Artificial Intelligence

Multi-agent AI คืออะไร การแก้ปัญหา AI Silos 

ลดความเสี่ยงและต้นทุนการเชื่อมต่อ AI ด้วย Multi-Agent AI

16 กรกฎาคม 2568

By Bluebik

3 Mins Read

ยิ่งเพิ่มโมเดล AI ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง? 

ปัญหา AI Silos มาแน่ หากธุรกิจเพิ่มโมเดลโดยไร้แผนการทำงานร่วมกัน 
ถึงเวลาวางระบบ Multi-Agent AI Ecosystem ก่อนความเสี่ยงจาก AI เกินควบคุม 

ในยุคที่ทุกองค์กรเร่งปรับใช้ AI เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ส่วนใหญ่มักเริ่มจากการพัฒนา AI ที่ตอบโจทย์เฉพาะด้าน เช่น แชตบอตสำหรับบริการลูกค้า ระบบประเมินความเสี่ยง หรือโมเดลตรวจจับการทุจริต ซึ่งมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในแต่ละกระบวนการ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์กรต้องการขยายการใช้งาน AI ไปในระดับองค์กร การเพิ่มโมเดลใหม่ ๆ โดยขาดกลยุทธ์และการวางแผนเชื่อมโยง AI อย่างเป็นระบบ อาจนำไปสู่ “AI Silos” — ปัญหาระบบ AI ทำงานแยกส่วน ไม่สามารถประสานข้อมูลและการตัดสินใจร่วมกันได้ จนนำไปสู่ความซับซ้อนที่ยากจะควบคุมและกลายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจ 

ทำไมการใช้ AI แบบแยกส่วน (Siloed AI) ส่งผลกระทบธุรกิจระยะยาว? 

แม้หลายองค์กรจะเริ่มต้นพัฒนา AI โดยแยกตามฟังก์ชันหรือความต้องการเฉพาะด้าน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อองค์กรต้องการขยายขอบเขตการใช้งาน AI ในระดับองค์กร ความซับซ้อนและความเสี่ยงของ “AI Silos” จะเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น 

📍 ข้อเสียและความเสี่ยงของ AI Silos ที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่: 
  • ข้อมูลไม่เชื่อมโยง ทำให้ AI ตัดสินใจผิดพลาดหรือไม่รอบด้าน 
  • ระบบซับซ้อน ยากต่อการดูแล บำรุงรักษา และขยายต่อในอนาคต 
  • เพิ่มภาระให้ทีม IT และ Data จากการดูแลหลายระบบที่ไม่มีมาตรฐานร่วมกัน 
  • เสี่ยงต่อการละเมิดข้อกำหนด/กฎหมาย เพราะขาดการกำกับดูแลแบบรวมศูนย์ 
  • ขาดความยืดหยุ่นในการสร้าง Use Case ใหม่ เพราะแต่ละระบบไม่สามารถพูดคุยกันได้ 
  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ลดลง เนื่องจากมีจุดเสี่ยงหลายจุดและไม่มีการควบคุมร่วมกัน 
  • ประสบการณ์ของลูกค้าถูกบิดเบือน เพราะ AI ตอบสนองไปคนละทิศทาง 

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่สร้างต้นทุนแฝงและความล่าช้าในการขยายระบบ AI แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กรและความสามารถในการแข่งขันระยะยาว 

Multi-Agent AI Ecosystem คืออะไร? 
Multi-Agent AI Ecosystem คือ ระบบที่ประกอบด้วย AI Agent หลายบทบาท โดยแต่ละโมเดลทำงานเฉพาะด้านของตนเอง เช่น 

🔹 Insight Agent → วิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อสร้างอินไซต์ (Insight)  

 🔹 Decision Agent → ทำหน้าที่ ตัดสินใจ บนพื้นฐานของข้อมูล, Logic, Rule, และบางกรณีใช้ AI model หรือ Machine Learning ประเมินว่า ควรทำอะไรดี 

 🔹 Action Agent → ระบบ AI ที่สามารถดำเนินการได้แบบอัตโนมัติแทนมนุษย์ โดยถูกกระตุ้นให้ทำงานโดย Trigger Process ยกตัวอย่างเช่น  

  • Trigger Process: ลูกค้าใหม่ที่ลงทะเบียนบนเว็บไซต์ 
  • Action Agent: ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล, สร้างโปรไฟล์ลูกค้าในระบบ CRM, ส่งอีเมลต้อนรับทันที 

หัวใจสำคัญของระบบนี้ คือ การที่เอเจนต์ทุกตัวต้อง “ประสานการทำงานร่วมกัน” อย่างราบรื่น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์แก่ธุรกิจอย่างแท้จริง — ไม่เช่นนั้น ต่อให้ โมเดล AI แต่ละตัวจะเก่งแค่ไหน ก็อาจกลายเป็นระบบที่ วิเคราะห์ได้แต่ตัดสินใจไม่เป็น, ตัดสินใจได้แต่ไม่มีระบบที่ลงมือทำ, หรือ ลงมือทำได้แต่ไม่รู้ว่าควรทำอะไร 

Multi-Agent AI Ecosystem จึงไม่ใช่แค่การรวม AI หลายตัวไว้ด้วยกัน 
แต่คือการออกแบบให้แต่ละเอเจนต์ ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Multi-Agent AI ในธุรกิจจริง 

Customer Service — NICE CXone Mpower 

NICE CXone Mpower: ใช้ Multi-Agent AI วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า แนะนำคำตอบหรือข้อเสนอ และดำเนินการตอบกลับหรือกระตุ้นแคมเปญอัตโนมัติ สร้างความพึงพอใจและเพิ่มความเร็วในการบริการอย่างมีนัยสำคัญ 

✅ Manufacturing & Predictive Maintenance — Siemens 

 Siemens: ใช้ Multi-Agent AI วิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ นำเสนอแผนบำรุงรักษา และสั่งการทีมงานอัตโนมัติ ลด Downtime ได้สูงถึง 25% 

Finance & High-Frequency Trading — JPMorgan (LOXM) 

JPMorgan: ใช้ระบบ AI ที่ชื่อ LOXM ทำหน้าที่เป็น Trading Agent วิเคราะห์ข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์ ตัดสินใจซื้อขายหุ้นและสินทรัพย์ทางการเงินอัตโนมัติ และดำเนินการซื้อขายทันที เพื่อเพิ่มความเร็ว ความแม่นยำ และลดต้นทุนในการเทรดหุ้น/สินทรัพย์ทางการเงิน 

Logistics & Supply Chain — AnyLogistix 

AnyLogistix: ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลสต็อกและเส้นทางขนส่ง เพื่อประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า และปรับแผนการจัดส่งให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบโลจิสติกส์ 

M&A Acceleration — Nextoria Team-GPT 

Nextoria Team-GPT ใช้ AI ช่วยสแกนและวิเคราะห์ข้อมูล Due Diligence ระบุจุดเสี่ยงที่อาจกระทบข้อตกลงและจัดทำรายงานเบื้องต้นได้แบบอัตโนมัติ ช่วยเร่งกระบวนการปิดดีลให้เร็วขึ้นถึง 35% 

ตัวอย่างเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า Multi-Agent AI Ecosystem เป็นแนวคิดที่สามารถสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จับต้องได้ ผ่านปัจจัยหลักดังนี้: การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบรวมศูนย์ (Centralized Architecture) ที่สอดประสานกับ Orchestration ทำให้ AI Agents ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ 

Centralizaed Architecture และ Orchestration: รากฐานของ AI ที่ทำงานร่วมกันได้จริง 

โครงสร้างกลาง (Centralized Architecture) คือ รากฐานสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถจัดระเบียบและเชื่อมโยง AI Agents ทั้งหมดให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ตรวจสอบได้ และควบคุมความซับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

กลไกสำคัญที่ทำให้โครงสร้างกลางนี้ขับเคลื่อนได้จริง คือ Orchestration หรือการประสานการทำงานร่วมกัน ที่ใช้สำหรับจัดการกระบวนการต่อไปนี้  
  • การไหลของข้อมูล (Data Flow) 
  • การไหลของกระบวนการ (Process Flow) 
  • การไหลของการตัดสินใจ (Decision Flow) 
Roadmap สู่ Multi-Agent AI Ecosystem ที่ยั่งยืน 
🚀 ระยะที่ 1: วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ AI (AI Vision & Strategy) 
  •  กำหนดเป้าหมายทางธุรกิจให้ AI  
  •  ระบุบทบาทของ AI Agent ใน Value Chain 
  •  วางหลักการกำกับดูแล (Governance), ความน่าเชื่อถือ (Trust), ความปลอดภัย (Security), การปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance) 
🚀 ระยะที่ 2: การออกแบบสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์ม 
  •  ออกแบบสถาปัตยกรรม Orchestration ครอบคลุมการไหลของข้อมูล กระบวนการและการตัดสินใจ 
  •  รองรับระบบคลาวด์แบบผสมหรือผู้ให้บริการหลายราย (Hybrid/Multi-Cloud) 
  •  ฝังระบบความปลอดภัยไซเบอร์และแนวทางการปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎระเบียบตั้งแต่ต้น 
🚀 ระยะที่ 3: การพัฒนาและการเชื่อมต่อ 
  •  พัฒนาและเชื่อม AI Agents เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจ 
  •  วางจุดควบคุม (Control Point) เช่น การจัดการนโยบายส่วนกลาง การบันทึกและตรวจสอบข้อมูล เป็นต้น 
🚀 ระยะที่ 4: การประสานงานและการขยายระบบ 
  •  สร้างเวิร์กโฟลว์การประสานการทำงานแบบครบวงจร 
  •  วาง Governance Dashboard + Monitoring 
  •  รองรับการเพิ่ม Use Case ใหม่โดยไม่เพิ่มความซับซ้อน 
🚀 ระยะที่ 5: การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 
  •  ประเมินประสิทธิภาพและความเสี่ยง 
  •  ปรับปรุงให้สอดคล้องกับ Landscape ด้านความปลอดภัยและข้อกำหนดใหม่ 

ความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนด: หัวใจของ Multi-Agent AI Ecosystem 

การสร้าง Multi-Agent AI Ecosystem ที่ปลอดภัยและตรวจสอบได้ จำเป็นต้องฝังหลักการด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดไว้ในแกนกลางตั้งแต่แรก ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลักดังนี้ 

✅ การติดตามและบันทึกเส้นทางข้อมูล และการตรวจสอบย้อนกลับ (Data Lineage & Traceability)  

 ✅ การควบคุมสิทธิ์ (Access Control) 

 ✅ การตรวจสอบแบบเรียลไทม์ (Real-Time Monitoring) 

 ✅ การออกแบบที่พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Ready) เช่น NIST, ISO, PDPA, และ GDPR เป็นต้น 

 ✅ ความสามารถในการตรวจสอบ (Auditability) 

เพราะในโลก AI ที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ความปลอดภัยและความโปร่งใสจึงไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นหัวใจของความสำเร็จในระยะยาว 

✅ บลูบิค: พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการสร้าง Multi-Agent AI Ecosystem 

บลูบิค พร้อมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการสร้าง Multi-Agent AI Ecosystem ที่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยสูง และสามารถส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจได้จริง โดยครอบคลุมตั้งแต่: 

  • วางกลยุทธ์และโรดแมป AI (AI Strategy & Roadmap) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ 
  • ออกแบบสถาปัตยกรรมและแผนการประสานงาน (Architecture & Orchestration Blueprint) ที่รองรับระบบคลาวด์แบบผสม (Hybrid Cloud) หรือหลากหลายผู้ให้บริการ (Multi-Cloud) 
  • สร้างกรอบการกำกับดูแล (Governance Framework) ที่ฝังแนวคิดด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) การปฏิบัติตามข้อกำหนด และการตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่ต้นทาง 
  • ให้คำปรึกษาในการเชื่อมต่อ AI Agents เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) อย่างราบรื่นและเกิดผลลัพธ์จริง 

เราเชื่อว่า โครงสร้างที่วางไว้อย่างถูกต้องตั้งแต่วันนี้ คือกุญแจสำคัญในการป้องกันต้นทุนแฝงจากการเชื่อมต่อที่ซับซ้อน พร้อมรองรับการขยายตัวและการใช้งาน AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในอนาคต 

16 กรกฎาคม 2568

By Bluebik