fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

‘AI Power’ ขุมพลังแห่งอนาคต ต้านภัยคุกคามไซเบอร์

หลายสิบปีที่ผ่านมาเราคุ้นชินกับการป้องกันตนเองในโลกดิจิทัล ด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti-Virus), การคัดกรองสแปม (Spam-Filtering) และเครื่องมือตรวจจับฟิชชิ่ง (Phishing-Detection Tools) แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงพอ ที่จะดูแลความปลอดภัย Digital Landscape ที่ซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน ยิ่งผนวกกับการใช้ AI เป็นเครื่องมือโจมตีทางไซเบอร์ ยิ่งทำให้บทบาท AI กลายเป็นของต้องมีในสาย Cyber Security ชัดเจนขึ้น เหมือนประโยคเด็ดในภาพยนต์ชื่อดังระดับตำนานอย่าง Ronbin Hood (2018) ที่กล่าวไว้ว่า ‘Takes a thief to find one’ หมายถึง ‘ใช้โจรจับโจรถึงจะได้ผล’ การเปิดตัวขีดความสามารถขั้นสูงของ AI อย่างต่อเนื่อง ทำให้ AI ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวง Cyber Security ในช่วงปีที่ผ่านมา นำไปสู่การลงทุนและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับพัฒนาการและการขยายตัวของการโจมตีรูปแบบต่าง ๆ จากจุดนี้เองทำให้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่ใช้ต่อสู้กับภัยคุกคามไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่ง บลูบิค จะพาทุกคนไปสัมผัสการทำงานของ AI ในแง่มุม Cyber Security รวมถึง Use Case และพัฒนาการล่าสุด   บทบาท AI ในมุม Cyb...

สิ่งที่องค์กรควรรู้ ก่อนเลือกใช้ Generative AI

ขณะนี้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะ Generative AI (Gen AI) ต่างได้รับความสนใจและนำไปใช้ในหลากหลายด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมขององค์กรแล้ว คำถามที่น่าสนใจคือจะทำอย่างไรให้การลงทุนใน Gen AI คุ้มค่าและสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจได้มากที่สุด  วันนี้ บลูบิคจึงอยากชวนมาดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรพิจารณาก่อนองค์กรจะตัดสินใจเลือกลงทุนและเลือกนำ Gen AI มาใช้งาน พร้อมตัวอย่างแนวทางการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับแต่ละฟังก์ชันภายในองค์กร ความพร้อมและคุณภาพของข้อมูล เนื่องจาก Gen AI จำเป็นต้องนำข้อมูลปริมาณมหาศาลมาใช้ในการเทรนโมเดล หากองค์กรไม่ได้มีแพลตฟอร์มเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อาจส่งผลให้ผลลัพธ์ที่ได้จากโมเดล Gen AI ออกมาไม่ตรงจุด นอกจากนี้ คุณภาพข้อมูลเป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ โดยหากข้อมูลที่มีอยู่ไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้เป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันล่าสุด อาจส่งทำให้ผลลัพธ์ไม่แม่นยำ ดังนั้น เมื่อจะนำ Gen AI มาใช้งาน ความพร้อมและคุณภาพของข้อมูลเป็นปัจจ...

Insider Risk น่ากังวลใจแต่ไม่น่ากลัว เปิดตัวช่วย 3 ปัจจัยสร้างเกราะป้องกันองค์กร

Digital Landscape ที่ซับซ้อนและขยายตัวมากขึ้น กำลังกดดันให้ภาคธุรกิจรับศึก 2 ด้าน ทั้งภัยคุกคามไซเบอร์จากภายนอกและคนใน โดยเฉพาะ Insider Risk ความเสี่ยงจากอาชญากรที่แฝงตัวอยู่ในคราบพนักงานหรือบริษัทรับเหมา และความประมาทของคนในที่นำไปสู่การละเมิดข้อมูล/เข้าถึงระบบขององค์กรโดยไม่ตั้งใจ  นอกจากแผนกลยุทธ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การกำกับดูแล (Governance) ความเสี่ยง (Risk) และการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance) แล้ว องค์กรยังต้องอาศัย 3 ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อบรรลุเป้าหมายการป้องกันความเสี่ยง Insider Risk โดยปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย  People (พนักงาน/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง) ⏩⏩ เพราะความสำเร็จของการโจมตีไซเบอร์ล้วนเกี่ยวพันกับผู้คน ด้วยเหตุนี้พนักงานจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้าน Cyber Security โดยบริษัทต้องมองเห็นกิจกรรมและการใช้งานของพนักงานในทุกระดับชั้น เพื่อเข้าใจถึงเจตนาและพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุการบริหารจัดการ Insider Risk องค์กรจำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบควบคุมที่มีอยู่และประเมินความเสี่ยง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล และกำหนดว่าใครบ้า...

ไม่ยากแต่ไม่ง่าย 5 ความท้าทาย เมื่อธุรกิจการผลิตนำ AI มาใช้

สำหรับธุรกิจการผลิตแล้ว ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มได้รับความสนใจในการนำมาปรับใช้งานจริงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากขีดความสามารถของ AI กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานต่างๆ  อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจการผลิตถือว่ามีความเฉพาะตัว จึงทำให้การนำ AI มาใช้อาจมีความซับซ้อนมากกว่าและมีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ บลูบิคจึงอยากชวนมาดูความท้าทายในการนำ AI มาใช้สำหรับธุรกิจการผลิต พร้อมแนวทางในการสร้างผลลัพธ์จาก AI ให้เกิดขึ้นจริง    5 ความท้าทายจาก AI ในธุรกิจการผลิต การขาดความเชี่ยวชาญ เนื่องจากธุรกิจการผลิตมีความเฉพาะตัวสูง ทำให้เมื่อต้องการนำ AI มาใช้ในกระบวนการต่างๆ ไม่เพียงบุคลากรต้องมีความเชี่ยวชาญในด้าน AI แล้ว ยังต้องมีประสบการณ์เฉพาะทางและมีทักษะในการบริหารจัดการ AI ให้เหมาะกับระบบและสภาพแวดล้อมของโรงงานและฐานการผลิตด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบริหารจัดการซัพพลายเชน งานประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ที่ต้องดูแลให้กระบวนการผลิตสินค้าเป็นไปตามมาตรฐาน รวมไปถึงจัดการกระบวนการทำงานอื่นๆ ให้เป็นไปอย่างรา...

ธุรกิจค้าปลีกควรทำอย่างไร? เมื่อ AI มาพร้อมความท้าทายและความเสี่ยง

ขณะนี้ หลายภาคอุตสาหกรรมต่างเร่งนำ AI มาใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจ สำหรับธุรกิจค้าปลีกแล้ว AI ได้กลายเป็นแต้มต่อสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งในแง่กระบวนการทำงานและการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้สร้างผลลัพธ์จริงไม่ใช่เรื่องง่าย บลูบิคจึงอยากชวนมาทำความรู้จักความท้าทายจาก AI และแนวทางจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น   ความท้าทายจาก AI ในธุรกิจค้าปลีก  การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) โดยทั่วไปแล้ว แบรนด์ที่มีอัตลักษณ์ความเป็นแบรนด์แข็งแกร่งจะสามารถทำให้ลูกค้ารู้สึก “อิน” หรือรู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น เช่น การใช้วยทำคอนเทนต์ หรือทำแคมเปญการตลาด ทำให้คอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่มาจาก AI มักจะมีรูปแบบหรือข้อความคล้ายๆ กัน ดังนั้น องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับแต่งชุดคำสั่งเมื่อใช้งาน AI เพื่อให้ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ อคติและความบิดเบือน (Biases & Liability) โดยปกติแล้ว โมเดล AI/ ML จะเรียนรู้จากชุดข้อมูลขนาดใหญ่ หาก...

รู้จัก ‘Rule of Three’ ศาสตร์จัดการ Insider Risk ให้อยู่หมัด

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับจากการโจมตีภายนอก มากกว่าภัยคุกคามจากภายใน (Insider Threat) ทั้งที่การโจมตีจากคนในมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ซ้ำร้ายภัยจากคนในยังมีโอกาสประสบความสำเร็จและอาจสร้างความเสียหายสูงกว่าการโจมตีจากคนนอก เพราะพวกเขารู้ว่าข้อมูลสำคัญอยู่ที่ไหนและจะเข้าถึงได้อย่างไร  ยกตัวอย่าง ในปี 2564 บริษัทค้าปลีกผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์รายหนึ่งของไทย ต้องเผชิญกับปัญหาพนักงานฝ่ายไอทีขโมยข้อมูลส่วนตัว (Personally Indentifiable Information - PII) ของลูกค้ากว่า 1,000,000 เรคอร์ด และมีการโพสต์ชุดข้อมูลตัวอย่าง PII ของลูกค้ากว่า 1,000 รายการให้ดาวน์โหลดแบบสาธารณะในตลาดมืด (Dark Web) ซึ่งแน่นอนว่าการละเมิดข้อมูลนี้ส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ ขององค์กร ความสูญเสียทางการเงินและอาจนำไปสู่การฟ้องร้องทางกฎหมายได้   ด้วยเหตุนี้ Insider Threat จึงเป็นความเสี่ยงที่องค์กรยุคใหม่ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป ซึ่งการบริหารจัดการกับ Insider Risk นี้สามารถเริ่มต้นด้วย ‘Rule of Three’ ศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ใช้บริหารจัดการ Insider Threa...

เปิด 7 สาเหตุและวิธีแก้ปัญหาจาก AI ในธุรกิจการเงิน

ทำอย่างไรหากผลลัพธ์ AI ทำร้ายองค์กร? เปิด 7 สาเหตุและวิธีแก้ปัญหาจาก AI ในธุรกิจการเงิน เมื่อ AI กำลังคืบคลานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ จึงไม่น่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมหลัก ๆ ต่างตบเท้าเข้าลงทุน เพื่อหวังใช้ประโยชน์จาก AI ในธุรกิจโดยเฉพาะภาคการเงินที่มีบริการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คน  ผลสำรวจของ IBM พบว่า 2 ใน 3 ของ CEO ในธุรกิจการเงินและธนาคาร พึงพอใจกับผลลัพธ์จากการปรับใช้ AI และระบบอัตโนมัติ และพร้อมรับความเสี่ยงหาก AI สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามทุกความเสี่ยงมีราคาที่ต้องจ่าย ดังนั้นการวางกลยุทธ์และ AI Roadmap จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะใช้รับมือกับความท้าทายที่อาจส่งผลต่อสังคมและธุรกิจ รวมถึงกฎระเบียบหรือกฎหมายที่จะเข้ามาควบคุม AI อย่างเป็นรูปธรรมในอีกไม่ช้า  7 ความท้าทาย & แนวทางแก้ไขปัญหา AI ในอุตสาหกรรมการเงิน ขาดกลยุทธ์ด้าน AI: ธนาคารและสถาบันการเงินจำนวนมากกำลังประสบปัญหาจากการปรับใช้ AI โดยไม่มีแผน AI Roadmap /กลยุทธ์ ทำให้ให้ไม่สามารถก้าวข้ามขั้นตอนการทดลองและขยายการใช้งาน AI ทั่วทั้งองค์กร แนวทางแก้ไข...

Cybersecurity ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ได้ด้วย ‘เงิน’ เพียงอย่างเดียว

วิวัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ หนุนให้ Cybersecurity เป็นคงความท้าทายและความเสี่ยงอันดับต้น ๆ ของธุรกิจ แม้วันนี้หลายองค์กรยังโชคดีที่ไม่เคยถูกแฮกแต่ไม่มีใครการันตีถึงอนาคตได้ เพราะแม้แต่บริษัทชั้นนำหรือยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีล้วนเคยตกเป็นเหยื่อยภัยคุกคามไซเบอร์มาแล้วทั้งนั้น  ยกตัวอย่างการโจมตีมาแรงอย่าง Ransomware หรือการเรียกค่าไถ่ไซเบอร์ ที่ล่าสุดได้มีการเปิดตัวโมเดลธุรกิจ Ransomware-as-a-service (Raas) บริการที่ทำให้ใครก็ได้เป็นแฮกเกอร์ได้ สนับสนุนให้เกิดแฮกเกอร์หน้าใหม่ตบเท้าเข้ามาในวงการมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2566 ยังเป็นปีแห่งการเติบโตสูงสุดของ Ransomware โดยมีเหยื่อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55 เมื่อเทียบกับปี 2565 (รวมเป็น 5,070 ราย) แค่เพียง Q2 และ 3 มีผู้ตกเป็นเหยื่อรวมกันมากว่าจำนวนเหยื่อของทั้งปี 2565 ซึ่งนอกจากความเสียหายทางการเงินและภาพลักษณ์แล้ว องค์กรธุรกิจที่ถูกโจมตียังต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางด้านกฎหมายและกฎระเบียบอีกด้วย เทรนด์ลงทุนด้าน Cybersecurity ยังขาขึ้น แต่มาตรฐานความปลอดภัยไม่ขึ้นตาม ภาคธุรกิจตื่นตัวกับปัญหาด้านความมั่นคง...

Aura Wellness and Bluebik implement SAP S/4HANA for business expansion and leadership in health and beauty industry

Aura Wellness, a player in health and beauty business, together with Bluebik, a leading consultancy on end-to-end digital transformation, have developed and implemented “SAP S/4HANA” – the latest version of SAP cloud-based business administration software. The innovative technology supports digital transformation, accurate and efficient data management and comprehensive and highly secure intra-firm integration. SAP S/4HANA provides the foundations for the exponential growth of Aura Wellness in the future. Mr. Jetbodin Prakoonsuksapan, Chief Executive Officer of Aura Wellness Group, said that players in health and beauty business are facing fierce competition and fighting tooth and nail for market shares. Under the circumstance, operators must always be active and expand business to welcome more customers. Aura Wellness Group has opened 13 branches of Aura Bangkok Clinic in Greater Bangkok. It becomes a market leader and has expanded to dietary supplements and spa services. No...

Insider Risk ภัยไซเบอร์คุกคามธุรกิจ เมื่อคนในกลายเป็นคนร้าย

ปัจจุบัน ในโลกดิจิทัลที่ทุกอย่างเชื่อมโยงเข้าหากัน ทำให้การใช้ชีวิตและการดำเนินงานของธุรกิจต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ท่ามกลางความก้าวหน้านี้ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทำให้องค์กรต้องหาทางรับมือและวางแนวทางด้าน Cyber Security เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น  เมื่อพูดถึงภัยไซเบอร์แล้ว คนส่วนใหญ่คิดว่ามาจากแฮกเกอร์จากภายนอกองค์กร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภัยคุกคามที่มาจากคนภายในองค์กร (Insider Threat) ถือเป็นเรื่องที่ต้องจับตาเช่นกัน เนื่องจากมากกว่า 1 ใน 4 ของภัยคุกคามทั้งหมด อาจสร้างผลกระทบต่อองค์กร ทั้งในแง่ความเสียหายทางการเงิน รวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรในระยะยาว  พลสุธี ธเนศนิรัตศัย ผู้อำนวยการ บริษัท บลูบิค ไททันส์ (ฺBluebik Titans) บริษัทที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security ในเครือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป (BBIK) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากคนในองค์กรกลายเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจมากขึ้น เพราะจากข้อมูลพบว่า ช่วงปี 2021 - 2022 จำนวนเหตุความเสี่ยงทางไซ...