fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

3 ปัจจัย 10 สาเหตุทำ Digital Transformation ล้มเหลว

ทุกธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยน องค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลด้วยการเปิดรับและให้บริการลูกค้า ช่องทางดิจิทัลอย่าง เว็บไซต์แอพพลิเคชั่น มือถือโซเชียล มีเดียบริการดิจิทัล เช่น Digital Banking, Digital Insurance, Virtual Assistant รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เช่น AI, Big Data, Paperless Workflow เป็นต้น ซึ่งทุกองค์กรทราบดีว่า การประสบความสำเร็จในเรื่อง Digital Transformation จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลต่อกำไร และอัตราการขยายตัวทางธุรกิจในที่สุด แต่การทำ Digital Transformation ไม่ใช่เพียงแค่ซื้อเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจ เพราะมีความซับซ้อนละเอียดอ่อนมากกว่า ทั้งในด้านรูปแบบการดำเนินธุรกิจ กระบวนการทำงาน บุคลากร รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กร ล้วนได้รับผลกระทบและต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน และนั่นทำให้กว่า 50% ขององค์กรต้องเผเชิญกับความล้มเหลวจากการทำ Digital Transformation 10 สาเหตุของควา...

10 November 2020

“Win-back” กลยุทธ์ช่วยปิดการขาย ขับเคลื่อนด้วย AI และ Big Data

“เพราะยอดขายที่เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดจากการตัดสินใจซื้อตั้งแต่ครั้งแรกเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดจากกลุ่มลูกค้าที่หลุดหายไปได้เช่นกัน” หากจะกล่าวถึงขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจ คงหนีไม่พ้นกระบวนการขาย เพราะนอกจากจะสร้างรายได้ให้บริษัท ยังเป็นการเปิดโอกาสให้รู้จักตัวตนและทำความเข้าใจในพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าผ่านปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกันจนนำมาสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจในที่สุด อย่างไรก็ตาม ในขณะที่กระบวนการขายดำเนินไปตามปกติ แต่ก็มีกลุ่มลูกค้าอยู่จำนวนไม่น้อยที่หลุดหายไประหว่างทาง เช่น กลุ่มลูกค้าที่เคยติดต่อสอบถามเข้ามา เคยลงทะเบียนหรือสั่งจองไปแล้ว แต่กลับไม่มีกิจกรรมการซื้อขายเกิดขึ้น แล้วธุรกิจจะทำอย่างไรให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวที่ครั้งหนึ่งเคยแสดงท่าทีสนใจและถือว่ามี potential ที่จะซื้อสินค้าหรือใช้บริการกลับมาเข้ามาสู่กระบวนการขาย (Sale funnel) ได้อีกครั้ง จนสามารถปิดการขายได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่โดยตรงของระบบการทำงานหรือหน่วยงานที่มีชื่อว่า ทีม Win-back (Sale funnel) Win-back ง่ายขึ้...

ไขความลับบริษัทนวัตกรรม แค่สินค้าปังครั้งเดียวยังไม่พอ

เคยสงสัยบ้างหรือเปล่าว่า ทำไมเวลาพูดถึงบริษัทระดับโลกที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำ ชื่อบริษัทเหล่านี้มักปรากฏขึ้นมาในหัวเราก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็น Apple, Alphabet, Amazon, Microsoft และ Samsung นอกจากบริษัท 5 แห่งข้างต้นแล้ว เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เราเห็นบริษัทต่างๆ โดดเด่นมากขึ้นในเรื่องนวัตกรรม เช่น JD.com, Novartis, Bosch และอีกมากมาย อะไรทำให้บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการเป็นองค์กรนวัตกรรมล้ำสมัยตามข้อมูลจาก Visual Capitalist ซึ่งอ้างอิงจากรายงาน The Most Innovative Companies Of 2020 ของ BCG โดยสำรวจจากผู้บริหารองค์กรทั่วโลก 2,500 ราย พบจุดร่วมบางอย่างที่เหมือนกัน 3 ข้อ 1) ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมความสำเร็จด้านนวัตกรรมเริ่มต้นจากการให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว โดยรายงานระบุว่า 60% ของบริษัทที่ติดอันดับองค์กรนวัตกรรมล้ำสมัยที่สุด ให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนานวัตกรรมเป็นลำดับแรกๆ แล้วคำถามต่อมาคือ ควรให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนานวัตกรรมในส่วนไหน โดยบริษัทที่นับว่ามีนวัตกรรมล้ำสมัย เน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Advanced Analytics) ซึ่งเป็นการสร้างโมเดลเพื่อคา...

22 October 2020

Design Thinking เบื้องหลังสู่การครองใจผู้บริโภคของธุรกิจระดับโลก

"อันที่จริงแล้ว ผู้คนไม่ได้ซื้อสินค้าอีกต่อไป พวกเขาซื้อประสบการณ์ที่มีความหมายกับตัวเอง ซื้อโซลูชั่นที่เป็นไปได้จริง ซึ่งช่วยยกระดับให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น และส่วนใหญ่แล้ว คนเราซื้อเรื่องราวที่มากับตัวสินค้าต่างหาก" คำพูดด้านบนคือสิ่งที่ Mauro Porcini ได้กล่าวเอาไว้เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่ง Chief Design Officer คนแรกของ PepsiCo โดย PepsiCo คือบริษัทหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มยอดขายได้ถึง 80% ภายในเวลา 12 ปี ด้วยการใช้วิธีคิดแบบ Design Thinking หากสรุปแบบสั้นๆ Design Thinking เป็นกลยุทธ์หรือกระบวนการในการออกแบบงาน โดยคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมและดีที่สุดในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้นอย่างสร้างสรรค์ รวมไปถึงช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในอนาคต สำหรับ PepsiCo จุดเริ่มต้นของการทำให้ Design Thinking กลายมาเป็นกลยุทธ์องค์กร มาจากคำถามที่ Indra Nooyi CEO ของบริษัทถามตัวเองว่า "สินค้านี้กำลังพูดอะไรกับเราอยู่" ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีที่ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับสินค้า ตั้งแต่การวางคอนเซ็ปต์ การวางขายสินค้าจริง ไปจนถึงการสร้า...

22 October 2020

เมื่อต้องทำ Digital Transformation องค์กรจะทำอย่างไรให้พนักงานพร้อม

ในยุคนี้ ทุกองค์กรต่างมุ่งไปสู่การนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับกระบวนการและประสิทธิภาพการทำงาน หรือที่เรียกกันว่า “Digital Transformation” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่การทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยบรรดาผู้บริหาร 750 รายทั่วโลก ที่ให้สัมภาษณ์กับ The Economist Intelligence Unit (EIU) หน่วยงานวิจัยธุรกิจ ในเครือเดียวกับ The Economist นิตยสารธุรกิจชื่อดัง มองว่า นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการดำเนินการแล้ว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานพร้อมเปิดรับการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีใหม่ๆ มีความสำคัญไม่แพ้กัน แล้วธุรกิจจะทำอย่างไรให้สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ได้? 1. สร้างแรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยี อาจเริ่มต้นด้วยขยายขอบเขตการประเมินพนักงาน ด้วยการให้คะแนนเพิ่มกับพนักงานที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยทำงาน ควบคู่ไปกับการทำให้เทคโนโลยีอยู่ใกล้ตัวพนักงานมากขึ้น เช่น การใช้ Kahoot ซึ่งเป็นเกมตอบคำถามออนไลน์ในการทำ workshop ภายในองค์กร รวมถึงใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นที่ทำให้พนักงานทำงานได้ง่ายขึ้นและทำงานจากที่...

21 October 2020

Cloud Computing ตัวช่วยสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ

Cloud Computing ตัวช่วยสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ไวและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลงให้มากที่สุด เพื่อสร้างโอกาสการขยายตัวใหม่ๆ Cloud Computing เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สามารถสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ เนื่องจากช่วยลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นของตนเอง (On-Premise) อีกทั้งช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลรักษาระบบ ที่สำคัญช่วยประหยัดเวลาและยังมีความยืดหยุ่นด้านค่าใช้จ่าย สำหรับข้อดีในการนำเทคโนโลยี Cloud computing มาปรับใช้กับธุรกิจ ประกอบด้วย 🔹Cost Efficiency: บริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์แบบเดิม ที่ปกติช่วงเริ่มต้นการใช้งานมีคนใช้บริการน้อย ทำให้ไม่เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) แต่ระบบ Cloud จะมีค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ใช้งานจริง คือใช้แค่ไหนจ่ายเท่านั้น 🔹Shortened time to market: เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดได้เร็ว รวมทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบเอง เพราะธุรกิ...

ทำงานให้ง่ายขึ้นด้วย “Kanban Board”

ทำงานให้ง่ายขึ้นด้วย "Kanban Board" ในช่วงที่งานท่วมท้นจนไม่รู้จะจัดการอย่างไร แม้หอบงานกลับไปทำที่บ้านหรือกระทั่งปั่นงานในช่วงวันหยุดพักร้อนแล้วก็ตาม แต่ปริมาณงานยังคงไม่หมดสิ้นลง วันนี้ เราเลยจะมาแนะนำวิธีช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น และช่วยให้เราโฟกัสงานตรงหน้าได้ดีขึ้น ที่เรียกว่าการทำ "Kanban Board" โดย Kanban อ่านว่า คัมบัง เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แปลตรงตัวว่ากระดานหรือกระดาษที่เขียนข้อความ แต่ในแง่การทำงานจะหมายถึง "ป้ายคำสั่ง" ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำตอนไหน และทำอย่างไร โดย Kanban Board เป็นวิธีการคิดและพัฒนาขึ้นโดยวิศวกรของ Toyota เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์ และใช้กันมาตั้งแต่ช่วงปี 1940 สำหรับการทำ Kanban Board เพื่อใช้งานเอง ใช้อุปกรณ์เพียง 2 อย่างคือกระดานไวท์บอร์ด และกระดาษ post-it จากนั้นตีตารางแบ่งประเภทงาน หรือถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่ว่ามานี้ จะทำเป็น Digital Kanban Board ก็ยังได้ โดยเราสามารถแบ่งงานคร่าวๆ ตามลำดับความก้าวหน้าของงานเป็น 5 ช่อง Backlog: งานที่เข้ามาใหม่On Deck: งานที่วางแผนไว้ว่าจะทำ เช่น จะทำด้วยวิธีไหน ใช้เวลาเท่า...

21 October 2020

ข้อดีของการทำงานแบบ Agile ในยุคดิจิทัล

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลยุค องค์กรที่จะอยู่รอดไม่ได้วัดกันที่ขนาดอีกต่อไปแต่ต้องวัดกันที่ความเร็ว ตามคำกล่าวที่ว่า โลกปัจจุบันเป็นโลกของ "ปลาเร็วกินปลาช้า" และไม่มี "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" อีกต่อไป ดังนั้นหลายองค์กร จึงพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยนำแนวคิดการทำงานแบบ 'Agile' เข้ามาปรับใช้ หากกล่าวแบบรวบรัด Agile เป็นหลักการทำงานขององค์กรให้มีความยืดหยุ่นจนสามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามคำกล่าวที่ว่า "Fail fast, fail often" คือการผลักดันให้เกิดผลงานออกมาก่อน ถึงแม้อาจจะมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่จะความผิดพลาดนั้นจะสามารถได้รับการแก้ไขและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายองค์กรเริ่มหยิบยกการบริหารแบบใหม่ที่เน้นความคล่องตัว แบบที่เรียกว่า Agile methodology เข้ามาใช้ในการบริหารการทำงานแบบทีมที่เรียกว่า Agile squad เพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลงด้วยการลด Silo หรือการทำงานแบบซ้ำซ้อนที่เกิดจากแยกส่วน ให้เกิดเป็นการทำงานเป็นทีมที่ประกอบบุคลากรจากหลายสายงาน และแบ่งงานในการส่งมอบออกเป็นทีละชิ้น เพื่อให้สามารถรับมือ...