fbpx
บล็อก 16 ตุลาคม 2020

ข้อดีของการทำงานแบบ Agile ในยุคดิจิทัล

2020_10_09_ข้อดี agile-01.png


ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลยุค องค์กรที่จะอยู่รอดไม่ได้วัดกันที่ขนาดอีกต่อไปแต่ต้องวัดกันที่ความเร็ว ตามคำกล่าวที่ว่า โลกปัจจุบันเป็นโลกของ “ปลาเร็วกินปลาช้า” และไม่มี “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” อีกต่อไป ดังนั้นหลายองค์กร จึงพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยนำแนวคิดการทำงานแบบ ‘Agile’ เข้ามาปรับใช้


หากกล่าวแบบรวบรัด Agile เป็นหลักการทำงานขององค์กรให้มีความยืดหยุ่นจนสามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามคำกล่าวที่ว่า “Fail fast, fail often” คือการผลักดันให้เกิดผลงานออกมาก่อน ถึงแม้อาจจะมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่จะความผิดพลาดนั้นจะสามารถได้รับการแก้ไขและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว


หลายองค์กรเริ่มหยิบยกการบริหารแบบใหม่ที่เน้นความคล่องตัว แบบที่เรียกว่า Agile methodology เข้ามาใช้ในการบริหารการทำงานแบบทีมที่เรียกว่า Agile squad เพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลงด้วยการลด Silo หรือการทำงานแบบซ้ำซ้อนที่เกิดจากแยกส่วน ให้เกิดเป็นการทำงานเป็นทีมที่ประกอบบุคลากรจากหลายสายงาน และแบ่งงานในการส่งมอบออกเป็นทีละชิ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับความผิดพลาดได้อย่างไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานภาพรวมมากนัก จึงเกิดเป็นข้อดีการทำงานแบบ Agile ดังนี้


[1] ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อผิดพลาดได้รวดเร็ว
ด้วยการแบ่งชิ้นงานและส่งมอบออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ช่วยให้การทำงานแบบ Agile สามารถกำหนดเป้าหมายเป็นระยะสั้นได้ หรือที่เรียกว่า Sprint ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัว และปรับเปลี่ยนการทำงานได้เรื่อย ๆ และทันท่วงที ในกรณีที่เกิดมีข้อผิดพลาด และสามารถเรียนรู้ข้อบกพร่องและข้อดีในการทำงานครั้งก่อน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว


[2] ทีมสามารถทำงานได้เองและพึ่งพาผู้บริหารน้อยลง
ผู้ที่ได้รับมอบหมายในการทำงานใน Agile squad มักมีอำนาจในการตัดสินใจที่เพียพอโดยไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการขององค์กร ทำให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน และไม่ต้องรอการอนุมัติผ่านจากใคร รวมไปถึงการสื่อสารที่ช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถรับรู้ถึงสถานะและความคืบหน้าของโครงการได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ผู้บริหารสามารถวางใจในการร่วมมือของทีมการทำงานได้


[3] ส่งเสริมการทำงานร่วมกันและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
การจัดสรรบุคลากรที่มาจากสายงานที่แตกต่างกันให้เกิดเป็นทีมโดยไม่ได้แยกแผนก จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน และสามารถประสานงานกันได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการระดมความคิด กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และพิจารณาแนวทางในการดำเนินเพื่อให้เกิดความสะดวก ความรวดเร็ว และประสิทธิภาพของทุกฝ่ายได้อย่างคล่องตัว


การทำงานแบบ Agile ไม่เพียงส่งเสริมให้เกิดการทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น แต่ยังส่งผลในด้านอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานเป็นทีม ที่ทุกฝ่ายที่เข้ามาอยู่ในทีมสามารทำงานร่วมกันได้ด้วยไม่มีกำแพงกั้นระหว่างฝ่าย เพิ่มเติมความสามารถในการออกความคิดเห็นและระดมสมอง ให้เกิดการปรับปรุงผลงานจากทุกมุมมอง รอบคอบมากขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงานให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน


อย่างไรก็ตามการบริหารการทำงานแบบ Agile อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในทุกโครงการ เหลือแม้แต่ทุกองค์กรก็ตาม แต่ทุกองค์กรควรเรียนรู้ที่จะพิจารณาว่าหน่วยงานส่วนใดที่ต้องการความคล่องตัวสูงและเหมาะสมกับการทำงานแบบ Agile รวมไปถึงวัฒนธรรม และทัศนคติของบุคลากรในการทำงาน เพราะการทำงานแบบ Agile มีเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ ความกล้าในการตัดสินใจ การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันกับคนในทีมซึ่งมาจากคนละสายงาน และการเปิดกว้างกับความคิดของผู้อื่น ดังนั้นส่วนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือวัฒนธรรม และทัศคติของผู้ที่นำไปใช้ เพื่อช่วยผลักดันในธุรกิจสามารถขับเคลื่อนในโลกที่ต้องแข่งขันกันด้วยความเร็ว