แม้ธุรกิจส่วนใหญ่ตระหนักถึงภัยคุกคามไซเบอร์มากขึ้น แต่หนึ่งในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญอย่าง ขีดความสามารถในการตอบสนองเมื่อถูกโจมตี (Incident Response – IR) กลับถูกมองข้าม ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์โจมตีหรือการละเมิดข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
รายงานของ Computing Technology Industry Association หรือ CompTIA ในปี 2567 พบว่ามีเพียงร้อยละ 37 ของบริษัททั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการวางแนวทางตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีแผนรับมือ ด้วยเหตุนี้ บลูบิค ไททันส์ จึงนำเสนอบทความเพื่อยกระดับการตอบสนองพร้อมจำกัดความเสียหายเมื่อภัยมา ให้แก่ธุรกิจผ่าน IR Best Practices ดังต่อไปนี้
13 Incident Response Best Practices
- การวางแผน IR (Build an IR Plan): การพัฒนาแผน IR โดยระบุขั้นตอนการตอบสนองที่ชัดเจน จะช่วยให้ทีมงานสามารถตอบสนองและฟื้นฟูระบบการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การปฏิบัติตามกรอบการทำงานการตอบสนองต่อเหตุการณ์: แผน IR ควรอ้างอิงกรอบการดำเนินการตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response Framework) ซึ่งมีกรอบการทำงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือจากหลายหน่วยงาน อาทิ National Institute of Standards and Technology – NIST), ISO, Information Systems Audit and Control Association – ISACA, และ SANS Institute and Cloud Security Alliance เป็นต้น กรอบการทำงานเหล่านี้ระบุแนวทางการตอบสนองและการแบ่งการทำงาน ซึ่งทีมงานสามารถพิจารณาใช้กรอบการทำงานที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร
- การปฏิบัติตาม 6 ขั้นตอนของ IR: โดยหลักการพื้นฐานทั่วไปแล้วกรอบการทำงาน IR จะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
- การเตรียมความพร้อม (Preparation): ในขั้นตอนนี้เกี่ยวกับ การสร้างและตรวจสอบนโยบายและคู่มือการดำเนินงานด้าน IR ประเมินความเสี่ยง ระบุทีมงานด้าน IR และหน้าที่อื่น ๆ เป็นระยะ เพื่อให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- การตรวจสอบ (Detection): ขั้นตอนนี้ประกอบไปด้วย การตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานและประเมินความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การควบคุม (Containment): เป็นขั้นตอนจำกัดความเสียหายและผลกระทบจากเหตุการณ์
- การกำจัด (Eradication): ในขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการกำจัดต้นตอที่ทำให้เกิดปัญหา
- การฟื้นฟู (Restoration): เป็นขั้นตอนการฟื้นฟูระบบและอุปกรณ์ให้กลับมาดำเนินการตามมาตรฐานปกติ
- การประเมินหลังเกิดเหตุ (Post-Incident Evaluation): ประกอบไปด้วยการบันทึกข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับใช้ในอนาคต
- การจัดทำคู่มือ (Create Playbook): องค์กรควรเก็บรวบรวมและจัดทำคู่มือการตอบสนองเหตุการณ์ อาทิ บันทึกขั้นตอนการตอบสนองเหตุการณ์, แนวทางการจัดการกับภัยคุกคามทั่วไป เช่น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) และฟิชชิ่ง เป็นต้น การบุกรุกเครือข่ายและการติดเชื้อมัลแวร์ ซึ่งคู่มือเหล่านี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรสามารถรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมทั่วถึงทั้งองค์กรในอนาคต
- การจัดตั้งทีมงาน (Build an IR Team): ทีมงานด้าน IR ผู้นำแผนงานและคู่มือต่าง ๆ ไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม ซึ่งขนาดและรูปแบบทีมงานนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นขององค์กร นอกจากการคัดเลือกสมาชิกแล้ว องค์กรควรระบุบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละคนในทีมด้วย โดยทีมงานด้านเทคนิค ได้แก่ ผู้จัดการ IR (IR Manager) นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัย (Security Analysts) และผู้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Responders) นอกจากนี้ยังมีทีมสนับสนุน ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายการสื่อสาร (Communications Representatives) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก (External Stakeholders) และบุคคลที่สาม ได้แก่ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน IR
- แผนการสื่อสารด้าน IR (IR Communication Plan): แผนการสื่อสารเมื่อเกิดเหตุการณ์เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทีมงาน IR สามารถแบ่งปันความรู้และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ การสื่อสารอาจจำเป็นต้องทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การอบรมทีมงาน (Train Response Personnal): สมาชิกของทีม IR จะต้องได้รับการฝึกอบรมกระบวนการด้าน IR และรับทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล การจัดอบรมจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าทีมงานพร้อมรับมือและตอบสนองเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง
- การประเมินกระบวนการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (Continuously Evaluate Processes): องค์กรจำเป็นต้องประเมิน พิจารณาและอัปเดตกระบวนการต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยอ้างอิงจาก การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที การดำเนินธุรกิจ บุคลากรและการขยายตัวของภัยคุกคามไซเบอร์ เนื่องจากแผนงานที่ล้าสมัยอาจส่งผลต่อกระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตีได้
- การตรวจสอบการบุกรุก (Hunt for intrusions): องค์กรไม่ควรรอให้เกิดเหตุ การพิจารณาใช้งานระบบตรวจจับที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเตือนให้ทีมงานทราบถึงกิจกรรมที่น่าสงสัย จำกัดความเสียหายจากภัยคุกคามได้
- การจัดทำรายงานหลังเกิดเหตุและระบุบทเรียนที่ได้รับ (Conduct Post-Incident Reporting and Identify Lessons Learned): ทีมงานควรจัดทำรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการและบทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์นั้น ๆ เพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนและวิธีการรับมือกับภัยคุกคามในอนาคต
- การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม (Choose the right Tools): ทีมงานจำเป็นต้องมีเครื่องมือ IR ที่เหมาะสม ช่วยตรวจจับ วิเคราะห์และจัดการภัยคุกคาม รวมถึงจัดทำรายงาน ด้วยเครื่องมือ IR ดังต่อไปนี้
- เครื่องมือบริหารจัดการช่องโหว่ (Vulnerability Management Tools)
- Security Information and Event Management – SIEM Systems
- เครื่องมือตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามสำหรับอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Detection and Response)
- การประสานรวมการรักษาความปลอดภัย ระบบอัตโนมัติและการตอบสนอง (Security Orchestration, Automation and Response – SOAR)
- เครื่องมือวิเคราะห์หาหลักฐาน (Forensics Analysis Tools)
- การพิจารณาใช้ระบบอัตโนมัติ (Consider Automation): ระบบอัตโนมัติ (Automation) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุการณ์ของทีมงาน ระบบ IR ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) สามารถช่วยวิเคราะห์ คัดกรองข้อมูลจำนวนมหาศาลและวิเคราะห์โอกาสเกิดเหตุการณ์ ทำให้ทีมงานมีเวลามากขึ้น สามารถให้ความสำคัญกับปัญหาและการวิเคราะห์ในส่วนงานเร่งด่วน
- การใช้บริการผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Outsource Services): หากองค์กรไม่สามารถจัดการกับ IR ได้ ควรเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก เข้ามาจัดการตรวจจับและตอบสนอง ช่วยจัดการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการบริหารจัดการวิกฤตสำหรับองค์กร
ภูมิทัศน์ของภัยคุกคามไซเบอร์และความก้าวหน้าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การป้องกันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ธุรกิจในยุคดิจิทัลกำลังเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การตอบสนองต่อเหตุการณ์และแผนปฏิบัติการเชิงรุกที่เหมาะสมกับองค์กรธุรกิจแต่ละราย เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายในขณะเดียวกันก็เพิ่มขีดความสามารถในควบคุมผลกระทบเมื่อต้องเผชิญภัยคุกคาม
บลูบิค ไททันส์ ช่วยองค์กรธุรกิจได้อย่างไร
ทีมงาน บลูบิค ไททันส์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีประสบการณ์ในด้านการจัดการกับเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่เทคนิคการโจมตี กลยุทธ์การตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาและปรับปรุงแผน IR ไปจนถึงการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับองค์กรอย่างแท้จริง
สำหรับองค์กรธุรกิจที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาเราได้ที่
✉ [email protected]
☎ 02-636-7011
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก techtarget, datalockcg