Business & Technology

ระบบหลังบ้านและ ERP ต้องพร้อมแค่ไหน ก่อนธุรกิจจะ IPO  

เมื่อตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ องค์กรจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับการเป็นบริษัทจดทะเบียน ทั้งขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ระบบงานต่างๆ ในกิจการ เช่น ระบบบัญชี ระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น

7 พฤศจิกายน 2567

By Bluebik

2 Mins Read

คงกล่าวได้ว่าการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ (IPO) อาจเป็นเป้าหมายของหลายธุรกิจ เพื่อนำเงินระดมทุนไปใช้ในการขยายกิจการในอนาคต อย่างไรก็ตาม กว่าจะไปถึงหมุดหมายของการ IPO นั้น ในระหว่างทางมีขั้นตอนที่ธุรกิจต้องเตรียมการและระบบหลังบ้านที่ต้องเตรียมพร้อมไม่น้อย เนื่องจากเงื่อนไขการจัดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์มีเกณฑ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ไม่ได้ดูเพียงแค่ตัวเลขรายได้หรือผลกำไรเท่านั้น แต่ยังดูไปจนถึงโครงสร้าง ระบบบัญชี รวมถึงระบบภายในด้วยเช่นกัน ดังนั้นระบบ ERP จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  

ธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไรก่อน IPO 

เมื่อตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ องค์กรจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับการเป็นบริษัทจดทะเบียน ทั้งขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ระบบงานต่างๆ ในกิจการ เช่น ระบบบัญชี ระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น 

เพราะการจะทำให้ผู้ลงทุนมั่นใจ เข้ามาร่วมลงทุนด้วย จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือ มีความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ ต้องแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการจัดสรรผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรม มีคุณสมบัติพร้อมและเป็นมาตรฐาน 

241022 BBK X INV Content 1 Final

ระบบ ERP สามารถเข้าไปช่วยองค์กรเตรียมความพร้อมได้ใน 2 ส่วนหลักๆ  

1. ระบบบัญชีและรายงานทางการเงิน 

ก่อนเข้า IPO นั้น ระบบงานหลักส่วนแรกที่ต้องมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์คือระบบการจัดทำงบการเงิน โดยต้องทำให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี เพื่อให้รายงานทางการเงินสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก่อนหน้านี้การจัดทำบัญชีโดยทั่วไป ธุรกิจอาจทำบัญชีเพียงเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากรสำหรับชำระภาษี 

หากต้องเตรียมตัว IPO ระบบบัญชีเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องจัดการ เพราะธุรกิจต้องเตรียมเอกสารประกอบคำขอ IPO เป็นงบการเงิน 3 ปีล่าสุด และงบไตรมาสล่าสุด ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี จากกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ Non-Publicly Accountable Entities (NPAEs) เป็นมาตรฐานการบัญชีจากกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ Publicly Accountable Entities (PAEs) โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน Thai Financial Reporting Standards (TFRS)  

การมีระบบ ERP สามารถช่วยให้ธุรกิจจัดเตรียมและจัดทำผลการดำเนินงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ให้อยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน ไม่กระจัดกระจาย ง่ายต่อการค้นหาและนำข้อมูลมาใช้งาน เมื่อเอกสารและรายงานทางการเงินได้รับการจัดการอย่างมีระบบ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถออกงบการเงินได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  

2. ระบบการควบคุมภายใน  

เรื่องระบบควบคุมภายใน นับเป็นอีกเรื่องที่มีผลต่อการพิจารณาอนุญาต IPO โดยระบบควบคุมภายในอาจแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ  

  • Operational Control การมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกัน บริหารจัดการความเสี่ยงหรือความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างของการมีระบบการควบคุมภายใน เช่น การจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการทำรายการและจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อให้ตรวจสอบได้ การกระทบยอดและการสอบทาน การตรวจนับ สินค้าคงเหลือ เป็นต้น 
  • Management Control การมีระบบการควบคุมด้านการบริหารจัดการ ที่แสดงให้เห็นว่ามีระบบ Check and Balance ที่ดี มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ มีการกำหนดอำนาจอนุมัติชัดเจนและเหมาะสม หากเป็นรายการที่มีมูลค่าสูงควรให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติ 

ในการบริหารจัดการระบบการควบคุมภายใน การมีระบบ ERP สามารถเข้ามาช่วยได้ทั้งในส่วนที่เป็น Operational Control และ Management Control เนื่องจากระบบ ERP เป็นระบบที่เชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กรครอบคลุมได้ทุกส่วนงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบการเบิกจ่ายสินค้า หรือระบบอนุมัติต่างๆ ทำให้กระบวนการทั้งหมดดำเนินไปอย่างมีขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ การมีระบบยังช่วยสร้างความมั่นใจว่า องค์กรมีการเก็บข้อมูลครบถ้วน ปลอดภัย สามารถกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้ตามตำแหน่งหน้าที่ แม้ว่าไม่ได้มีข้อกำหนดโดยตรงเกี่ยวกับระบบ ERP แต่การมีระบบที่ดีมีมาตรฐานจะช่วยให้กระบวนการตรวจสอบทั้ง Internal Audit และ External Audit ผ่านไปได้อย่างราบรื่น  

IPO แล้วยังไม่จบ ภารกิจยังมีต่อ 

241020 BBK X INV Content 2 Final

การ IPO อาจถือได้ว่าเป็นจุดหมายแรกในการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเมื่อเป็นบริษัทจดทะเบียนแล้ว ย่อมมีภารกิจสำคัญตามมาคือการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เกี่ยวข้องรวมไปถึงผู้ถือหุ้นว่า บริษัทมีการดำเนินงานที่เป็นระบบ และมีความโปร่งใส โดยหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียนประกอบไปด้วย 

1. การเปิดเผยข้อมูล  

การเปิดเผยข้อมูลให้กับสาธารณะจะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ต้องเปิดเผยอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 1. ข้อมูลที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี ได้แก่ งบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี แบบแสดง รายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี  (แบบ 56-2) รวมไปไปถึง และ 2. ข้อมูลที่ต้องรายงานตามเหตุการณ์ โดยเปิดเผยตามความสำคัญของข้อมูล เช่น ข้อมูลที่ต้องเปิด ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยทันที ได้แก่ การได้มาหรือจำหน่ายสินทรัพย์ การเพิ่มทุนลดทุน การซื้อหุ้นคืน การไม่จ่ายเงินปันผล เป็นต้น รวมไปถึงข้อมูลที่ต้องเปิดเผยภายใน 3 วัน เช่น การย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ การเปลี่ยนแปลงกรรมการ และข้อมูลที่ต้องเปิดเผยภายใน 14 วัน ได้แก่ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น  

จากความสำคัญเรื่องการเปิดเผยข้อมูล จะเห็นได้ว่า การมีระบบ ERP ที่มีมาตรฐานจะช่วยให้ธุรกิจปิดงบการเงินได้รวดเร็ว มีการเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบ และสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ครบถ้วนถูกต้อง 

2. การสร้างการเติบโตในอนาคต  

การผลักดันให้บริษัทเติบโตหลัง IPO เป็นอีกภารกิจสำคัญ ซึ่งในยุคปัจจุบัน “ข้อมูล” คือสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ในการทำธุรกิจ การมีระบบ ERP ซึ่งฐานข้อมูลหลังบ้านที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกที่ครบถ้วนและเรียลไทม์ เพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจและสร้างผลลัพธ์จากการลงทุนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขา การทำการตลาด หรือการลงทุนในกิจการอื่นๆ  

นอกจากนี้ ระบบ ERP มีความสำคัญอย่างมากเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น โดยระบบหลังบ้านควรสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นระบบการบริหารจัดการภายใน (Operation) ระบบบัญชี หรือระบบซัพพลายเชน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ธุรกิจมีต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ (Switching cost) ซึ่งมีผลให้ต้องกลับไปติดตั้งระบบใหม่ จนเสี่ยงไม่ทันกับการขยายตัว และมีผลต่อผลประกอบการที่นักลงทุนคาดหวัง รวมถึงเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนซ้ำซ้อน 

Checklist ลงทุน ERP อย่างไร เมื่อธุรกิจจะ IPO 

241023 BBK X INV Content 3 Final

คำถามน่าคิดคือเมื่อระบบ ERP มีความสำคัญทั้งสำหรับช่วงก่อน IPO และหลัง IPO ธุรกิจควรลงทุนในระบบ ERP อย่างไร จึงจะสามารถรองรับการเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งจากประสบการณ์ของ Innoviz Solutions ที่ปรึกษาชั้นนำและผู้ให้บริการ Microsoft Dynamics 365 Finance and Supply Chain ได้รวบรวมเช็กลิสต์เบื้องต้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุน ERP  

  • ควรลงทุนในระบบ ERP ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 ปี เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 
  • ควรเริ่มลงทุน ERP ในส่วนที่เป็นระบบการเงินก่อน (Finance) แล้วค่อยขยายไประบบซื้อขาย (Supply chain) หรือระบบการผลิต (Production) 
  • เลือกลงทุนในระบบ ERP ที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับ   
  • ควรลงทุนกับระบบ ERP ล่วงหน้า เพราะ IPO คือการขยายกิจการ หากมาดำเนินการย้อนหลังจะไม่สามารถรองรับการขยายตัวได้ 

นอกจากนี้ Innoviz มองว่า เรื่อง “บุคลากร” เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบ ERP ให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่องทั้งจากผู้บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ  

  • ผู้บริหาร – มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและวางนโยบายการทำงาน เพื่อให้สามารถนำระบบ ERP มาใช้ควบคุมกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว เช่น การอนุมัติเอกสารต่างๆ แนวทางการจัดการด้านต้นทุน เป็นต้น  
  • ฝ่ายปฏิบัติการ – มีบทบาทในการปฏิบัติตามกระบวนการต่างๆ เพื่อช่วยให้การบันทึกข้อมูลเป็นไปอย่างถูกต้อง สามารถนำข้อมูลดังกล่าวที่อยู่ในระบบไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างแม่นยำ  

Innoviz Solutions มีประสบการณ์ให้บริการในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งประสบความสำเร็จมากกว่า 400 บริษัท ด้วยบริการด้าน ERP และ BPI (Business Process Improvement) ที่พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรที่แข็งแกร่ง สามารถช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ได้อย่างราบรื่น ก้าวข้ามความท้าทายอันซับซ้อน และสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ หากองค์กรใดสนใจใช้งานระบบ ERP สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ : (Email : [email protected] ,Tel : 02-6514542) หรือ https://www.innovizsolutions.com/contact/ 

ขอบคุณข้อมูลจาก IPO roadmap guidebook : เส้นทางสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน 

7 พฤศจิกายน 2567

By Bluebik