fbpx
บทความ 1 ธันวาคม 2021

เปิดกลยุทธ์ ‘AAA Application Strategy’ พัฒนาแอปใหม่จับใจลูกค้า สร้างผลลัพธ์ให้ธุรกิจได้จริง

Business organizations must have application strategies. Many organizations develop apps which are parts of their digital transformation to offer good digital experiences to ธุรกิจต้องมีกลยุทธ์แอปพลิเคชัน ในยุคที่หลายองค์กรต่างหันมาพัฒนาแอป ซึ่งเป็นส่วนหนี่งของการทำ Digital Transformation โดยเฉพาะในแง่การสร้างประสบการณ์ใช้งานดิจิทัลที่ดีให้ลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ผ่านการออกแบบแนวคิดกลยุทธ์พัฒนาแอปพลิเคชัน ‘AAA Application Strategy’ หลังจากพบว่าแอปพลิเคชันส่วนใหญ้ในปัจจุบัน คนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันน้อยลง หรือดาวน์โหลดมาแล้วแต่แทบไม่ได้ใช้งาน รวมลบแอปทิ้งเมื่อมองว่าไม่เป็นประโยชน์ โดยกลยุทธ์ที่บลูบิคออกแบบ ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ 1. กระตุ้นให้คนสนใจดาวน์โหลด (Attention) 2. กระตุ้นให้ใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง (Active) 3. กระตุ้นให้แอปกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน (Attachment)

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคยุคใหม่ต่างหันมาซื้อสินค้าและใช้บริการต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันมากขึ้น เนื่องจากมีความง่ายและสะดวกรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจจำนวนไม่น้อยเริ่มหันไปทำแอปพลิเคชันเพื่อหวังใช้เป็นตัวกลางนำเสนอสินค้าและบริการให้เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกธุรกิจจะประสบความสำเร็จในการใช้แอปเจาะกลุ่มผู้บริโภค

ขณะที่แอปพลิเคชันมีจำนวนมากกว่า 3 ล้านแอป แต่พบว่ามีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพียง 1 ใน 3 ที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใหม่ๆ มาใช้ในรอบหนึ่งเดือน ขณะที่แอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดสูง ไม่ได้หมายความว่ายอดคนใช้งาน (Active user) จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะจากข้อมูลพบว่า 25% ของแอปที่คนดาวน์โหลดมาใช้งานแค่ครั้งเดียว ขณะที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้งานแอปพลิเคชันโดยเฉลี่ยเพียง 9 แอปต่อวันเท่านั้น นอกจากนี้อัตราการเลิกใช้แอปยังอยู่ในอัตราสูงมาก โดยผู้ใช้งานราว 71% ลบแอปทิ้งภายในช่วง 90 วันแรกหลังการดาวน์โหลด

ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องมีกลยุทธ์พัฒนาแอปพลิเคชัน ที่ไม่ได้หวังเพียงแค่ยอดดาวน์โหลด เพราะยอดดาวน์โหลดมหาศาลไม่ได้หมายความว่าแอปจะช่วยสร้างรายได้ให้ธุรกิจ แต่ต้องคิดตั้งแต่ต้นว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมาสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ธุรกิจมากน้อยแค่ไหน และสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจได้จริงหรือไม่ มิฉะนั้นธุรกิจอาจต้องเสียต้นทุนและทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชันไปอย่างเปล่าประโยชน์

จากประสบการณ์ของ บลูบิค ที่ได้เข้าไปให้คำปรึกษากับองค์กรชั้นนำ จึงคิดค้นกลยุทธ์สำหรับการวางแผนพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์ธุรกิจ ที่เพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ รวมทั้งสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับระบบใหม่ๆ ในอนาคต ภายใต้ชื่อ “AAA Application Strategy” ออกมาเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. กระตุ้นให้คนสนใจอยากดาวน์โหลด (Attention) 2. กระตุ้นให้ใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง (Active) 3. กระตุ้นให้แอปกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน (Attachment)

1. Attention
กระตุ้นให้คนอยากดาวน์โหลด

หากไม่ต้องการให้แอปพลิเคชันของธุรกิจถูกกลืนหายไปในตลาด สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อปล่อยแอปใหม่คือการสร้างการรับรู้ (awareness) เพื่อให้คนรับรู้ว่ามีแอปพลิเคชันนี้อยู่ และมองเห็นความน่าสนใจจนตัดสินใจดาวน์โหลดมาใช้งาน ด้วยการสร้างแรงกระตุ้นที่ดึงดูดให้คนหันมาสนใจแอปพลิเคชัน ซึ่งเริ่มจากการตั้งต้นค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ดาวน์โหลดแอปกำลังเผชิญปัญหาอะไร จึงตามด้วยการออกแบบ “ว้าวฟีเจอร์” (Wow Features) ที่แตกต่างและโดดเด่นจากแอปที่คล้ายคลึงกันในตลาด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเลือกดาวน์โหลดแอปของธุรกิจ เช่น แอปด้านสุขภาพของโรงพยาบาลที่เปิดให้คนสามารถประเมินสุขภาพเบื้องต้นได้ฟรีเมื่อล็อกอินครั้งแรก

ขณะเดียวกัน ธุรกิจสามารถสร้างแรงกระตุ้นผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมให้กลุ่มเป้าหมายสนใจ ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การโฆษณาผ่านโซเชียล การทำไวรัลคอนเทนต์ รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์พิเศษบางอย่างกับผู้ที่ดาวน์โหลดไปใช้งาน อาทิ การมอบส่วนลดที่นำไปใช้งานกับร้านค้าต่างๆ หรือการให้สิทธิพิเศษเมื่อมีการบอกต่อการดาวน์โหลดแอป (Referral) เช่น ได้แต้มพิเศษเมื่อแชร์การใช้งานแอปลงบนโซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้ การให้ธุรกิจเข้าไปหาลูกค้าโดยตรงเพื่อเชิญชวนให้ดาวน์โหลดแอป เป็นอีกแนวทางที่เหมาะกับบริษัทที่มีตัวแทนขาย (Agent) เช่น บริษัทประกัน ที่ให้ตัวแทนแนะนำลูกค้าดาวน์โหลดแอปของบริษัทเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบรายละเอียดของกรมธรรม์ ดูกำหนดจ่ายเบี้ยประกัน แนะนำกรมธรรม์อื่นๆ ที่น่าสนใจ หรือใช้บริการอื่นๆ

2. Active
กระตุ้นให้ใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง

การกระตุ้นให้ผู้ที่ดาวน์โหลดแอปไปแล้วใช้งานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะการใช้งานแอปมีผลต่อการเพิ่ม Customer Lifetime Value (CLV) หรือมูลค่าที่ธุรกิจคาดว่าจะได้รับจากลูกค้าแต่ละรายตลอดช่วงเวลาการซื้อสินค้าและบริการ โดยหากลูกค้าใช้งานแอปเป็นประจำ มีแนวโน้มว่ากลับมาซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจหลายครั้ง ซึ่งส่งผลให้ค่า CLV สูงขึ้น การที่รักษาลูกค้ากลุ่มปัจจุบันไว้ได้ จะช่วยให้ธุรกิจมีต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่น้อยลงด้วยเช่นกัน

สำหรับการกระตุ้นให้ผู้ใช้งานบ่อยครั้งควรมาจากการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดี ผ่านการออกแบบ UX/UI Design ที่ใช้งานง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (User friendly) ตั้งแต่ขั้นตอนการล็อกอินเพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันหลายแอปปรับระบบให้ล็อกอินง่ายขึ้นผ่านการเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย เช่น Line, Facebook หรืออีเมลที่ผูกกับบัญชี Google หรือการล็อกอินผ่าน OTP แทนการต้องสมัครและกรอกข้อมูลของผู้ใช้งานใหม่ทั้งหมด

นอกจากนี้ การคิด Use case หรือฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้งานมีความสำคัญเช่นกัน โดย Gamification เป็นอีกวิธีในการเพิ่มความสนุกสนานหรือแรงจูงใจในการเข้ามาใช้งานทุกวัน แอป อี-คอมเมิร์ซ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นำ Gamification มาใช้งานอย่างชัดเจนที่สุด เช่น การทำภารกิจประจำวันในแอปเพื่อเก็บเหรียญมาแลกเป็นส่วนลด เพื่อกระตุ้นให้ล็อกอินเข้าระบบทุกวัน

3. Attachment
กระตุ้นให้แอปกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

หลังสร้างฐานผู้ใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ยังไม่ควรนิ่งนอนใจว่าผู้ใช้งานแอปจะใช้งานตลอดไป เพราะการเลิกใช้แอปอยู่ในอัตราสูงมาก โดยสาเหตุหนึ่งมาจากการหมดแรงกระตุ้นหรือความสนุกในการใช้งาน เพราะมองว่าแอปนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับตัวเองอย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อมีกลุ่มผู้ใช้งานประจำแล้ว (Active user) จึงควรผลักดันให้แอปพลิเคชันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันลูกค้าและนึกถึงธุรกิจเมื่อต้องการใช้บริการ แทนที่จะไปใช้บริการคู่แข่ง

สำหรับรูปแบบการสร้างความต้องการใช้งานในระยะยาว มีหลายวิธี ดังนี้

1. การสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty Program) โดยส่วนใหญ่จะแบ่งตามระดับของลูกค้า (Tier) เช่น Silver, Gold, Platinum เพื่อให้สิทธิประโยชน์กับลูกค้าตามระยะเวลาและมูลค่าการซื้อสินค้าและใช้บริการ เช่น ถ้ามียอดซื้อสูงกว่า จะได้รับส่วนลดมากกว่า ได้ของขวัญพิเศษ หรือสิทธิเข้าร่วม Exclusive event ของแบรนด์ เป็นต้น

2. ระบบบริการสมัครสมาชิก (Subscription) ให้ส่วนลดมากกว่าเมื่อสมัครใช้บริการรายเดือน เช่น Grab ที่มี Grab Package สำหรับบริการประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น GrabBike, GrabFood, GrabExpress หรือ JustGrab ซึ่งถ้าสมัครแพคเกจจะได้รับคูปองส่วนลดมากกว่า และเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 

เมื่อลูกค้าใช้งานแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่องในระยะยาว จะทำให้ธุรกิจได้รับข้อมูลการใช้งานของลูกค้าที่สามารถนำมาต่อยอดทางธุรกิจ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนา Customer Journey ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มยอดการขายจากสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น (Cross Selling and Upselling) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าในอดีต พบว่าลูกค้ามักซื้อสินค้าที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งธุรกิจสามารถเอาข้อมูลนี้ไปใช้ออกแบบโปรโมชันแบบ Bundle ตัวอย่างเช่น Amazon ที่มีฟีเจอร์แนะนำสินค้าที่ลูกค้ามักซื้อด้วยกัน ซึ่งอ้างอิงตามประวัติการซื้อสินค้าที่ผ่านมา สินค้าที่เคยเข้าไปดูแต่ยังไม่ซื้อ สินค้าที่เคยรีวิว และสินค้าที่ลูกค้าคนอื่นๆ สนใจ เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าในการซื้อแต่ละครั้ง และจากข้อมูลดังกล่าวของ Amazon พบว่าสามารถเพิ่มยอดขายได้ราว 35%

สุดท้ายแล้ว AAA Application Strategy เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันให้เข้าถึงลูกค้าในยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ซึ่งบลูบิคมองว่า หากต้องการให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ธุรกิจควรวางกลยุทธ์ที่คิดมาครบทุกกระบวนการ ตั้งแต่

การวางคอนเซ็ปต์และกลยุทธ์เพื่อพัฒนาแอป (Application Concept & Strategy) ที่คิดจากเป้าหมายของธุรกิจ รวมถึงมองจากความต้องการใช้งานของลูกค้าและสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดี ไปจนถึงคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนพัฒนาระบบใหม่ (ROI)

แนวทางการขยายฐานผู้ใช้งาน (Application User Acquisition) ผ่านการวาง Go-to-market Strategy (G2M) ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดเมื่อธุรกิจต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ หรือพัฒนาสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาแอปพลิเคชันที่คืบหน้ารวดเร็ว (Agile Development) ที่ไม่เพียงช่วยออกผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น แต่ยังมีคุณภาพและความเสถียร สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไว

– การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างเทคโนโลยี (Application Modernization) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศให้ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในปัจจุบัน และรองรับการพัฒนาและเชื่อมต่อกับระบบใหม่ๆ ในอนาคต

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทฯ สามารถศึกษารายละเอียด และติดตามข่าวสารผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่ Facebook Bluebik Group และ LinkedIn Bluebik Group.