fbpx
บล็อก 23 กุมภาพันธ์ 2021

Sharing Economy การทำธุรกิจแบบ Peer to Peer : Survive or Die

เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 5 – 10 ปีที่ผ่านมา กระแสธุรกิจ Sharing Economy เป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ที่มีลักษะณะการทำธุรกิจแบบ Peer to Peer (P2P) ซึ่งก็คือการจับคู่ระหว่างผู้ให้บริการที่มีทรัพย์สินหรือสิ่งของ เช่น ห้องพัก (Airbnb) รถยนต์ (Grab) ฯลฯ ที่ไม่ได้ใช้หรือมีมากเกินความจำเป็นกับผู้ใช้บริการที่มีความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ โดยการเช่า-ยืมแทนการครอบครอง โดยธุรกิจนี้ จึงสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการและในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการนำทรัพยากรที่ยังไม่ถูกนำมาใช้หรือทรัพยากรส่วนเกิน (Excess Capacity) มาจัดสรรให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่เมื่อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาด ธุรกิจแบบนี้ส่วนใหญ่ต้องประกาศลดพนักงานเป็นจำนวนมากเนื่องจาก มาตรการที่หน่วยงานสุขภาพทั่วโลกได้นำมาใช้เพื่อช่วยลดจำนวนการแพร่เชื้อจากการระบาด นั่นก็คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น

จากวิกฤตครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากของบริษัทและพนักงาน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่เหล่าบริษัทใหญ่ ๆ ต่างช่วยกัน คือการช่วยหางานใหม่ให้กับพนักงาน และส่งต่อไปยังบริษัทอื่น ๆ แม้กระทั่งคู่แข่ง

Grab

อีกหนึ่งผู้ให้บริการรับส่งผู้โดยสาร สินค้า และอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่เป็นเจ้าใหญ่ของตลาดในประเทศไทย แม้จะยังไม่ประกาศเลิกจ้างพนักงงาน แต่มีมาตรการขอให้พนักงานหยุดงานโดยไม่รับเงินเดือน เพื่อไม่ให้กระทบการเงินของบริษัท และสามารถที่จะสามารถประคองธุรกิจต่อไปได้

Uber

ขณะที่อูเบอร์ ซึ่งเป็นเจ้าแรก ๆ ในการสร้างแพลตฟอร์มให้คนมีรถยนต์ส่วนตัว มาให้บริการรับส่งผู้โดยสารได้ ก็ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 3,700 คน หรือประมาณ 14% ของพนักงงานทั้งหมด 26,900 คน ซึ่งอูเบอร์ ก็ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อให้บริษัทอื่นๆ สามารถเข้ามาว่าจ้างคนขับรถส่วนตัวที่พร้อมให้บริการรับส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า ร่วมถึงส่งตรงไปยัง Amazon ที่ธุรกิจขนส่งที่กำลังต้องการแรงงานอย่างมากในยุคโควิด-19 … และนี่เป็นเพียงยกแรก เพราะอาจจะมีการเลิกจ้างระลอกถัดไปของอูเบอร์อีก หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

Expedia

มาต่อกับที่เว็บไซต์บริการท่องเที่ยว ที่เมื่อปีที่แล้วยังมีการประเมินว่ายังมีการเติบโตอย่างมาก ซึ่งในวันนั้น Expedia เป็นบริษัทที่มีมูลค่าถึง 600,000 ล้านบาท แต่เพียงไม่กี่เดือนผ่านมา แทบไม่เห็นอนาคตว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะสามารถฟื้นตัวอย่างไร โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวไปในต่าง ๆ ประเทศ ในแง่ของการเดินทางทางเครื่องบิน ที่พัก ซึ่งล่าสุด Expedia ในฮ่องกงและสิงคโปร์ ก็เริ่มที่จะเลิกจ้างพนักงงาน และอาจจะเลิกจ้างเพิ่มเติมในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอีก โดยคาดว่าตัวเลขพนักงานที่จะถูกเลิกจ้างประมาณ 3,000 คน

Agoda

ขณะที่คู่แข่งอย่าง Agoda ก็ประกาศออกมาแล้วว่าจะลงปรับลดพนักงงานในเอเชียลง 1,500 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้ จอห์น บราวน์ ซีอีโอ แห่ง Agoda ประกาศไม่รับค่าจ้างตลอดทั้งปี 2020 ไปแล้ว แต่ก็ช่วยได้ไม่มากนัก เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระทบหนักมาก ทั้งนี้จอห์น บราวน์ ย้ำว่าจะไม่มีการลดพนักงานเพิ่มอีก…แม้ว่าจะเป็นการสร้างกำลังใจให้พนักงาน แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์อาจจะปรับเปลี่ยนไปได้ตลอด

Airbnb

ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม Airbnb ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 1,900 คน จาก 7,500 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ง่าย เพราะการเลิกจ้างในครั้งนี้ อาจทำให้พนักงานต้องว่างงานอีกนาน ดังนั้นไบรอัล เชสกี้ ซีอีโอ ของ Airbnb ช่วยพนักงานด้วยการหางานในบริษัทอื่นรวมถึงบริษัทคู่แข่งให้กับพนักงาน ตอนนี้ เชสกี้ กำลังคิดหนักว่าจะทรานส์ฟอร์มธุรกิจอย่างไร ในเมื่อการท่องเที่ยวของโลกต้องเปลี่ยนแปลงอีกระยะใหญ่ และต้องปรับธุรกิจให้เข้าสู่ยุค New Normal ด้วย

ความหวังของธุรกิจ Sharing Economy รวมไปถึงธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสตัวร้ายในครั้งนี้ คือ “วัคซีน” ที่จะช่วยหยุดการระบาดของไวรัส และทำให้ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติให้ได้มากที่สุดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆที่เกิดขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก The Story Thailand


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bluebik ได้ที่

Website – www.bluebik.com
Facebook – facebook.com/bluebikgroup
Twitter – twitter.com/bluebik
Instagram – instagram.com/bluebikgroup
Linkedin – linkedin.com/company/bluebik