fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

ออกแบบโครงสร้างองค์กร IT ให้เป็น Center of Excellence เพื่อรองรับการทำ Digital Transformation

ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ต่างตื่นตัวกับภาวะ Disruption หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและยากจะคาดเดา ซึ่งกระแส Disruption นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จนนำไปสู่การเร่งปรับโครงสร้าง รูปแบบการทำธุรกิจและการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่กลับประสบความล้มเหลวในการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด อีกทั้งยังมีปัญหาสำคัญที่องค์กรส่วนใหญ่มักละเลย คือ การปรับปรุงโครงสร้างแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ที่มักถูกมองว่ามีบทบาทเชิงรับ (Passive) โดยมีหน้าที่หลักเพียงสนับสนุน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในองค์กร แต่แท้จริงแล้วแผนก IT คือ ผู้เล่นสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาองค์กรให้สาม...

‘Cloud Architecture’ สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต เพื่อการยกระดับ IT Platform ให้ยืดหยุ่นกว่าที่เคย-รองรับการใช้งานระบบใหม่ได้ดีกว่าที่คิด

              เมื่อระบบ Cloud Computing กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่หลายฝ่ายคาดว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ เป็นโซลูชันให้กับงานระบบไอที ตั้งแต่การลดเวลาและขั้นตอนในการขยายเซิร์ฟเวอร์ (Server) ให้สามารถรองรับระบบใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และตอบโจทย์ความต้องการของทุกขนาดองค์กร แต่การใช้งานระบบคลาวน์ได้อย่างเหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพสามารถรองรับการเติบโตในอนาคตได้ จำเป็นต้องมี ‘การออกแบบ Cloud Architecture’ เพื่อดึงศักยภาพในการใช้งานตามต้องการของภาคธุรกิจและสอดรับกับสถานการณ์ที่แต่ละองค์กรต้องรับมือ               ซึ่งการออกแบบ ‘Cloud Architecture’ ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างละเอียด ตั้งแต่ การศึกษาว่าระบบคลาวน์นั้นแตกต่างจากโครงสร้างระบบเดิมขององค์กรที่มีการดูแลอุปกรณ์เอง (On-premises) ศึกษาแนวทางในการเชื่อมต่อระบบคลาวน์กับระบบเดิมที่มีอยู่ ศึกษาความต้องการใช้งานขององค์กร ศึกษาการ...

เจาะลึก “Starlink” ความหวังของคนพื้นที่ห่างไกล คุ้มไหมหากเทียบกับ Fiber Optic?

ตลอดเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า “อินเทอร์เน็ต” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก เราสามารถติดตามข่าวสาร สั่งอาหาร หรือซื้อสินค้า ได้ด้วยปลายนิ้วผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งประเภทของอินเทอร์เน็ตที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายมาเป็นระยะเวลานานจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า “Fiber Optic Internet (FTTx)” หรืออินเทอร์เน็ตที่รับ-ส่งข้อมูลผ่านใยแก้วนำแสงที่เชื่อมต่อทุกทวีปทั่วโลกเข้าด้วยกันนั่นเอง แผนที่ของเส้นใยแก้วนำแสงใต้สมุทรที่เราใช้สำหรับรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน Source: https://www.infrapedia.com/app จนกระทั่งปี 2015 SpaceX บริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจด้านการขนส่งทางอวกาศ ของอีลอน มัสก์ ก็ได้แนะนำให้โลกรู้จักกับ “Starlink” บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรก ซึ่งในปี 2022 ใครหลายคนคงมีโอกาสได้ยินชื่อ Starlink ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ มาพอสมควร บทความนี้ Bluebik จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ Starlink ให้มากยิ่งขึ้น Starlink คืออะไร? Starlink คือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม จากบริษัท SpaceX ซึ่งได้ม...

4 ความท้าทายใหม่ที่ CIO ต้องรับมือในปี 2022

ปัจจุบัน ระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นหนึ่งในกลไกหลักที่ใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจตามที่ได้วางไว้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้บริหารในสายงานไอที ‘Chief Information Officer (CIO)’ ในยุคนี้จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการวางแผนธุรกิจ โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลและกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไอที รวมถึงการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในเลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับองค์กร  สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี ทำให้บุคลากรในตำแหน่ง CIO ต้องตื่นตัวกับเทรนด์ใหม่ๆ และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สอดรับกับผลสำรวจที่ทาง ‘บลูบิค’ โดย 'คุณเต้ย Associate Director จากทีม Strategic PMO' ได้รวบรวมจากความคิดเห็นของผู้นำองค์กรระดับแนวหน้าด้านไอที ที่ระบุถึง 4 ความท้าทายใหม่ที่เข้ามาทดสอบความสามารถของ CIO ในปี 2022 ได้แก่  การจัดลำดับความสำคัญทางด้านเทคโนโลยี แน่นอนว่า...

15 July 2022

Why Project Implementation Fail and How to Avoid It?

EP2: Poor Communication What does poor communication mean in project management? Poor communication is the term used to describe situations when there is a discrepancy between what is said and what is heard and understanding is no longer mutual. This can occur when communication approaches and tools are not well established. 3 Nightmares Caused by Poor Communication Never-Ending Meeting Never-ending meeting is a state of the project team spending too much time on a meeting but getting very poor outcomes. This problem normally occurs when the meeting is not well organized, lack of agenda, key takeaway, supporting information, and key persons. The effect is that the team members may be confused from irrelevant information and have less time for working on other activities. Rework from Misunderstanding Rework is referred to as the unnecessary effort of redoing a process or activity that was incorrectly implemented in the first instance. One of the major reasons...

กระชับความสัมพันธ์ภายในองค์กร วิธีดึงกลุ่ม Talents ให้อยู่กับองค์กร

ทีมเป็นส่วนสำคัญมากในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี และกระตุ้นประสิทธิภาพของการทำงาน อีกทั้งยังเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันของคนทำงาน และแรงดึงดูดให้ยังอยู่กับองค์กร ซึ่ง Bluebik ในฐานะองค์กรคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญเรื่องคนและความเป็นอยู่ จึงอยากมาแชร์ไอเดียและความรู้ 4 ข้อ ที่องค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ของคนในทีมเพื่อดึงกลุ่ม Talents ให้อยู่กับองค์กร  1. การสื่อสารที่สม่ำเสมอ การสื่อสารที่สม่ำเสมอเป็นรากฐานของกลยุทธ์ในการสร้างทีมที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่ว่าพนักงานทุกคนจำเป็นต้องรู้ทุกอย่างที่บริษัทกำลังทำ แต่สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องเข้าใจถึงความสำคัญ เป้าหมาย และกลยุทธ์ของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารภายในองค์กรที่ทำให้ทุกคนทราบดีว่า "มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง" ซึ่งนอกจากการจัดประชุม หรือกิจกรรมต่างภายในทีมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์แล้ว หลายองค์กรมีการจัด Townhall เพื่อให้ CEO หรือกลุ่มผู้บริหารได้มีโอกาสอัปเดตแผนธุรกิจ และพูดคุยอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มพนักงาน รวมถึงอาจทำเป็น Monthly Mingle หรือนิตยสารรายเดือนสัมภาษณ์คนในองค์กร เป็นเกล็ดความสนุกเล็กน้อยๆ ในองค์ก...

เจาะลึกข้อผิดพลาดในแต่ละขั้นตอนของ SDLC ที่นักพัฒนา Software ต้องรู้

‘ไม่มีใครอยากทำงานผิดพลาด’ แต่บางครั้งปัญหาหรือข้อผิดพลาดก็มาทั้งในรูปแบบ เส้นผมบังภูเขา หรือ แบบเข็นครกขึ้นเขา จนยากที่จะรับมือ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) ทำให้กระบวนการทำงานสะดุดล่าช้า ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และอาจทำให้งานที่ออกมาไม่ได้คุณภาพและส่งผลเชิงลบต่อองค์กรในที่สุด ด้วยเหตุนี้ บลูบิค จึงได้รวบรวม 6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในแต่ละขั้นตอนของการทำ Software Development Life Cycle (SDLC) ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมเมอร์ต้องรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างราบรื่น สามารถส่งมอบงานได้อย่างมีคุณภาพสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่วางไว้  1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการวางแผนและกำหนดว่า การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software: SW) นี้ ใครจะเป็นผู้ใช้งานและรูปแบบเป็นอย่างไร โดยมีการระบุอย่างชัดเจนถึง กรอบเวลา (timeline) ขอบเขตของงาน (Scope of Work) ความต้องการทางธุรกิจ (Business Requirement) ข้อมูลสำคัญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) มีใครบ้าง  ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย   ด้า...

กำจัดจุดอ่อน… บอกลา 3 ศัตรูร้าย ความเสี่ยงในงาน PMO สะดุด

ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ทราบดีว่า ในการบริหารจัดการโครงการ (Project Management) นั้นอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาทิ การใช้งบประมาณมากเกินไป ความต้องการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จำนวนบุคลากรในโครงการไม่สัมพันธ์กับปริมาณงาน ตลอดจนเหตุสุดวิสัยเกินกว่าจะควบคุมอย่าง น้ำท่วม ไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลให้การบริหารจัดการโครงการไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้  ดังนั้นหากไม่สามารถควบคุมความเสี่ยง (Risk) ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหา (Issue) ตามมาได้ อย่างเช่น ความไม่คุ้มทุนของโครงการ ผลลัพธ์ของงานที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการส่งมอบงานไม่ตรงเวลา ยิ่งไปกว่านั้นอาจส่งผลเสียต่อทีมงาน ผู้จัดการโครงการ ไปจนถึงระดับผู้บริหาร ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทได้ ด้วยเหตุนี้การตระหนักรู้ (Aware) และหาแนวทางป้องกันความเสี่ยง (Prevent) นั้นเป็นสิ่งที่ผู้จัดการโครงการควรให้ความสำคัญอย่างมาก จากประสบการณ์ทีมงานมืออาชีพของ “บลูบิค” ที่ผ่านการบริหารจัดการโครงการทั้งขนาดเล็กและใหญ่จำนวนมากพบว่า ความเสี่ยงที่ผู้จัดการโครงกา...

6 ฝันร้าย สัญญาณความล้มเหลวในการบริหารโครงการ (Project Management)

“ความสำเร็จ” เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็มองหาแต่หนึ่งในหนทางไปสู่ความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ข้อผิดพลาดเพื่อป้องกันหรือเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจขึ้น  เพราะหนทางของการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ล้วนมีบททดสอบที่ท้าทายรออยู่เสมอ ในโลกของการบริหารจัดการโครงการก็เช่นกัน การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดหรือปัญหาสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจทำให้โครงการนั้นๆ ล้มเหลวได้ ด้วยเหตุนี้ บลูบิค ได้รวบรวม 6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยจากการบริหารจัดการโครงการที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลว ดังนี้ 1. ไม่สามารถควบคุมขอบเขตของโครงการได้ สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการโครงการ คือ การควบคุมต้นทุนให้อยู่ภายใต้งบประมาณวางเอาไว้ ซึ่งการควบคุมงบประมาณหรือต้นทุนได้อย่างแม่นยำนั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดขอบเขตของงานและกรอบเวลาการส่งมองให้ชัดเจน ในการบริหารจัดการโครงการ หลายโครงการสามารถกำหนดขอบเขตงานได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินการ แต่ในความเป็นจริงเเล้วนั้น หลายๆโครงการอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้ตั้งเเต่เริ่ม ดังนั้น หากโครงการเริ่มต้นไปแล้วสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่ผู้บริหารจัดการโครงการต้องทำคือ ตกลงและกำหนดขอบเขตการ...

เปิดความเชื่อมโยง Cryptocurrency และตลาดทุน ผ่านมุมมองการวิเคราะห์ Data Analytics

กระโจนเข้าหามูลค่าจากสิ่งที่ไม่มีวันคาดเดาได้ ในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา ไม่ว่าเราจะรับข่าวสารผ่านช่องทางไหนก็ตาม มีอันต้องพบข่าวสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวเกี่ยวกับ “สกุลเงินเข้ารหัส” (cryptocurrency) กระแสข่าวที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมาอาจสร้างภาพความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า “cryptocurrency ก้าวเข้ามาเป็นตัวเลือกให้นักลงทุนและทดแทนสินทรัพย์กระแสหลัก” อาทิเช่น หุ้น ทอง หรือ น้ำมันไปเสียแล้ว แต่ถึงจะมีข่าวการสร้างกำไรเป็นอันมากของนักลงทุน แต่โดยภาพรวมกลุ่ม cryptocurrency อาจไม่ได้รับหรือส่งอิทธิพลต่อสินทรัพย์กระแสหลักนัก และยังถือเป็นเพียงสินทรัพย์เฉพาะกลุ่มเท่านั้น   ราวกับเป็นวัฏจักร ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเกิดวิกฤติ ถือเป็นเวลาที่มีธุรกิจประเภทใหม่ๆ เกิดขึ้น ในวิกฤติการเงินปี 2008 cryptocurrency ก็เริ่มแพร่หลายในต่างประเทศ จนกระทั่ง COVID-19 มาทำลายบรรยากาศทางเศรษฐกิจในสองปีที่ผ่านมา กระแสการเปิดกว้างในการลงทุนและการยอมรับ cryptocurrency ก็เริ่มเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เพราะการเข้าถึงที่ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์มากนัก จึงดึงดูดนักลงทุนรายใหม่จำนว...