fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

Why Implementation Fail and How to Avoid It ?

EP1: Scope Creep What does Scope Creep mean in project management ? Scope creep is the term used to describe situations when changes or additional features are made to the project scope and are uncontrollable, which affect project budgets and timeline as well as causing project failure. These can occur when the scope is not well defined and the project lacks management practices. 3 Nightmares Caused by Scope Creep Project Burnout Project burnout is a state of physical and mental exhaustion when workload continuously exceeds capability level for a long time. Scope creep directly increases the problem because changes and additional features are works which have not been agreed upon since the beginning of the project and team members are forced to work overtime to succeed the milestone in the time that was originally scheduled. Never-Ending Project Never-ending project is a state of the original scope and objectives are recommit incessantly. This problem normally o...

จุดตายในองค์กร ฉุด Agile ไปไม่ถึงฝั่งฝันความสำเร็จ

เมื่อแนวคิดการทำงานแบบ Agile เป็นกระแสนิยมที่องค์กรน้อยใหญ่ต่างมุ่งเข้าหา ด้วยความหวังว่าจะใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้พร้อมรับกระแสความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันที่ถาโถมอย่างรวดเร็ว แต่บางกรณีกลับพบว่า องค์กรที่หยิบ Agile ไปประยุกต์ใช้ แทนที่จะพุ่งทะยานสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว กลับเกิดภาวะสะดุดหล่ม ถึงจะเร่งเครื่องสุดแรงอย่างก็ไม่ถึงเส้นชัยโดยง่าย สาเหตุแห่งความล้มเหลวที่พบได้บ่อยนั้น ไม่ได้เป็นเพราะแนวคิด Agile แต่เกิดจุดบอดที่ซุกซ่อนอยู่ในองค์กรนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการขาดแรงผลักดันและความเข้าใจจากระดับบริหาร วัฒนธรรมองค์กรและทัศนคติของพนักงาน รวมถึงโครงสร้างองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อนำ Agile ไปใช้จึงเปรียบเสมือนมีแนวคิดที่ดี แต่ขาดแรงหนุนเกื้อที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ใครๆ ก็อยากนำไปใช้ไม่ให้ตกเทรนด์ แต่ด้วยความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือยังคลาดเคลื่อน ไปคิดว่าแนวคิดนี้มุ่งตอบสนองจุดมุ่งหมายบางอย่างเท่านั้น ทำให้องค์ประกอบระหว่างทางที่เป็นหัวใจหลักของแนวคิดนี้ถูกบิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ Agile ไม่ได้ปล่อยพลังของตัวเองอย่างเต็มประสิทธิภา...

Design Thinking : 5 กระบวนการคิดที่ UX Designer ควรมี

จริงแล้วต้องบอกก่อนว่า คำว่า UX Designer ถ้าคนได้ยินคำว่า Design ก็คงไม่พ้นคำว่า ‘สวยงาม สีสัน’ หรืออะไรที่มันเห็นแล้วว้าว แต่จริง ๆ แล้ว UX Designer เป็นตำแหน่งที่ใช้กระบวนการคิดมากกว่าลงมือทำเสียอีก เรียกง่าย ๆ คำว่า Design สำหรับ UX คือ ‘กระบวนการคิด ออกแบบการใช้งาน’ มากกว่าความสวยงามด้วยซ้ำ ซึ่ง Step 1 ที่เราจะเตรียมตัวเป็น UX คือ Design Thinking เป็นเหมือนขั้นตอนการทำงานของพวกเรา ก่อนจะที่เริ่มงาน เราอาจจะต้องใช้เวลาคิดเป็นขั้นเป็นตอนถึง 5 ขั้นตอนนี้เลยละ ภาพ 5 ขั้นตอนของ Design Thinking | ref: https://www.interaction-design.org/literature/article/5-stages-in-the-design-thinking-process เห็นภาพรวมแล้ว เราลองมาลงรายละเอียดแต่ละขั้นตอนดีกว่า ว่าเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไงบ้าง 1. Empathize ขั้นตอนแรกของ Design Thinking ก็คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน ‘Empathy (การเข้าอกเข้าใจ)’ คือกระบวนการที่ หยิบปัญหา, ความสนใจ หรือพฤติกรรมของ User (ผู้ใช้งาน) มาเป็นจุดโฟกัสในการทำความเข้าใจ ขั้นตอนนี้จะเป็นเหมือนการสังเกตและการถามผู้ใช้งาน  สิ่งที่ผู้ใช้คิดสิ่งที่ผู้ใช้พูด...

สร้างสมดุลอย่างไร ระหว่าง Personalization กับ Privacy

ในยุคที่สินค้าและบริการมีตัวเลือกหลากหลาย การตลาดแบบ Mass Marketing ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อีกต่อไป จึงเป็นโอกาสของการตลาดแบบ Personalized Marketing ที่จะได้เฉิดฉาย เพื่อปิด Pain Point บางอย่างในใจของลูกค้า แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ เมื่อมีข้อดีคือสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างโดนใจ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคลที่แสดงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของลูกค้าโดยละเอียด ดังนั้นการสร้างสมดุลระหว่างการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์กับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้าจึงมีความสำคัญ 3 ขั้นตอนในการทำ Personalized Marketing อย่างเหมาะสม โดยต้องเริ่มจากการปรับ Mindset ของคนในองค์กร (People) ว่าการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทุกครั้งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานจริยธรรม เปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็นกับบุคคลที่ควรต้องรู้ พร้อมทั้งบูรณาการการทำงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Process) และสุดท้ายคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการคัดเลือก จัดเก็บ และตรวจสอบข้อมูล (Technology) เพื่อลดจำนวนแรงงานซึ่งเป็น Fixed Cost ในการทำธุรกิจ พ....

Deep Reinforcement Learning แบบไม่ Deep

ในบรรดา subfields ของ machine learning ณ ตอนนี้คงไม่มีอะไรที่กำลังเป็นกระแสมากไปกว่า reinforce-ment learning อีกแล้ว (ต่อไปจะขอเรียกย่อว่า RL) ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปซัก 2-3 ปีที่แล้ว ตำแหน่งนี้ยังคงเป็นของ deep learning อยู่เลย ชัดเจนว่าโลกเปลี่ยนเร็วแค่ไหนกัน บทความนี้ตั้งใจเล่าแบบง่ายๆให้คนที่พอมีพื้นเกี่ยวกับ machine learning มาบ้าง ได้เข้าใจว่า RL คืออะไร แล้ว fit in อยู่ตรงไหนใน field ของวิชานี้ Supervised, Unsupervised and RL คงไม่ขอ deep dive มากใน 2 อันแรก Supervised คือ เรารู้ค่าของ output variables ส่วนถ้าเป็น Un-supervised คือ เราไม่รู้ ในขณะที่ RL นั้น บางตำรากล่าวว่าเป็นลูกผสมระหว่าง Supervised กับ Unsupervised แต่ในมุมมองส่วนตัวแล้ว RL เป็นอีก learning paradigm ที่อยู่คนละ setting กับสองอันแรกโดยสิ้นเชิง เพราะใน 2 แบบแรกตัว model อย่างน้อยต้องผ่านการ training ก่อนที่จะนำไป implement ใน real environment (ขอเรียกย่อว่า env) ในขณะที่ RL คือตัว model เรียนรู้ใน env เลย โดยที่ agent (ตัว model) ใส่ action (input) เข้าไปใน env (function ที่ map ระหว่าง input กับ outpu...

Change Management กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงที่องค์กรไม่ควรมองข้ามในยุค Digital Transformation

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การอุบัติขึ้นของโรคโควิด-19 ได้ส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่าเราไม่สามารถหลบเลี่ยง “การเปลี่ยนแปลง” ไปได้เลย คนทั่วโลกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา เช่น การเรียนออนไลน์ การอุปโภคและบริโภคสินค้า การใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลและการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เป็นต้น ในขณะที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรและรูปแบบการทำธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลายองค์กรอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้าและกระบวนการทำงานหลังบ้าน โดยมีเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิตอล ถึงแม้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่า “Digital Transformation” เป็นวิธียอดนิยมที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทั้งในแง่ของการพัฒนาสินค้าและบริการ เพิ่มโมเดลธุรกิจเพื่อลุยตลาดใหม่ ตลอดจนการพลิกฟื้นธุรกิจจากขาดทุนเป็นกำไร แต่ในทางกลับกัน หลายองค์กรทั่วโลกว่า 47% กลับพบกับความล้ม...

Special Purpose Maps แผนที่นั้นสำคัญไฉน “หลงทางเสียเวลา หลงเธอขึ้นมาเสียอะไร”

แผนที่นั้น สำคัญไฉน“หลงทางเสียเวลา หลงเธอขึ้นมาเสียอะไร”สมหญิงขมวดคิ้วเมื่อได้ยินประโยคนี้จากสมชาย เธอขยับแว่นหนึ่งกรุบ แล้วหันไปตอบอย่างเรียบเฉย“ทำไมหลงทาง ไม่รู้จักใช้ Google Maps เหรอ”แน่นอนว่าสมชายและผู้ใช้งานกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ไม่ใช่แค่รู้จัก Google Maps แต่อาจจะถึงกับขาดแอปพลิเคชันนี้ไม่ได้เลยทีเดียว เมื่อต้องออกจากบ้านเดินทางไปยังจุดหมายที่ไม่คุ้นเคยในแต่ละวัน “แผนที่” คือการจำลองเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งต่างๆ แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจใช้เส้น สี รูปทรงสัณฐาน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาอธิบายความเชื่อมโยงนั้นๆ ส่วนใหญ่วาดบนพื้นผิวราบเรียบ โดยพื้นที่ๆ หยิบมาใช้อาจเป็นได้ทั้งพื้นที่จริงหรือพื้นที่เสมือนซึ่งจินตนาการขึ้นมาก็ได้ เช่น แผนที่เกมซึ่งสร้างบนอาณาจักรสมมติ หรือบางเกมอย่างโปเกม่อน โก กลับเลือกอิงพิกัดจากแผนที่จริงในโลก ย่อลงมาอยู่ในการเล่นบนจอสมาร์ทโฟน เปิดทางให้เรามีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโลกของเกมกับภูมิประเทศของจริง Google Maps เป็นตัวอย่างแผนที่อำนวยความสะดวกให้ชีวิตที่แพร่หลายที่สุดในยุคดิจิทัล แต่หากย้อนอดีตกลับไปในอดีต เราจะพบว่าชาวบาบิโลน...

การใช้งานของ Metaverse ในโลกของความเป็นจริง

Smart city (เมืองอัจฉริยะ)  เนื่องจากโลกจำลองมันถูกนำมาคู่ขนานกับโลกแห่งความเป็นจริง เนื่องจาก Metaverse มันใช้คุณสมบัติของเทคโนโลยี digital twin ดังนั้น มันหมายความว่า มันสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาสร้าง Smart city ผสมผสานไปพร้อมๆกับโลกแห่งความเป็นจริงได้เลย โดยที่สามารถ capture ข้อมูลในเมืองต่างๆ เช่น ผู้คน รถยนต์ สิ่งของ และพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในโลกเสมือนได้ ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพของการใช้งานจัดสรรพื้นที่ต่าง ๆ เช่น เรา mapping พื้นที่ความเป็นจริงเข้าไปในโลกออนไลน์ เราก็จะสามารถได้ วิเคราะห์ ทำนายได้ว่า เราได้ใช้พื้นที่ ทรัพยากรต่าง ๆ คุ้มค่าแล้วหรือยัง รวมถึงปรับปรุงการบริหารจัดการต่างๆในเมืองได้ ท้ายที่สุดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิให้กับประชาชน สื่อบันเทิง และ อุตสาหกรรมเกม เนื่องจากเราสามารถทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวมันสามารถมีการตอบสนองต่อกันได้ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับตัวผู้ใช้งาน ซึ่งมันจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการเล่น ซึ่งจะเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน ความสามารถในการเล่น และความสนุกสนานที่เพิ่มขึ้นด้วย การทำงานแบบ remote, การพบปะกันในโลกเสมือน ภายใต้ผลกระทบอันเกิดจากโรคโ...

อัปเดตความก้าวหน้าล่าสุดของ Metaverse

นโยบายขององค์การแห่งชาติ และองค์การระหว่างประเทศ ในแต่ละประเทศและองค์การระหว่างประเทศ จะมีทัศนคติต่อ Metaverse ที่แตกต่างกัน และเนื่องจากในระบบเศรษฐกิจของ Metaverse พื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการจัดการเหรียญ (token economy) ที่ทำงานบนระบบ Blockchain ซึ่ง Blockchain คือเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดสำหรับสกุลเงินดิจิตัล ดังนั้น เรามาดูนโยบายในด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และสกุลเงินดิจิตัล ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence), interactive technology, cloud computing และ edge computing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คอยสนับสนุน Metaverse  สหรัฐอเมริกา: หน่วยงาน ONC (Office of the National Coordinator for Health Information Technology) ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงสาธารณะสุขและมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา จัดงานวิ่งมาราธอนที่พัฒนาโดยแฮกเกอร์ด้านสุขภาพ เพื่อที่จะนำเทคโนโลยี blockchain ไปใช่กับภาคส่วนของการดูแลสุขภาพ ฝ่ายบริหารของรัฐสภาในนามของทรัมป์เห็นถึงศักยภาพของ blockchain และได้ทำการจัดทั้งทีมพัฒนา blockchain ในส่วนของภาครัฐขึ้น นอกจากนี้ รัฐส...

สะเดาะกุญแจแห่งความกลัว สู่การอุดช่องโหว่ภัยคุกคามไซเบอร์

องค์กรยุคใหม่มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้นจากการหันไปขยายขอบเขตการดำเนินงานบนโลกออนไลน์ ซึ่ง “ความน่ากลัว” ก็คือหลายองค์กรมักมองโลกดิจิทัลเพียงด้านเดียว ในแง่การเป็นโอกาสขยายธุรกิจและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ โดยลืมไปว่าในโอกาสย่อมมีความเสี่ยงแฝงอยู่ รายงานจาก World Economic Forum ระบุว่า เกือบ 80% ขององค์กรที่มุ่งขยายการดำเนินงานเข้าสู่โลกดิจิทัล ยังไม่มีมาตรการรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพียงพอ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้อาชญากรรมไซเบอร์ยิ่งทะยานสูงขึ้น คาดการณ์ว่าตัวเลขความเสียหายทั่วโลกจะอยู่ที่ 180 ล้านล้านบาทต่อปี ภายในปี 2564 และขึ้นไปแตะระดับ 315 ล้านล้านบาทภายในปี 2568 ขณะที่ต้องใช้เวลาถึง 280 วันในการสืบหาต้นตอและจัดการภัยคุกคาม อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกู้คืนข้อมูลสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการป้องกันเกือบ 10 เท่า ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มความปลอดภัยให้ธุรกิจผ่าน “กุญแจ 3 ดอก” ที่จะมาช่วยอุดช่องโหว่ ลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ กุญแจดอกที่ 1 บุคลากร : จุดอ่อนสำคัญที่กลายเป็นเป้าโจมตีหลักของแฮกเกอร์ ทำให้อง...