fbpx
บทความ 22 มิถุนายน 2021

Creating and Delivering Superior Digital Solutions

ในขณะที่หลายองค์กรพยายามเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ แต่ความเป็นจริงนั้นมีเพียงองค์กรจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้ “ตอบโจทย์” และ “เหมาะสม” กับองค์กร ที่ไม่ใช่เป็นการสุ่มเทคโนโลยีมาใช้แล้วบอกว่าทำ Digital Transformation สำเร็จแล้ว

ร่วมอ่านมุมมองของคุณปกรณ์ เจียมสกุลทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถึงแนวทางการให้บริการด้านดิจิทัลครบวงจร “Digital Excellence & Delivery” ซึ่งให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องใช้ในองค์กร รวมไปถึงการวางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมในองค์กร การพัฒนา Software ต่าง ๆ การเพิ่มความคล่องตัวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ในองค์กรทำให้สามารถสร้างการเติบโตก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดได้อย่างยั่งยืน

คุณปกรณ์ เจียมสกุลทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Digital Excellence & Delivery ไม่ใช่แค่การส่งมอบความเป็นดิจิทัลให้กับองค์กร แต่หมายถึงการสร้างมาตรฐานการทำงานที่ยอดเยี่ยม

แม้ผู้บริหารองค์กรที่ต้องการทำ Digital Transformation จะมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล แต่ปัญหาหลักคือความสามารถของระบบ โครงสร้างองค์กร และบุคลากร ที่อาจยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นทีม Digital Excellence & Delivery จึงจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาตั้งแต่การวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้สามารถตอบโจทย์ได้ตามเป้าหมายธุรกิจ และการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบ ซอฟท์แวร์ รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการภายในให้มีความคล่องตัวตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) ของอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการส่งมอบประสบการณ์ด้านดิจิทัลให้กับลูกค้าและผู้ใช้งานให้สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมีลักษณะงานหลัก คือ สร้างขีดความสามารถด้านการสร้างและบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจดิจิทัลให้กับองค์กรต่าง ๆ เช่น IT Architecture Review, Application Modernization Road-mapping, Digital Platform Development เป็นต้น

การทำงานแบบ Dual-Track ทำให้องค์กรพัฒนาระบบดิจิทัลได้อย่างยืดหยุ่น

ด้วยกระแส Digital Transformation ทำให้หลายองค์กรจำเป็นต้องพัฒนาระบบใหม่ ๆ เพื่อรองรับและสอดคล้องกับ Business Model ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ด้วยขีดความสามารถในการบริหารจัดการปริมาณงานของทีม IT อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากระบบเก่าก็ยังต้องดูแล ระบบใหม่ก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนา ส่งผลให้องค์กรอาจเสียเปรียบเชิงการแข่งขันเนื่องจากตามไม่ทันคู่แข่ง ฉะนั้นการทำ Dual-track Transformation จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรเลือกใช้เพื่อให้การทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จ

Dual-track Transformation คือการแบ่งทีมงาน IT Operation เดิมออกเป็นอย่างน้อย 2 ทีม คือ ทีมที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาและบริหารจัดการช่องทางดิจิตัล ทำหน้าที่ในการบุกเบิกการสร้างระบบที่เพิ่มขีดความสามารถใหม่ๆให้กับองค์กร โดยในที่นี้จะขอเรียกว่า ทีม Digital Transformation (DT) และ ทีม Information Technology (IT) ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบที่เริ่มนิ่งแล้วไปให้มีเสถียรภาพมากที่สุดตามความถนัดเดิมของตนเอง เพื่อให้ Technology นั้นสามารถสนับสนุนธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าทีม DT ที่มีความรับผิดชอบในการพัฒนา หรือดูแลระบบใหม่ๆที่เกิดขึ้นมานั้น แต่ก็ไม่สามารถใช้วิธีบริหารจัดการหรือทักษะเดิมๆที่เคยใช้จากฝ่าย IT Operation มาใช้ในการพัฒนาระบบดิจิทัลใหม่ ๆ ได้ทั้งหมด เนื่องจากเป้าหมายของทีม DT คือการเน้นสร้างระบบให้ออกมาในเวลาที่รวดเร็วที่สุด และต้องมีความยืดหยุ่นค่อนข้างมากเพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นกระบวนการ Dual-track Agile Product Development (หรือ Continuous Discovery and Delivery) ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ Agile ที่บริษัทผู้พัฒนาด้านเทคโนโลยีระดับโลกใช้กัน โดยจะแบ่งการทำงานของทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลออกเป็น 2 ทีม ได้แก่ Discovery Team และ Delivery Team โดยทั้ง 2 ทีมนี้ จะทำงานควบคู่กันไป ซึ่งที่บลูบิคเองได้ประยุกต์แนวการทำงานแบบนี้กับลูกค้าหลายแห่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สามารถส่งมอบงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ยังเป็นการทำงานร่วมกับทีมทำงานของลูกค้าเพื่อหาคุณค่าของสิ่งที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้งานได้ดีขึ้นอีกด้วย  

ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและถูกต้องผ่านการค้นหาคำตอบร่วมกัน ผ่านกระบวนการร่วมกันออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาเพื่อทดสอบไอเดียหรือสมมติฐานทางธุรกิจที่ตั้งไว้กับผู้ใช้งานที่คิดว่าเป็นลูกค้าจริงๆ

Discovery Team

มีหน้าที่หลักในการมุ่งเน้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ ๆ ให้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงการวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนา ความเป็นไปได้และจัดเรียงความสำคัญในการพัฒนาก่อนที่จะส่งต่อให้กับ Delivery Team ส่วนใหญ่แล้ว Discovery Team จะประกอบไปด้วย Product Manager, UX/UI Designer, System Analyst และ Business Analyst เป็นต้น ซึ่งจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป แต่มีเป้าหมายร่วมกันคือ 1. เพื่อค้นหาว่ามีแนวคิดหรือคุณสมบัติใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นบริการหรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆได้บ้าง และ 2. ค้นหาและทดสอบว่า แนวคิดเหล่านั้นคุณค่าทางธุรกิจและคุ้มค่ากับการพัฒนาขึ้นมาจริงหรือไม่ และควรต้องพัฒนาออกมาในแนวทางใดเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากที่สุดก่อนที่จะส่งไปให้ทีมส่งมอบระบบ/ผลิตภัณฑ์ หรือ Delivery Team ได้พัฒนาต่อไปตามลำดับความสำคัญ ปกติแล้ว Discovery Team จะเป็นฝ่ายกำหนดทิศทางและแก้ปัญหาเชิงธุรกิจและการปฏิบัติงานผ่านการออกแบบและทดลอง

Delivery Team

ทีมนักพัฒนาที่จะเปลี่ยนจากไอเดียต่าง ๆ ข้างต้นให้เกิดขึ้นได้จริง โดยใช้รูปแบบของ Agile development โดยการแบ่งการทำงานออกเป็น Sprint ซึ่งมีการนำชิ้นงานจาก Discovery Team ที่อยู่บน Product backlog เลือกนำมาลง Sprint backlog ร่วมกับทีมทั้งหมด ก่อนเริ่มการพัฒนาต่อไป ให้เป็นตามกิจกรรมสกรัม (Scrum Event) ต่าง ๆ ของทีม โดยทีมงานหลักของ Delivery Team ก็คือ Engineer, Developer, Scrum master และ Tester เป็นต้น

ซึ่งการทำงานควบคู่กันทั้ง 2 ทีม Discovery Team และ Delivery Team จะช่วยส่งเสริมให้การทำงานสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว เพราะมีการแบ่งแยกหน้าที่หลักกันอย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยเปิดโอกาสให้ Discovery Team สามารถตรวจสอบข้อมูลกับผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วนก่อนที่จะนำส่งต่อไปพัฒนาให้กับ Delivery Team และทำให้ Delivery Team สามารส่งมอบของที่มีคุณค่ามากที่สุดต่อธุรกิจด้วย

Application Modernization – ถึงเวลารื้อระบบ IT รองรับการเปลี่ยนธุรกิจสู่รูปแบบดิจิทัล

นอกจากทีมที่ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือช่องทางการให้บริการแบบดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ DT กล่าวถึงไปแล้ว ในส่วนงานของ IT เองในยุคนี้ก็ต้องกลับมาสำรวจขีดความสามารถของระบบหลัก (Core system) ที่ดูแลอยู่เช่นเดียวกันว่า ยังสามารถรองรับความต้องการในอนาคตของธุรกิจได้อยู่หรือไม่ เนื่องจากเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา การที่ทีม IT ยังปล่อยให้เกิดคอขวดในการทำงานอยู่ที่ระบบเก่าโดยไม่ประเมินและลงมือปรับปรุงระบบ เมื่อรู้ตัวอีกทีอาจจะตามคู่แข่งไม่ทันเสียแล้ว เนื่องจากคู่แข่งมีระบบหลักที่รองรับเรื่องต่าง ๆ ได้ดีกว่า อย่างเช่น ธุรกิจที่มีหน้าร้านสมัยก่อนอาจรองรับ Transaction ได้เฉพาะช่วงเวลาทำการที่ร้านเปิดเท่านั้น แต่ด้วยความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปที่ต้องสามารถรองรับความต้องการได้แบบ 24/7 ฉะนั้นระบบต้องสามารถตอบสนองการใช้งานอย่างรวดเร็วและถูกต้อง รวมถึงรองรับปริมาณธุรกรรมที่มากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ระบบเดิมที่ออกแบบไว้ในอดีต จะสามารถรองรับความคาดหวังในเรื่องนี้ได้

ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมให้ระบบหลักซึ่งเป็นระบบดั้งเดิมสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับระบบใหม่ทั้งจากฝ่าย DT พัฒนาเอง หรือ จากคู่ค้า ระบบหลักควรได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนั้นว่า Application Modernization หรือการทำให้ระบบนั้นทันสมัยขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ การออกแบบใหม่ เพื่อให้รองรับความต้องการของธุรกิจในยุคนี้ได้ เปรียบได้กับการ Renovate บ้านทั้งหลัง ไม่ใช่แค่ทาสีใหม่หรือแต่ง Wallpaper ใหม่แล้วจบ เพราะบ้านหลังเก่าอาจจะไม่สามารถรองรับความต้องการของสมาชิกในครอบครัวตอนนี้และในอนาคตได้แล้ว โดยการทำ Application Modernization จะรวมถึง การปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบให้เป็นแบบ Microservice หรือ การเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานเป็นแบบ Cloud Computing เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการด้วย เป็นต้น

Bluebik DX: บริการด้านดิจิทัลที่ไม่ได้หยุดแค่คำว่า “ดีพอ” แต่เป็น “ดีที่สุด” สำหรับลูกค้า  

เมื่อองค์กรธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรทั้งหมดให้ครอบคลุมมิติเทคโนโลยี Technology กระบวนการ Process และ บุคลากร People เพื่อรองรับการทำ Digital Transformation และเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จในระยะยาวในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยระบบดิจิทัล ทีม Digital Excellence & Delivery จึงได้ลงทุนอย่างจริงจังทั้งในด้านเทคโนโลยีและบุคลากรอย่างเข้มข้นเพื่อมอบสิ่งที่ “ดีที่สุด” ให้กับลูกค้า ทีมงานทุกคนล้วนถูกหล่อหลอมให้มองเห็นและแก้ไขปัญหาทั้งในภาพกว้างจากมุมมองธุรกิจ และการทำงานทางเทคนิคที่ต้องลงลึกในสายงานของตนเอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดิจิทัล และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยบลูบิคถือได้ว่าเป็นบริษัทคอนซัลต์เพียงไม่กี่แห่งที่มีบริการด้าน Digital Transformation แบบครบวงจร ตั้งแต่การทำกลยุทธ์ทางธุรกิจไปจนถึงการทำให้แผนสำเร็จผลขึ้นมาจริง ซึ่งเราขอส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพให้กับองค์กร ภาครัฐ และบริษัทเอกชนทุกภาคส่วนในประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก


ส่วนธุรกิจใดที่กำลังมองหาแนวทางการพัฒนาประสบการณ์ด้าน Digital Excellence & Delivery และการวางรากฐานกลยุทธ์ธุรกิจ ติดต่อเราได้ที่ [email protected] หรือ 02-636-7011 เพื่อหารือเบื้องต้น เรามีบริการตั้งแต่การวางแผน ไปจนถึงการพัฒนา และลงมือทำจริง