🤔 System Analyst ต้องรู้อะไรบ้างนะ?
ถ้าใครมีคำถามนี้อยู่ในใจ เราอยากชวนมาฟังเรื่องราวของ “พี่นุ้ย สรารัตน์” Associate Director, System Analysis มาดูกันว่านุ้ยผันตัวจาก Developer มาเป็น System Analyst ได้อย่างไร แล้วใน 1 วัน System Analyst ต้องทำอะไรบ้าง
🌎 เติมความรู้ธุรกิจ ฝึกฝนการสื่อสาร
“จาก Developer สู่ System Analyst นอกจากความรู้ด้าน Technical แล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือต้องมีความรู้ทางด้านธุรกิจ ทั้งในเชิงความเข้าใจในแต่ละอุตสาหกรรมของลูกค้าและเข้าใจในคำศัพท์ธุรกิจด้วย เพราะเวลาอธิบายลูกค้าในเชิง Technical จะต้องคุยคุยด้วยศัพท์ที่ลูกค้าเข้าใจง่าย หลังจากนั้นก็ต้องแปลงศัพท์ธุรกิจมาคุยกับฝั่ง Developer ทำให้เราต้องฝึกสกิลเรื่องการสื่อสารเพิ่มด้วย”
❓ ตั้งคำถามที่ใช่ จะไปต่อได้
“หนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญคือทักษะการตั้งคำถามอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะอ่านข้อมูลล่วงหน้าและลิสต์คำถาม เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าผิด คำถามที่เตรียมไปต้องไม่เป็นเชิงเทคนิคเกินไปซึ่งอาจทำให้ลูกค้าไม่เข้าใจ และในกรณีที่มีคำถามที่ซับซ้อน เราสามารถใช้ตัวอย่างหรือ Diagram หรือ Business Process เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจมากขึ้น และให้ลูกค้าช่วยยืนยันว่าจากแผนผังนั้นมี Technical Gap อะไรบ้าง”
👨💻 1 วันทำงานของ System Analyst
“ปกติเราจะมีการประชุมกับทีมโปรเจกต์เป็นประจำ และบางวันก็มีประชุมกับลูกค้า ขั้นตอนแรกหลังจากได้รับ Requirements เราจะทำการวิเคราะห์เพื่อกำหนด Technical Spec ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการออกแบบ Solution จากนั้นเราจะทำการประเมินเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด และในกรณีที่มีความเชื่อมโยงกับ Infrastructure เราจะประชุมกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง เช่น Solution Architect, Back-End & Front-End Developer เพื่อความชัดเจนก่อนที่จะเริ่มออกแบบ โดยเราจะนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ Technical Gap และข้อกังวลทางเทคนิค จากนั้นเราจะนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมมาเขียนเป็น Technical Spec เพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจและสามารถทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
💙 พัฒนาตัวเองให้ก้าวทันความท้าทายที่เข้ามา
“System Analyst มีบทบาทสำคัญในการทำงานกับลูกค้าในหลายอุตสาหกรรม และโจทย์ของลูกค้าแต่ละรายก็มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ความท้าทายสำคัญที่สุดคือการที่ต้องออกแบบระบบให้ตรงตามความคาดหมายของลูกค้า ดังนั้นเราต้องมีความเข้าใจลึกซึ้งในธุรกิจของลูกค้าและนำความรู้และประสบการณ์ทางเทคนิคของเรามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและปิดช่องว่างความต้องการของลูกค้าให้ได้
“โดยส่วนตัวเราพยายามศึกษาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วให้ทัน โดยต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างลึกซึ้งเพียงพอที่จะนำมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม การอ่านบล็อกจากต่างประเทศและการเข้าร่วมคอร์สเรียนต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ของเรา นอกจากนี้เรายังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับคนในสายอุตสาหกรรม IT เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและพัฒนาทักษะในสายงานอย่างต่อเนื่อง”