ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาระบบคลาวด์ (Cloud Computing) กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ธุรกิจทุกระดับชั้นเลือกใช้งาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในแง่มุมต่าง ๆ แต่ท่ามกลางข้อดีมากมายการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีนี้ก็ดึงดูดความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์มากขึ้นเช่นกัน
สภาพแวดล้อมบนระบบคลาวด์ที่ซับซ้อนและพัฒนาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รวมถึงเงื่อนไขและมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการคลาวด์ที่แตกต่างกัน กำลังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจยากจะรับมือ ด้วยเหตุนี้ การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ (Cloud Security Assessment-CSA) เพื่อค้นหาจุดอ่อนหรือช่องโหว่บนระบบให้เจอก่อนแฮกเกอร์ จึงเป็นหนึ่งในมาตรการที่ธุรกิจชั้นนำกำลังให้ความสำคัญและมีการปรับใช้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลการเติบโตของ CSA เพิ่มสูงขึ้น สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ
การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ (CSA) คืออะไร
CSA คือ การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ ด้วยการวิเคราะห์การตั้งค่าบัญชี/การสมัครใช้บริการ และตรวจสอบโอกาสเกิดภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ จากทั้งอินเทอร์เน็ตและปัจจัยภายในโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ด้วย เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ ผ่านกระบวนดังกล่าวต่อไปนี้
- ระบุช่องโหว่และจุดอ่อนที่อาจนำไปสู่การโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ขององค์กร
- วิเคราะห์เครือข่ายเพื่อหาหลักฐานการหาผลประโยชน์โดยมิชอบบนเครือข่ายคลาวด์
- กำหนดแนวทางการป้องกันการโจมตีในอนาคต
เพื่อฉายให้เห็นภาพชัดเจนถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ บลูบิค ไททันส์ ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทใหญ่อย่าง BBC ที่ออกมายืนยันเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลขององค์กร ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งพนักงานในอดีต-ปัจจุบบันกว่า 25,000 ราย โดยแฮกเกอร์คัดลอกไฟล์ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกจากบริการจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ ซึ่งข้อมูลที่ถูกขโมย ประกอบด้วย ชื่อ หมายเลขประกันสังคม วัน/เดือน/ปีเกิด เพศและที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม BBC ระบุว่าการรั่วไหลนี้ไม่รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล รายละเอียดบัญชีธนาคาร ข้อมูลทางการเงินและชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
เหตุการณ์นี้ย้ำเตือนถึงความสำคัญของ CSA ที่ใช้ปกป้องกันข้อมูลสำคัญและรักษาความไว้วางใจจากพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
CSA ครอบคลุมอะไรบ้าง
- แนวทางความปลอดภัยในภาพรวม ⏩ เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์และรีวิวเอกสาร เพื่อประเมินมาตรฐานความปลอดภัยที่ใช้ดูแลโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ขององค์กรในภาพรวม
- การจัดการควบคุมและเข้าถึงระบบ⏩สำรวจตัวตนและแนวทางการจัดการการเข้าถึง ซึ่งประกอบไปด้วย บทบาทผู้ใช้งาน การตั้งค่าบัญชีและแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการที่สำคัญ
- ความปลอดภัยเครือข่าย⏩ประเมินการตั้งค่า Firewall และแบ่งส่วนเครือข่าย เพื่อตรวจสอบหาช่องโหว่/จุดอ่อน
- การจัดการกับเหตุการณ์⏩ตรวจสอบนโยบายและกระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้รับมือกับเหตุการณ์โจมตี ที่ส่งผลต่อทรัพยากรที่อยู่บนระบบคลาวด์
- ความปลอดภัยของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล⏩การประเมินความปลอดภัยของโซลูชันการจัดเก็บบนระบบคลาวด์ ได้แก่ วัตถุประสงค์ Block Storage และ Data Snapshorts
- ความปลอดภัยของบริการแพลตฟอร์ม⏩ตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยของบริการขั้นสูงของระบบคลาวด์ ที่สามารถปรับแต่งได้
- ความปลอดภัยของ Workload⏩วิเคราะห์มาตรการความปลอดภัยสำหรับ Virtual Servers, Host Container, Serverless Workloads, และฟังก์ชั่นต่าง ๆ
ทำไม CSA ถึงสำคัญต่อธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน
การปรับใช้ระบบคลาวด์ทำให้กระบวนการทำงานของธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนลดลงเมื่อเทียบกับระบบ On-Premises แต่คุณประโยชน์เหล่านี้ก็นำซึ่งความท้าทายด้านความปลอดภัย อาทิ การปรับใช้ Cloud-Based Workloads เร็วเกินกว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดจุดบอดได้ และการใช้ระบบคลาวด์หลายแห่ง (Multi-Cloud) ที่อาจทำให้องค์กรเผชิญกับปัญหาการโจมตี เนื่องจากการให้ความสำคัญ/มาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการแต่ละรายไม่เท่ากัน โดยผู้ให้บริการรายที่ Workloads น้อยอาจถูกมองข้ามหรือมีการใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ต่ำกว่ารายที่มี Workloads สูง ด้วยเหตุนี้ การละเมิดข้อมูลที่พบมักมีต้นตอจากระบบคลาวด์ที่ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร
ยิ่งไปกว่านั้น การตั้งค่าผิดพลาดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจของวิศวกรเครือข่าย ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเสี่ยงบนระบบคลาวด์ รวมถึง การบริหารจัดการบัญชีที่ไม่ดีพอ อาทิ
- การให้สิทธิ์เข้าถึงมากเกินไป
- การจำกัด IP Addreass ต้นทางหรือประเทศไม่รัดกุมพอ
- การพึ่งพาการพิสูจน์ตัวตนแบบ Static Credential
- ไม่ใช้การพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication)
ระบบรักษาความปลอดภัยต่ำเอื้อให้ผู้ไม่ประสงค์ดีปลอมแปลงตัวตนลอกเลียนแบบกิจกรรมของผู้ใช้งานที่ได้รับสิทธิ์ เข้าถึง ควบคุม ขโมยหรือทำลายข้อมูลบนระบบคลาวด์ อีกทั้งการตั้งค่า Login ที่ไม่เหมาะสมนี้ยังทำให้เกิดความเสี่ยง ยากต่อการตรวจสอบ อธิบายถึงลักษณะและกู้คืนข้อมูล/ระบบจากการโจมตีไซเบอร์ รวมถึงต้นทุนเพิ่มขึ้น ปัจจัยข้างต้นตอกย้ำให้เห็นว่านับวัน CSA เป็นการลงทุนที่จำเป็นต่อธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน
ประโยชน์ของการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ (CSA)
CSA ทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าเครือข่ายและสินทรัพย์บนระบบคลาวด์มีการตั้งค่าอย่างเหมาะสมและได้รับการปกป้องปลอดภัยจากภัยคุกคามไซเบอร์ ผ่านการประเมินที่สามารถระบุข้อผิดพลาดของกระบวนการเข้าถึงระบบ และจุดอ่อนอื่น ๆ บนเครือข่าย รวมถึงการให้คำแนะนำที่สามารถปรับปรุงและทำให้ระบบความปลอดภัยไซเบอร์องค์กรแข็งแกร่งขึ้นในอนาคต
ข้อดีของ CSA มีดังต่อไปนี้
- ลดความเสี่ยงจากการตั้งค่าผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ: ธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงพื้นที่โจมตีบนสภาพแวดล้อมคลาวด์ ด้วยการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าต่าง ๆ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
- การลดความเสียหายด้วยการแจ้งเตือน: คำแนะนำของทีม CSA จะช่วยปรับปรุงขีดความสามารถการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามและช่องโหว่ ลดความเสี่ยงและความเสียหายจากเหตุการณ์โจมตี
- การเพิ่มขีดความสามารถในการฟื้นตัว: ทีมงาน CSA สามารถให้คำแนะนำ ที่ช่วยให้องค์กรสามารถฟื้นตัวจากภัยคุกคามและการละเมิดข้อมูลได้เร็วขึ้น
- การจัดการบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ: องค์กรที่มี Identity Architecture ที่ดีมากพอ สามารถลดเวลาจัดการบัญชีและการให้สิทธิ์เข้าถึงเครือข่าย รวมถึงการให้สิทธิ์เข้าถึงระบบคลาวด์มากเกินความจำเป็นด้วย
- การตรวจจับการบุกรุก: CSA สามารถระบุความเปลี่ยนแปลง/ความผิดปกติจากค่ามาตรฐานบนระบบคลาวด์ขององค์กร ที่อาจเกิดจากการบุกรุกได้
ข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ CSA
1. ระบุสถานะปัจจุบันบนระบบคลาวด์: ระบุถึงสิ่งที่องค์กรทำแล้วและกำลังทำอยู่ รวมถึงมาตรการความปลอดภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงความจำเป็นในการยกระดับความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ได้ดียิ่งขึ้น
2. วางแผนสำหรับอนาคต: กำหนดว่าองค์กรต้องการเห็นสภาพแวดล้อมบนคลาวด์ของตนเป็นอย่างไรในอนาคต โดยพิจารณาจากแผนงานที่กำลังดำเนินการอยู่
3. เวลา: จัดสรรทรัพยากรและเวลาที่ต้องใช้ในการประเมินความปลอดภัยบนคลาวด์
4. ต้นทุน: การโฮสต์ข้อมูลบนคลาวด์อาจมีต้นทุนผันแปรตามขนาดและความซับซ้อนของข้อมูล ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมินความความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าเม็ดเงินลงทุกถูกใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด
เหตุผลที่ธุรกิจควรเลือก ‘บลูบิค ไททันส์‘ ประเมินมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ครั้งต่อไปของคุณ
- ความเชี่ยวชาญและแม่นยำ: การประเมินความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ของ บลูบิค ไททันส์ ดำเนินโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีประสบการณ์สูงผ่านงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถส่งมอบข้อมูลเชิงลึก ที่สามารถยกระดับการปกป้องเครือข่ายและสินทรัพย์บนระบบคลาวด์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับแต่งตามลักษณะขององค์กร: แนวทางการประเมินของ บลูบิค ไททันส์ จะปรับแต่งตามความจำเป็นและความท้าทายขององค์กรลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการและคำแนะนำด้านความปลอดภัยสามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในสภาพแวดล้อมคลาวด์ของแต่ละองค์กร ทำให้เม็ดเงินลงทุนด้านความปลอดภัยไซเบอร์ถูกใช้อย่างคุ้มค่า
- การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก: การลงทุนด้านการประเมินความปลอดภัยบนระบบคลาวด์กับ บลูบิค ไททันส์ จะช่วยให้องค์กรธุรกิจก้าวนำหน้าภัยคุกคามไซเบอร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้การระบุและลดความเสี่ยงเชิงรุกมิเพียงแต่จะช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายด้านภาพลักษณ์และการเงินจากระบบล่ม ช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก crowdstrike, techtarget