Super Apps ที่มีชื่อเสียงอย่าง AliPay (จีน), Gojek (อินโดนีเซีย), Grab (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้), Zalo (เวียดนาม), Paytm (อินเดีย), หรือ Mercado Libre (ละติน อเมริกา) ล้วนเริ่มต้นจาก Single Service Apps ที่มีแค่บริการชำระเงิน แต่เมื่อความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ Super Apps เปิดประตูต้อนรับบริการมากมาย โดยเฉพาะบริการด้านการเงินอื่น ๆ ที่นอกจากช่วยส่งมอบประสบการณ์ซื้อแบบไร้รอยต่อให้กับลูกค้าแล้ว ยังเป็นช่องทางเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย
ในฝั่งตะวันตกผู้นำอุตสาหกรรมการเงินไม่ว่าจะเป็น บริษัท Fintech สัญชาติสวีเดน Klarna, บริษัท Fintech ชั้นนำของโลก Revolut และ PayPal ต่างตบเท้าเข้าสู่วงการ Super App ด้วยการรวบรวมบริการทางการเงินและอื่น ๆ เพื่อยกระดับการให้บริการภายใต้แนวคิด ‘One-Stop-Shop’ แก่ลูกค้า แน่นอนว่าการแข่งขันที่รุนแรงนี้กดดันให้สถาบันการเงิน (Financial Institutes – FIs) ต้องตอบคำถาม “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ธุรกิจต้องจัดทำกลยุทธ์ Super App เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดและรักษาความภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า?”
เราจะพาคุณไปรู้จัก 4 ประเด็นสำคัญที่สถาบันการเงิน
ควรพิจารณาก่อนลงมือทำกลยุทธ์ Super App

1.) กลยุทธ์และโมเดลธุรกิจ (Strategy & Business Model):
เป็นสิ่งจำเป็นที่สถาบันการเงินต้องพิจารณาก่อนลงสนามต่อสู้ Super App โดยแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือกดังนี้
- การพัฒนา Super App: เป็นของตนเองซึ่งสามารถเริ่มต้นด้วยบริการเกี่ยวกับธนาคารและการเงินอื่น ๆ และเพิ่มเติมในส่วนบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินเข้าไปในแผนกลยุทธ์ระยะยาว
- Bank-as-a-Service (BaaS): เป็นโมเดลแบบ End-to-End ที่ทำให้สถาบันการเงินสามารถเชื่อมต่อระบบของตนเองกับระบบ Super App Ecosystem ของผู้อื่นโดยเน้นให้บริการทางการเงิน/กำกับดูแล
- การพิจารณาโมเดลบริษัทร่วมทุนกับพันธมิตรธุรกิจ
2.) Open Banking และ Application Programming Interfaces – APIs:
Open Banking เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับสถาบันการเงินก่อนก้าวเข้าสู่การพัฒนา Super App ด้วยการใช้ประโยชน์จาก Frameworks และ APIs ของ Open Banking ที่นำ Ecosystem ของผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายมาอยู่ในแอปฯเดียว อีกทางเลือกที่น่าสนใจ คือ สถาบันการเงินสามารถร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีแพลตฟอร์ม Super App อยู่แล้ว ด้วยการนำเสนอระบบชำระเงินและบริการทางการเงินอื่น ๆ ผ่าน Open APIs ของพวกเขา
3.) ข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data & Analytics):
การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารจัดการและเพิ่มขีดความสามารถการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจได้แก่ Predictive Analytics, Artificial Intelligence – AI, Machine Learning – ML, และ Realtime Metrics เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการทำตลาดแบบ Hyper-Personalization และสร้างความภักดีให้กับแบรนด์ได้ โดยอาจเสริมเครื่องมือ (Tools) ให้ลูกค้าวางแผนการเงินด้วยตนเองเพื่อเก็บข้อมูลและนำเสนอบริการอื่น ๆ เช่น Smart Budgeting และ Analytics Tools ที่ใช้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายโดยคำนวนจากพฤติกรรมการใช้จ่าย พร้อมระบบแจ้งเตือน เป็นต้น
4.) Marketplace Ecosystems:
Super App เกิดจากความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขามองหาความสะดวกสบาย ประสิทธิภาพและประสบการณ์แบบไร้รอยต่อจากการซื้อสินค้าและบริการ ฉะนั้นการสร้าง Ecosystem ที่สามารถเชื่อมต่อสินค้าและบริการจากพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงโปรแกรมขนาดเล็กต่าง ๆ (Mini Programmes) จึงจำเป็นอย่างมากเพื่อดึงดูดลูกค้าเหล่านี้ ดังนั้นคุณภาพของ Ecosystem, APIs และการบูรณาการแบบไร้รอยต่อ จะเป็นตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือและส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสถาบันการเงิน
การได้รับความเชื่อมั่นและความภักดีต่อแบรนด์ได้ Super App ต้องมีความสะดวกสบาย เชื่อมต่อและใช้งานง่าย ที่สำคัญต้องอัดแน่นไปด้วยบริการส่วนบุคคลและรางวัลจูงใจมากมาย ดังนั้นสถาบันการเงินที่ต้องการสร้างกลยุทธ์และขับเคลื่อน Super App ที่สามารถเติบโตได้ในระยะยาวได้นั้น อาจเริ่มต้นด้วยการสร้างข้อได้เปรียจาก Open Banking ด้วยการใช้ประโยชน์จาก Smart Data ที่ผ่านการวิเคราะห์ของปัญญาประดิษฐ์ ผนวกกับการเลือก Ecosystem ที่ถูกต้องและพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
beaconvc.fund, infopulse
สนใจปรึกษาเกี่ยวกับ ‘Super App’ กับทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Bluebik บริการโซลูชันครบวงจรและการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ตั้งแต่ระดับกลยุทธ์ไปจนถึงการนำไปใช้จริงติดต่อเราสอบถามหรือปรึกษาเราได้ที่
☎ 02-636-7011