fbpx
บล็อก 3 ตุลาคม 2023

สรุปบทบาทบล็อกเชนมีผลอย่างไรต่อ Digital Wallet

ช่วงไม่นานนี้ หลายคนน่าจะคุ้นหูกับคำว่า Digital Wallet หรือ กระเป๋าเงินดิจิทัล กันมากขึ้น โดยอีกคำที่ได้รับการพูดถึงควบคู่กันมาคือบล็อกเชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสร้างความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 

วันนี้ Bluebik เลยอยากชวนไปดูมุมมองของคุณ ล็อก ภูริเชษฐ์ เทพดุสิต Director of Bluebik Nexus เกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีบล็อกเชนต่อระบบ Digital Wallet 

หากอธิบายแบบง่าย ๆ คือ บล็อกเชนเป็น database สำหรับเก็บข้อมูลนั่นเอง อย่างไรก็ตาม หากใช้ในบริบทของเงินดิจิทัล ควรใช้ Blockchain เป็นกระเป๋าเงินในการเก็บข้อมูลว่าผู้ใช้มียอดเงินคงเหลือเท่าไหร่ (account balance) และบันทึกประวัติการทำธุรกรรมของผู้ใช้ว่าใช้เงินไปที่ไหนและเมื่อไหร่ (transaction history)

แน่นอนว่าการใช้ Blockchain เป็นกระเป๋าเงินมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับใช้ระบบ database ธรรมดา เพื่อให้เห็นภาพ ขอสรุปเป็นข้อสั้นๆ คือ

1.  Technology Enables

ข้อดีของ Blockchain คือเป็นเทคโนโลยีที่เน้นความปลอดภัยและโปร่งใส ทำให้การโกงเป็นเรื่องยาก นั่นเป็นผลมาจากความสามารถในการเขียนโปรแกรมเงินดิจิทัลบนสมาร์ทคอนแทร็กท์ซึ่งทำได้ค่อนข้างง่ายและสามารถตรวจสอบได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลปกติ

แต่สิ่งที่แตกต่างมากที่สุดคือเรื่อง **Infrastructure** ซึ่งก็คือ node (หรือ validator หรือ server) ที่จะมารัน Blockchain network

ตามหลักการของ Blockchain การรัน node จะต้องเป็นแบบ Decentralized เพื่อความปลอดภัยของระบบสูงสุด เพื่อป้องกันการโจมตี ซึ่ง Decentralized คือในระบบต้องมีจำนวน node เยอะระดับหนึ่งจึงจะป้องกันการโจมตีแบบ 51% ได้ ระบบ public Blockchain เช่น Bitcoin และ Ethereum มีหลายหมื่น Node รันกระจายตามจุดต่างๆ ทั่วโลก

เปรียบเทียบกับระบบที่ไม่ใช้ Blockchain เช่น  แอพเป๋าตังค์  ที่อาจจะมี node สูงสุดที่รันเพียงไม่กี่สิบ node ในระบบ

ถ้ารัฐบาลต้องการใช้ Blockchain สำหรับเงินดิจิทัล ควรพิจารณาใช้ Private Blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยระบบยังคงมีความปลอดภัยเหมือนเดิม นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชนในการก่อตั้ง Blockchain Network และต้องมี Governance Committee จากแต่ละหน่วยงานร่วมตัดสินใจและตรวจสอบได้

แนวทางนี้คล้ายกับ Public Blockchain ที่มีกระบวนการในการคัดเลือก node ตัวอย่างเช่น Binance Chain ที่มีการคัดเลือกบริษัทต่างๆ เพื่อรัน node ในระบบ ไม่ต้องรัน node เองทั้งหมด 

จะเห็นได้ว่าการใช้ Blockchain จะมีขั้นตอนเพิ่มเติมในการจัดตั้งเครือข่ายและการบริหารระบบที่แตกต่างออกไปจากระบบธรรมดาทั่วไปที่มีแค่หน่วยงานเดียว ซึ่งการดำเนินการนี้จะใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่า แต่ก็ทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น ตรวจสอบได้มากขึ้น

2. Usability and User Experience

การใช้งาน (Usability) ของระบบกระเป๋าเงินนั้นมีความแตกต่างกันน้อยมากในมุมมองของผู้ใช้งาน

ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานระบบกระเป๋าเงินได้ ซึ่งสามารถนำแอปพลิเคชันไปใช้จ่ายตามร้านค้าที่รัฐบาลกำหนดได้ และยังสามารถดูยอดเงินและประวัติการใช้จ่ายได้อย่างปกติ

จุดเด่นอีกอย่างของ Blockchain คือการป้องกัน Double spending ดังนั้นการใช้งานไม่ควรเจอปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินแล้วเงินไม่ลดหรือหักยอดเกิน

ในเชิง User experience สิ่งที่แตกต่างจากระบบที่ไม่ใช้ Blockchain คือเรื่องค่าธรรมเนียม (Gas Fee) ที่ผู้ใช้งานต้องเป็นคนจ่ายให้กับระบบทุกครั้งที่มีการทำรายการ เป็นสิ่งที่ user จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม

นอกจากนี้ยังมีความล่าช้าในการดำเนินการทุกครั้งเมื่อมีการทำธุรกรรม เนื่องจากมีการ Block time ที่ต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลลงในระบบ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น Binance Chain มี Block time ที่ 5 วินาที ซึ่งหมายความว่าในการทำ transaction แต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 วินาที หรือมากกว่านั้นถ้ามีการใช้งานระบบจำนวนมาก เพื่อให้ระบบ Blockchain บันทึกข้อมูลในระบบ จึงทำให้มีความแตกต่างจากระบบที่ไม่ใช้ Blockchain ที่ใช้เวลาไม่กี่วินาที