fbpx
Blogs 12 May 2021

M-S-D สูตรไม่ลับ สร้าง Data-Driven Culture ให้ประสบความสำเร็จ

ในโลกยุคใหม่ที่ข้อมูลกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจแม่นยำยิ่งขึ้น Data-Driven Organization จึงกลายเป็นเป้าหมายที่ทุกองค์กรต้องไปให้ถึง แต่ก้าวแรกของการสร้างองค์กรแบบ Data-Driven ต้องเริ่มต้นที่การสร้าง Culture ให้ได้ก่อน

Data-Driven Culture คืออะไร

หากกล่าวแบบรวดรัด Data-Driven Culture คือวัฒนธรรมการนำข้อมูลมาใช้ช่วยตัดสินใจทางธุรกิจ โดยมองว่าข้อมูลคือทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ (Strategic asset) ซึ่งสามารถช่วยสร้างจุดแข็งให้ธุรกิจ เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเปิดทางสู่การสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ

สร้าง Data-Driven Culture ต้องเตรียมด้านไหนบ้าง

สำหรับแนวทางเปลี่ยนให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้น Bluebik ขอแนะนำหลัก M-S-D สู่การสร้าง Data-Driven Culture ซึ่งประกอบด้วยการเตรียมพร้อมใน 3 ส่วน ได้แก่ การเปลี่ยน Mindset (Mindset Shift) การพัฒนาทักษะคนในองค์กร (Skillset Strength) และการวางทิศทางการใช้ข้อมูล (Dataset Alignment)

  • M: Mindset Shift

ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดในการสร้าง Data-Driven คือการสร้าง Mindset ของคนในองค์กรให้เข้าใจว่าเรื่อง Data ไม่ใช่แค่งานของฝั่งไอทีเท่านั้น แต่เป็นงานที่ฝั่ง Business Unit อื่นๆ ต้องรับผิดชอบร่วมกันด้วย รวมถึงทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการทำงานและการตัดสินใจ

Bluebik ในฐานะบริษัทคอนซัลต์ชั้นนำ ที่มีประสบการณ์ให้คำปรึกษากับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม พบว่า การสร้าง Data-Driven Culture ควรเริ่มต้นจากผู้บริหารองค์กร ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจและมีอิทธิพลในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้บริหารมี Data-Driven Mindset ที่เข้าใจและเป็นแบบอย่างในการใช้ข้อมูลขับเคลื่อนธุรกิจ วัฒนธรรมองค์ย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  • S: Skillset Strength

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเป็น Data-Driven ต้องมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นแค่ปรับ Mindset บุคลากรคงยังไม่เพียงพอ แต่องค์กรต้องเตรียมความพร้อมเรื่องทักษะให้พนักงานด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทักษะการทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้น หรือวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการนำข้อมูลมาใช้งาน เช่น Data Visualization Tools

องค์กรจึงควรมีการจัดคอร์สฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะให้บุคลากรในทุกๆ ฝ่าย รวมถึงเปิดโอกาสให้ทดลองนำข้อมูลมาใช้ทำงานจริง เช่น Amazon ที่มีใช้ข้อมูล สถิติ และยอดขายต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจออกแบบแคมเปญขายสินค้าใหม่ๆ บนแพลตฟอร์ม และค้นหาว่าแคมเปญแบบไหนสามารถสร้างยอดขายได้มากที่สุด เป็นต้น

  • D: Dataset Alignment

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงการสร้าง Data-Driven Culture “ข้อมูล” คือองค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี ทำให้องค์กรจำนวนไม่น้อยคิดว่าการทำ Data-Driven เป็นการซื้อเทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่างๆ มาวิเคราะห์ข้อมูลก็เพียงพอแล้ว

แต่แท้จริงแล้ว ถ้าต้องการประสบความสำเร็จในการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนองค์กร ต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายธุรกิจ (Business Objective)

ให้ชัดเจนก่อน แล้ววิเคราะห์ว่าจะนำข้อมูลไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพหรือแก้ปัญหาให้ธุรกิจในจุดไหน หลังจากนั้นค่อยเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้งานให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งไว้ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้ได้จริง

นอกจากนี้ คุณภาพข้อมูลเป็นอีกสิ่งสำคัญ แต่จากประสบการณ์ของ Bluebik พบว่า 90% ขององค์กรที่มีโอกาสเข้าไปให้คำปรึกษา มีปัญหาเรื่องคุณภาพข้อมูล ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลไปเป็นอย่างล้าช้าและยังไม่มีประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นธุรกิจจึงควรวางโครงสร้างระบบเก็บข้อมูล จัดรูปแบบข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อเพิ่มความฉับไวในการนำข้อมูลไปใช้

ทั้ง 3 องค์ประกอบที่กล่าวมา เป็นเพียงหลักเบื้องต้นสู่การสร้าง Data-Driven Culture ซึ่งย่อมต้องใช้ความทุ่มเทและระยะเวลากว่าจะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าไม่เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ อาจทำให้ก้าวช้ากว่าคู่แข่งเพียงเสี้ยววินาทีก็เป็นได้