fbpx
บล็อก 29 มีนาคม 2022

สร้างสมดุลอย่างไร ระหว่าง Personalization กับ Privacy

ในยุคที่สินค้าและบริการมีตัวเลือกหลากหลาย การตลาดแบบ Mass Marketing ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อีกต่อไป จึงเป็นโอกาสของการตลาดแบบ Personalized Marketing ที่จะได้เฉิดฉาย เพื่อปิด Pain Point บางอย่างในใจของลูกค้า

แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ เมื่อมีข้อดีคือสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างโดนใจ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคลที่แสดงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของลูกค้าโดยละเอียด ดังนั้นการสร้างสมดุลระหว่างการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์กับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้าจึงมีความสำคัญ

3 ขั้นตอนในการทำ Personalized Marketing อย่างเหมาะสม โดยต้องเริ่มจากการปรับ Mindset ของคนในองค์กร (People) ว่าการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทุกครั้งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานจริยธรรม เปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็นกับบุคคลที่ควรต้องรู้ พร้อมทั้งบูรณาการการทำงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Process) และสุดท้ายคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการคัดเลือก จัดเก็บ และตรวจสอบข้อมูล (Technology) เพื่อลดจำนวนแรงงานซึ่งเป็น Fixed Cost ในการทำธุรกิจ

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในปีนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า 3 ขั้นตอนในการทำ Personalized Marketing นั้นมาถูกทาง เพราะสอดคล้องกับเป้าหมายของ PDPA ที่ต้องการควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ลงลึกถึงรายละเอียดว่าสิ่งใดสามารถทำได้หรือไม่ได้

หลังจากนี้ทุกองค์กรจึงต้องเพิ่มความตระหนักตั้งแต่การออกแบบวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูล จนถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่าข้อมูลที่เปิดเผยไปถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ และพร้อมจะบอกต่อถึงแง่มุมดีๆ เมื่อคนรอบตัวต้องการความคิดเห็นเกี่ยวกับแบรนด์เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ