fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

‘5G’ เครื่องมือใหม่แห่งวงการค้าปลีก

           คลื่นความถี่ 5G นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เข้ามาจะพลิกโฉมกระบวนการทำงานของภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันของเราไปอย่างสิ้นเชิง ความเปลี่ยนแปลงที่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนหรือแกดเจ็ตไอทีต่างๆ ที่จะมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้การดาวน์โหลด-อัพโหลดไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่ซึ่งเคยเป็นเรื่องยาก สามารถทำได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ 5G จะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตอันใกล้              สำหรับวงการค้าปลีก เทคโนโลยี Virtual Reality หรือ AR ที่มีพื้นฐานมาจาก 5G จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ให้แก่ลูกค้า ลองนึกภาพตัวคุณเองที่ไม่สามารถออกจากบ้านเพื่อไปห้างสรรพสินค้าได้ตามใจชอบในช่วงโควิด-19 แต่ยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ตามปกติ เพราะมีเทคโนโลยี AR ที่จ...

27 February 2021

Sharing Economy การทำธุรกิจแบบ Peer to Peer : Survive or Die

เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 5 - 10 ปีที่ผ่านมา กระแสธุรกิจ Sharing Economy เป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ที่มีลักษะณะการทำธุรกิจแบบ Peer to Peer (P2P) ซึ่งก็คือการจับคู่ระหว่างผู้ให้บริการที่มีทรัพย์สินหรือสิ่งของ เช่น ห้องพัก (Airbnb) รถยนต์ (Grab) ฯลฯ ที่ไม่ได้ใช้หรือมีมากเกินความจำเป็นกับผู้ใช้บริการที่มีความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ โดยการเช่า-ยืมแทนการครอบครอง โดยธุรกิจนี้ จึงสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการและในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการนำทรัพยากรที่ยังไม่ถูกนำมาใช้หรือทรัพยากรส่วนเกิน (Excess Capacity) มาจัดสรรให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เมื่อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาด ธุรกิจแบบนี้ส่วนใหญ่ต้องประกาศลดพนักงานเป็นจำนวนมากเนื่องจาก มาตรการที่หน่วยงานสุขภาพทั่วโลกได้นำมาใช้เพื่อช่วยลดจำนวนการแพร่เชื้อจากการระบาด นั่นก็คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น จากวิกฤตครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากของบริษัทและพนักงาน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นปรา...

23 February 2021

ขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่ วิสัยทัศน์ต้องมาพร้อมกลยุทธ์

คุณพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เทคนิคการแปลงวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยสามารถสรุปสาระสำคัญจากการบรรยายได้ดังนี้ โลกธุรกิจปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายเพิ่มขึ้น ทำให้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการหารายได้เพื่อความอยู่รอด แต่รู้หรือไม่ว่าการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนต้องเริ่มจากการตั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรให้ชัดเจน กล่าวคือมองตัวเองอย่างไรในอนาคตอันไกล (ระยะ 10 ปีขึ้นไป) จึงต้องพยายามปรับตัวไปในแนวทางนั้นโดยไม่หลุดจากกรอบที่วางไว้ เพื่อให้ทุกคนมองเห็นเป้าหมายขององค์กรไปในทิศทางเดียวกัน และนำมาซึ่งการขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น 3 ทางลัดในการสื่อสารวิสัยทัศน์ไปยังพนักงานทุกระดับจึงมีความสำคัญ  ตั้งเป้าหมายร่วมกันและวัดผล : ต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร ด้วยการสร้างรูปแบบกา...

17 February 2021

สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยโมเดล Customer Lifetime Value

ทำความรู้จักกับ Customer Lifetime Value (CLV) กลยุทธ์สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยการดึงลูกค้าใหม่ เอาใจลูกค้าเก่า การสร้างสรรค์สินค้าและบริการในปัจจุบัน หากใช้วิธีการออกแบบตามความพึงพอใจของผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไปแล้ว เพราะเทรนด์ของการทำธุรกิจในยุคนี้ ผู้ผลิตต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ทำทุกอย่างโดยมองจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้ตอบสนองความต้องการหรือ Pain Point ของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด เพราะเมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการของเรา แวะเวียนมาอุดหนุนบ่อยๆ จนกลายเป็นลูกค้าประจำ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ! CLV มักถูกนำมาใช้ประเมินความคุ้มค่าในการบริหารจัดการลูกค้า และเป็นตัวชี้วัดการปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ หากจะกล่าวให้ชัดก็คือ การคำนวณว่าลูกค้า 1 คน จะสามารถสร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้เท่าไรตลอดระยะเวลาที่เขาเป็นลูกค้าของเรา โดยวิธีการคำนวณมูลค่าที่ง่ายที่สุดแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ คำนวณจากข้อมูลของลูกค้ารายบุคคล ซึ่งต้องนำมูลค่าการซื้อต่อครั้ง ไปคูณกับความถี่ในการซื้อ จากนั้นจึงนำผลลั...

SOAR Analysis อีกทางเลือกหนึ่งที่มาแทน SWOT Analysis

SOAR Analysis เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ทดแทน SWOT Analysis ด้วยการวิเคราะห์จาก Strength (จุดแข็ง) Opportunity (โอกาส) Aspiration (แรงบันดาลใจ) และ Result (ผลลัพธ์) ซึ่งมีความแตกต่างจาก SWOT Analysis ที่เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นขององค์กรจากปัจจัยภายในและภายนอก แต่ไม่อาจระบุเป้าหมายหรือแนวทางในการดำเนินงานได้ ในขณะที่ SOAR Analysis ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้ผู้วิเคราะห์หรือนักกลยุทธ์มองเห็นไปถึงภาพสุดท้ายหรือผลลัพธ์ของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน SOAR Analysis คือการจัดทำ Matrix ที่แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 แกนร่วมกันได้แก่ ช่วงเวลาและปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรต่อองค์กร ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ Strength (จุดแข็ง) การวิเคราะห์หาจุดเด่นที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างและสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ BTS/MRT มีผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น Opportunity...

28 January 2021

Agile Marketing นักการตลาดต้องรู้ ยิงโฆษณาให้รวดเร็ว-ตรงจุด

ในปัจจุบัน นักการตลาดมีเครื่องมือมากมายในการโปรโมทสินค้า แต่คำถามสำคัญคือใช้เครื่องมือเหล่านั้นเต็มประสิทธิภาพหรือยัง? "Agile Marketing" คือหลักการที่จะช่วยให้ออกแคมเปญการตลาดได้รวดเร็ว และนำผลตอบรับจากผู้บริโภคไปปรับปรุงแคมเปญให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งออกแคมเปญได้ในเวลาที่เหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์ จากรายงานการสำรวจองค์กรธุรกิจชั้นนำจาก Digital.ai บริษัทให้บริการโซลูชั่นการบริหารจัดการองค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสอบถามความเห็นจากผู้บริหารและที่ปรึกษาธุรกิจจากหลายภาคอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 1,000 รายทั่วโลกเมื่อปี 2562 พบว่า องค์กรที่นำหลักการ Agile มาปรับใช้ในการทำการตลาด สามารถสร้างรายได้และยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 20 - 40% เมื่อเทียบกับการทำการตลาดแบบเดิม ขั้นตอนเบื้องต้นที่ธุรกิจสามารถนำหลักการ Agile ไปประยุกต์ใช้กับการทำการตลาด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน วางกรอบเป้าหมายนับเป็นขั้นตอนลำดับแรก โดยประกอบด้วยการตั้งเป้าหมายและวางแนวทางการทำงานเบื้องต้น ทั้งการสร้างทีมงาน วิธีการทำงานของนักการตลาดหรื...

24 January 2021

เชื่อหรือไม่ว่า!? บางบริษัทใช้ SWOT analysis เพียงแค่ “S” และ “W” เท่านั้น

จาก SWOT analysis ที่เราเคยศึกษากันมา 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง) เพื่อใช้วิเคราะห์สถานภาพขององค์กรและการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งการหาโอกาสในอนาคต แต่วันนี้เราจะมาเล่าถึงอีกแนวคิดหนึ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนจาก SWOT analysis เหลือเพียงแค่ "S" Strength และ "W" Weakness เท่านั้น แต่สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ "C" มาจาก "Competitor" หรือที่เรียกว่า "SWC" Strength "หาจุดแข็ง" ให้เจอWeakness "วิเคราะห์จุดอ่อน" ให้ออกCompetitor "รู้จักคู่แข่ง" ให้ดี ซึ่งในการวิเคราะห์นี้จะไม่เน้น O (Opportunity) และ T (Threat) แต่สนใจไปที่ C (Competitor) ในการเปรียบเทียบระหว่าง S และ W ขององค์กรเรากับคู่แข่งเพียงเท่านั้น ให้สามารถประเมินได้ว่าเรามีอะไรที่ชนะคู่แข่งหรือสิ่งใดที่จะทำให้คู่แข่งกลายเป็นเจ้าตลาดแทนเราได้ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถตอบโจทย์ได้จริงในการแข่งขันกับคู่แข่ง มากกว่าการวิเคราะห์จากโอกาสและความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้หรือเหนือความคาดการณ์ในบางครั้ง คงต้องบอกว่า SWOT analysis เป็นแ...

21 January 2021

SMEs ไทยกับปัญหาใหญ่เรื่อง “เงิน”

การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น รากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างธุรกิจ SMEs ที่คิดเป็นกว่า 90% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศและมีการจ้างงานสูงกว่า 13 ล้านคน ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากยิ่งขึ้นไปอีก จากวิกฤตโควิด หลังเผชิญคลื่น Technology Disruption ไปก่อนหน้านี้ เมื่อมองในภาพของปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของ SMEs นั้น พบว่าการเข้าไม่ถึงเงินทุนของสถาบันการเงินเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจ (Access of source of funds) การขาดความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในด้านการบริหารจัดการเงินทุน (Cash management) และการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร โดยหากแบ่งย่อยลงไปตามประเภทของ SMEs จะพบว่าแต่ละกลุ่มเผชิญปัญหาที่แตกต่างกัน 1. ME (Medium Enterprises) หมายถึงกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 50 - 500 ล้านบาท สำหรับปัญหาของ MEs คือหลักประกันไม่เพียงพอสำหรับขอสินเชื่อให้ได้วงเงินตามที่ต้องการ โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่ต้องการวงเงินสูงมาก ซึ่งจากจำนวน ME ทั้งหมด 44,290 ราย ข้อมูลจาก Bluebik Analysis พบว่ามีธ...

16 January 2021

Privacy หรือ Security ผ่านมุมมอง Digital Transformation

จากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของ Timeline ผู้ป่วย เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของทั้งตัวเองและคนรอบตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่าไม่ได้มีทุกคนที่ยินยอมจะบอกความจริงตั้งแต่ต้น และอาจจะสายเกินไปเมื่อเกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลหลายประเทศจึงเริ่มออกมาตรการในการติดตามตัวประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูล Timeline ที่แน่นอน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ อาทิ ระบบ GPS และ Bluetooth ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัว #Privacy อย่างร้อนแรง เนื่องจากเป็นทราบกันดีว่าในยุคนี้ "Data is a new oil" เราแทบไม่รู้เลยว่ากลุ่มธุรกิจหรือรัฐบาลสามารถทำอะไรกับข้อมูลของเราได้บ้าง แอปพลิเคชัน #หมอชนะ นับตัวอย่างหนึ่งของมาตรการรัฐบาลไทยเพื่อติดตามการเดินทางของประชาชนและประเมินความเสี่ยง โดยแอปฯ นี้ขออนุญาตเข้าถึงกล้อง ตำแหน่งผู้ใช้ คลังภาพและวิดีโอ รวมถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟนของเรา หลายคนจึงเกิดคำถามว่า เป็นการขอเข้าถึงข้อมูลเกินความจำเป็นหรือไม่? ...

ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่ตั้งแต่ที่จอดรถ

ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่หลังปลดล็อกดาวน์ระยะ 4 เรียกความมั่นใจให้ลูกค้าตั้งแต่ก้าวแรกเข้าใช้บริการด้วยนวัตกรรมการจอดรถอัจฉริยะหนุนไร้การสัมผัส ความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่การใช้ชีวิตไม่มีวันเหมือนเดิม เพราะยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และเพื่อให้รู้สึกถึงความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตเมื่อต้องไปสถานที่ต่างๆ มากขึ้น พร้อมแนะ 3 ธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า-โรงพยาบาล-คอนโดมิเนียม ต้องเริ่มและเร่งปรับตัวเพื่อเรียกความมั่นใจให้ผู้บริโภคและลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างไร้กังวลเรื่องความปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีระบบบริหารที่จอดรถอัจฉริยะเข้ามาช่วยให้มีการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ หรือบุคคลให้น้อยที่สุด (Contactless) ตั้งแต่ก้าวเข้ามาใช้บริการ  เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์โดยเริ่มเปิดสถานที่สาธารณะต่างๆ ให้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น แต่โควิด-19 ก็ได้สร้างความปกติในรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ (New Normal) ให้กับทุกคน เพราะต่างรู้กันอยู่แล้วว่า จากนี้ไปวิถีชีวิตประจำวันจะไม่มีอะไรเหมือนเดิม ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลชัดเจนที่ภาคธุร...