทำให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตีได้อย่างรวดเร็ว พร้อมดูแลข้อมูลและสินทรัพย์สำคัญบนระบบดิจิทัลภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับ Remote Support และภายใน 2 วันสำหรับ On-site ทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
- ลดค่าเบี้ยประกัน: บริการ IRR ช่วยลดค่าเบี้ยประกันภัยไซเบอร์ เพราะองค์กรมีความพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์
สำหรับองค์กรธุรกิจที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาเราได้ที่
✉ [email protected]
☎ 02-636-7011