สวัสดีปีใหม่ 2024! New Year แบบนี้ ต้องเพิ่ม New Skills ให้ตัวเองเป็นคนเนื้อหอม ที่ใครๆ ก็อยากดึงตัวไปทำงานด้วยแล้วล่ะ แล้วทักษะที่ต้องมีในปี 2024 จะมีอะไรบ้าง อย่ารอช้า มาดูไปพร้อมกันเลย!
5 ทักษะการทำงาน Soft Skills และ Hard Skills ที่คุณต้องมี!
Sauce Skills – Corporate Training House ในความร่วมมือของ บลูบิค (Bluebik) และ THE STANDARD คาดการณ์ 5 กลุ่มทักษะสำคัญตามกรอบคิดของ World Economic Forum ที่จะช่วยให้ทุกคน Level Up ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับปี 2024 บอกเลยว่า หากมีทักษะเหล่านี้ติดตัวเอาไว้ ไม่มีทางตกงานแน่นอน
1. ทักษะการรู้คิด (Cognitive Skills)
ไม่ว่าจะขึ้นปีใหม่อีกกี่ครั้ง กลุ่มทักษะการรู้คิดก็ยังคงรั้งอันดับ 1 เพราะทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ไม่ว่าจะทำงานตำแหน่งใด ในอุตสาหกรรมไหนก็ควรต้องมี หากมีแล้วจะสามารถนำไปต่อยอดทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น
- การแก้ปัญหา (Problem-Solving) การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อมองหาสาเหตุ วิธีแก้ไข ตลอดจนวิธีป้องกันในอนาคต จะช่วยให้ทุกงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี ต่อให้มีอุปสรรคเข้ามาท้าทายก็ตาม
- การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ทักษะนี้ช่วยในการประเมินสถานการณ์ที่ซับซ้อน ตลอดจนช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างแม่นยำสมเหตุสมผล
- การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การใช้ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ รวมถึงหาวิธีแก้ไขปัญหาแบบใหม่ๆ ที่อาจนำไปสู่การพัฒนาสินค้า และบริการไปอีกขั้น
- การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นบนฐานของข้อมูลที่มี
- การตัดสินใจ (Decision-Making) การตัดสินใจที่รวดเร็วและเฉียบคมจะช่วยย่นระยะเวลาการทำงาน เพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว (Learning Agility) ปลดล็อกศักยภาพตัวเองและ Upskill ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการทำงานอยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว
- การยืดหยุ่นทางความคิด (Mental Flexibility) เพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ การรู้จักคิดยืดหยุ่นจะทำให้มีทัศนคติที่เปิดกว้างและปรับตัว เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดี
- ความทนทานของจิตใจ (Mental Stamina) ความสามารถของจิตใจในการตั้งรับและจัดการปัญหา ความท้าทาย และความเครียด เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จได้
2. ทักษะการรับรู้ความสามารถตนเอง (Self-Efficacy Skills)
รู้อะไรไม่เท่ารู้ตัวเอง คำกล่าวนี้ไม่เกินจริง เพราะทักษะการรับรู้ความสามารถตนเอง จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ
- การเข้าใจตนเอง (Self-Awareness) การเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
- การควบคุมตนเอง (Self-Regulation) ตั้งเป้าหมายและไปให้ถึง รวมถึงไม่หวั่นไหวแม้เจอความท้าทาย ด้วยการเข้าใจและจัดการอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเอง
- การจูงใจตนเอง (Self-Motivation) ไม่ต้องรอให้หัวหน้าหรือใครมากระตุ้น ความสามารถในการจูงใจตนเองให้มีพลังในการทำงานจนลุล่วง ถือเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะทำงานในด้านใดก็ตาม
- การฟื้นตัวเมื่อเผชิญอุปสรรค (Resilience) ล้มกี่ครั้งก็ลุกขึ้นเดินต่อได้หากรู้จักรับมือกับความเครียด ความล้มเหลว ความท้าทาย และอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามา
3. ทักษะการใช้เทคโนโลยี (Technology Skills)
ทุกวันนี้ไม่มีองค์กรไหนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน มีแต่ว่าจะใช้มากหรือน้อย ใช้ระดับทั่วไปหรือระดับสูง ดังนั้นปี 2024 นี้ มาเป็นคน High Tech ด้วยทักษะด้านดิจิทัล 2024 กันเถอะ
- ทักษะพื้นฐานทางดิจิทัล (Basic Digital Literacy) ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ดิจิทัล ซอฟต์แวร์ หรืออินเทอร์เน็ต ก็ควรใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะเป็นพื้นฐานของการทำงานในทุกๆ อุตสาหกรรม
- การเข้าใจและใช้งานข้อมูล (Data Literacy) ยิ่งโลกหมุนไป ข้อมูลก็ยิ่งเพิ่มพูน ทักษะการนำข้อมูลมาใช้ ตลอดจนการดึงอินไซต์จากข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ จึงทวีความสำคัญขึ้นทุกวัน
- การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) การรู้จักคิดวิธีใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาหรือปรับการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ จะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น และป้องกันการเกิดปัญหาเดิมซ้ำๆ
- การเขียนโปรแกรม (Software Programming) ต่อให้ไม่ได้ทำงานเป็น Developer หากสามารถเขียนโปรแกรมได้ก็จะเพิ่มความโดดเด่นเวลาสมัครงาน และช่วยฝึกฝนการคิดอย่างเป็นระบบ
- การใช้งานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (Hardware & Software Skills) การใช้งานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างเชี่ยวชาญ จะช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ความเข้าใจในความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) เพราะภัยไซเบอร์เป็นเรื่องใหญ่ ทุกคนจึงควรเข้าใจมาตรการความปลอดภัยไซเบอร์เอาไว้ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุไม่คาดฝัน
- การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) การวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ในการช่วยประมวลผล จะนำไปสู่ข้อสรุปและการตัดสินใจที่แม่นยำเฉียบคม
- การใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ต่อให้ไม่ใช่คนสายเทคจ๋าๆ ก็ควรหัดใช้เครื่องมือ AI มาช่วยผ่อนแรงเวลาทำงาน ให้งานสำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ดี
- การใช้งานหุ่นยนต์ (Robotics) การมีความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ ตลอดจนมีความสามารถในการใข้งานหุ่นยนต์ จะทำให้แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ รวมทั้งนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
- การใช้งานความเป็นจริงเสมือน และความเป็นจริงเสริม (Virtual & Augmented Reality) การใช้งาน VR และ AR เป็นจะช่วยเพิ่มความเข้าใจและความชัดเจนเวลาสื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. ทักษะการบริหารจัดการ (Management Skills)
ต่อให้ตอนนี้ไม่ได้ทำงานระดับผู้บริหาร หรือทำงานในตำแหน่งผู้จัดการโปรเจกต์ ก็ควรฝึกฝนทักษะการบริหารจัดการไว้แต่เนิ่นๆ เพราะกลุ่มทักษะนี้ คือ ใบเบิกทางสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพการงาน
- การบริหารจัดการโปรเจกต์ (Project Management) ทักษะนี้สำคัญในหลายมิติ เช่น ช่วยให้ทีมทำงานอย่างราบรื่น และทำให้โปรเจกต์สำเร็จลุล่วงในกรอบเวลา และงบประมาณที่กำหนดไว้
- การประเมินทักษะ (Skill Evaluation) การประเมินทักษะพนักงานจะช่วยให้จับคู่งานกับคนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดยามทำงาน
- การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) การคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อวางแผนรับมือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยลดการเกิดปัญหา และเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน
- การวางแผนและพัฒนาคน (Talent Planning & Development) การสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น และองค์กรก็จะเติบโตอย่างมั่นคง
- การประสานงานและการบริหารเวลา (Coordination & Time Management) ทักษะนี้ช่วยให้ไม่เกิดสุญญากาศในการทำงาน ลดความสับสน และเพิ่มผลิตภาพในองค์กร
- การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) มองเห็นโอกาสในการผลิตสินค้าหรือขยายการบริการ รวมถึงสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ ด้วยการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
- การเงิน (Finance) แม้ไม่ได้ทำงานสายการเงิน ก็ควรเพิ่มทักษะการอ่านและใช้ข้อมูลทางการเงิน เพราะจะช่วยให้คาดการณ์ตัวเลขต่างๆ บริหารกระแสเงินสด และควบคุมงบประมาณได้ดี
5. ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Engagement Skills)
ต่อให้เก่งกาจแค่ไหน ก็ไม่มีใครสามารถทำงานคนเดียวได้ ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ใช่แค่การพูดคุย แต่ยังรวมถึงความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งในอาชีพการงานและชีวิตส่วนตัว
- การทำงานร่วมกัน (Collaboration) โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่นจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จ
- การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารคือหัวใจของการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ และมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เราเป็นคนที่ใครๆ ก็อยากร่วมงานด้วย
- ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) การเข้าใจความรู้สึกและการเข้าใจมุมมองของผู้อื่น จะช่วยให้เราสานสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
- การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) เวลามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ควรฟังผ่านๆ หรือด่วนสรุป แต่ควรฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้เข้าใจผู้พูดอย่างแท้จริง ทักษะนี้จะช่วยลับคมทักษะการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
3 คอร์สแนะนำเพิ่มทักษะการทำงาน 2024 จาก Sauce Skills
สำหรับองค์กรที่สนใจอยากเสริม 5 กลุ่มทักษะนี้ให้กับผู้บริหารหรือพนักงาน Sauce Skills มีหลากหลายคอร์สคุณภาพที่สอนโดย CEO บริษัทระดับประเทศที่เป็นตัวจริงเสียงจริงในแต่ละวงการ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์แบบเต็มอิ่ม
1. Leading with Engagement, Empathy, Empower, Energy
ผู้สอน : นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ CEO, THE STANDARD
เสริมกลุ่มทักษะ : ทักษะการบริหารจัดการ, ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
2. Inspiring Town Hall Workshop
ผู้สอน : ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน Host, THE STANDARD WEALTH
เสริมกลุ่มทักษะ : ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. Thinking Like a Strategist: Framework, Intuition, Simulation, Pitfalls
ผู้สอน : พชร อารยะการกุล, CEO Bluebik
เสริมกลุ่มทักษะ :ทักษะการรู้คิด, ทักษะการรับรู้ความสามารถตนเอง, ทักษะการใช้เทคโนโลยี
นอกจากนี้ Sauce Skills ยังใช้เครื่องมือระดับโลก เช่น Simulations ของ Harvard Business Publishing ในการเรียนการสอน และสามารถปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการ และปัญหาของแต่ละองค์กรได้ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://forms.gle/t6xwWwPkFJbeUjsx6