fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

Brand Refresh เปลี่ยนลุคแบรนด์เก่า เอามาเล่าใหม่ให้ปัง

เมื่อภาพลักษณ์แบรนด์ของเราดูไม่ทันสมัยในใจลูกค้า อาจดูเข้าถึงยาก หรือไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอีกต่อไป ธุรกิจเจ้าของแบรนด์จะสามารถทำอะไรได้บ้าง ทางเลือกแรกๆ ที่หลายธุรกิจสามารถทำได้คือการตัดสินใจปรับลุคเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความรู้สึกใหม่ๆ เกี่ยวกับแบรนด์ และดึงดูดให้ผู้บริโภคหันกลับมาสนใจและตื่นเต้นกับแบรนด์อีกครั้ง แต่การตัดสินใจปรับภาพลักษณ์แบรนด์ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องคิดอย่างรอบคอบว่าควรเปลี่ยนอะไรบ้าง ซึ่งไม่เพียงแค่ต้องคิดหนัก แต่ต้องใช้ระยะเวลากว่าการปรับเปลี่ยนจะลงตัว ดังนั้น ก่อนเริ่มดำเนินการปรับภาพลักษณ์ คำถามสำคัญ 3 ข้อที่แบรนด์ต้องถามตัวเองก่อนคือ – แบรนด์เราตกเทรนด์ ตามกระแสผู้บริโภคไม่ทันหรือเปล่า – Position ของแบรนด์ยังอยู่ในจุดที่ได้เปรียบหรือไม่ – แผนกลยุทธ์ใหม่ของธุรกิจยังสามารถใช้กับแบรนด์เดิมได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ การปรับภาพลักษณ์แบรนด์คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ‘Brand Refresh’ นับเป็นแนวทางหนึ่งในการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ ทั้งโลโก้ สโลแกน และสีสัน แต่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นแบรนด์เอาไว้ หากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็เปรียบเหมือนการแต่งหน...

“User Experience Design“ ออกแบบที่มากกว่าแค่ออกแบบ

เมื่อธุรกิจส่วนใหญ่ก้าวเข้าสู่การซื้อ - ขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัล การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience - UX) และส่วนติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ (User Interface - UI) จึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้การนำเสนอสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่นและน่าประทับใจที่สุด ไม่แตกต่างจากการซื้อ - ขายกับพนักงานผ่านช่องทาง Offline แม้จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายธุรกิจยังอยู่ในช่วงเริ่มปรับตัว โดยเพิ่งจะมีการพัฒนาช่องทางการขายหรือการให้บริการแบบดิจิทัล ทำให้อาจยังไม่คุ้นเคยหรือมีการนำมาปรับใช้อย่างไม่ถูกวิธี จึงไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงขอแนะนำหลักการเบื้องต้นในการนำ UX/UI ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ โดยสามารถแบ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานสำหรับสินค้าและบริการบนโลกดิจิทัลออกเป็น 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย การออกแบบการสื่อสาร (Information Design) เป็นการจัดวางลำดับความสำคัญในการนำเสนอข้อมูลผ่านการใช้ภาพและข้อความ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจการใช้งานได้ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้การออกแบบหน้าตา (User Interface Design) ต้องให้ความสำคัญกับการจัดวางโครงสร้าง (Layout) สีส...

ทำไม ‘ความปลอดภัยองค์กร’ เป็นเรื่องที่ธุรกิจไม่ควรมองข้ามในปี 64

ในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่ช่องทางดิจิทัลกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนการดำเนินงาน และข้อมูลกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงการเติบโตขององค์กร เรื่อง Security หรือความปลอดภัย จึงเป็นความสำคัญลำดับแรกที่ทุกองค์กรต้องตระหนักในปี 2564 นี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่ทำให้องค์กรธุรกิจเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นในการตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์ได้ทุกนาที ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจในหลากหลายมิติ ทั้งกระทบกระบวนการทำงาน การเติบโตขององค์กร ความเชื่อมั่นในสายตาพาร์ทเนอร์และลูกค้า และขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต  สำหรับสาเหตุหลักที่องค์กรมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น มาจากการที่ธุรกิจยุคใหม่หันไปขยายขอบเขตการดำเนินงานบนโลกออนไลน์ จนเกือบจะกลายเป็นช่องทางหลักของหลายธุรกิจ ส่งผลให้ต้องเผชิญความเสี่ยงเกือบตลอดเวลา แตกต่างจากในอดีตที่ธุรกิจดำเนินงานบนโลกออฟไลน์เป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ การเฝ้าระวังความปลอดภัยจึงทำได้ยากมากขึ้นบนโลกออนไลน์ที่ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเสี้ยววินาที   ความน่ากลัวคือหลายองค์กรมักมองโลกดิจิทัลเพียงด้านเดียวในแง่การเป็นโอกาสขยายธุรกิจและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ โดยลืมไปว่าในโอกาสย่...

ธุรกิจหน้าร้านเน้นสร้าง “ประสบการณ์ลูกค้าที่ดี” ด้วยเทคโนโลยีมัดใจคน “GEN M”

ธุรกิจที่พึ่งพาการขายสินค้าผ่านหน้าร้านเป็นหลัก ควรเร่งปรับตัวในช่วงที่โควิดกำลังระบาดระลอกใหม่เพื่อสร้างจุดแข็งและโอกาสด้วยนำเสนอ "Customer Experience" หรือประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านการปรับใช้เทคโนโลยีอาทิ Geofencing Technology, IoT และ Cloud ให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีกำลังซื้ออย่าง Millennials ตั้งแต่การให้ความสำคัญเรื่องความสะอาด การขยายการเข้าถึงลูกค้า การมัดใจลูกค้าในระยะยาว การเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ และการเพิ่มความร่วมมือระหว่างธุรกิจหน้าร้านและผู้ให้เช่าพื้นที่ หรือ SOLDC สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างหนัก และยังคาดเดาถึงโอกาสในการที่ธุรกิจจะกลับมาเป็นเหมือนยุคก่อนโควิดได้ยาก โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านซึ่งได้รับผลกระทบสามทาง ทั้งจำนวนคนที่ออกมาซื้อของนอกบ้านน้อยลง ผู้บริโภคที่ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น และกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปอยู่กับร้านค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้ที่อยู่อา...

ธุรกิจ B2C เร่งประยุกต์ใช้ Big Data – AI เสริมศักยภาพธุรกิจ

ธุรกิจที่มีปริมาณข้อมูลลูกค้าในมือจำนวนมาก อาทิ ประกันภัย ธนาคาร โทรคมนาคม และอีคอมเมิร์ซ ควรเร่งนำ Big Data และ AI พัฒนาเครื่องมือการตลาด ด้วยระบบ Bluebik Win-Back ช่วยดึงข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่เคยสนใจผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ยังไม่มีการซื้อ กลับมาวิเคราะห์จัดลำดับลูกค้าที่มีโอกาสกลับมาซื้อสูงแบบเรียลไทม์ ช่วยให้พนักงานสามารถดึงลูกค้าเข้าสู่ช่องทางขายและปิดการขายได้สำเร็จ หวังลดความผิดพลาดจากการตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณของพนักงานขาย และเร่งกระตุ้นยอดที่ซบเซาหลังวิกฤตโควิด-19    ผู้ประกอบการธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจในทุกๆ ด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคดิจิทัล ซึ่งกระบวนการขายนับเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่สร้างรายได้ ทั้งยังเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าในทุกขั้นตอน ฉะนั้นหากบริษัทมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีผนวกกับการประยุกต์นำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเชิงความเข้าใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาจากพิษโควิด  บลูบิค กรุ๊ป ...

25 ธันวาคม 2020

ธุรกิจประกันเร่งเพิ่มความได้เปรียบ สู่การเป็น Innovative Insurer ครองใจผู้ซื้อกรมธรรม์

เคล็ดลับสำหรับธุรกิจประกันว่าควรเร่งสร้างนวัตกรรมมัดใจลูกค้าด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างมีกลยุทธ์ พร้อมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจผ่านการหาพันธมิตรเพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างครอบคลุม อาทิ เข้าไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีประกันภัย หรือ Insurtech เพื่อนำนวัตกรรมที่ได้มาแก้ปัญหาหรือนำเสนอขายสินค้าด้านประกันภัยให้เหมาะสมครอบคลุมความต้องการของลูกค้าได้แบบเจาะจงลงลึกมากขึ้น รวมถึงจัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาระบบโดยเฉพาะ พร้อมแนะ 3 แนวทางเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้านสำหรับธุรกิจประกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบและเสริมแกร่งให้ธุรกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล รวมถึงล่าสุดจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายองค์กรในภาคอุตสาหกรรมต่างเร่งค้นหาแนวทางเพื่อปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว เนื่องด้วยข้อจำกัดเรื่องต้นทุน ศักยภาพของบุคลากร และข้อจำกัดในด้านอื่นๆ ดังนั้น การปรับใช้เทคโนโลยีอย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำ...

“Agile”เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดยุคโควิด-19 สร้างความได้เปรียบ

หลักการ Agile มาปรับใช้กับการทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการได้รวดเร็วขึ้นกว่าการทำตลาดแบบเดิมด้วยการสร้างแคมเปญการตลาดขนาดเล็ก หรือประเมินความต้องการของลูกค้าแบบเรียลไทม์จากข้อมูลที่ทำการเก็บอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการทำการตลาดแบบ Agile จะช่วยสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นและนำเสนอสินค้าได้ทันความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น พร้อมแนะ 4 สเต็ปประยุกต์ใช้ Agile กับการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จในยุคโควิด-19 ระบาด ได้แก่ วางกรอบและแนวทางการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งตั้งอยู่บนความเข้าใจเดียวกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างทีม Agile เฉพาะกิจ เริ่มจากแคมเปญการตลาดขนาดเล็ก และ หมั่นวัดและประเมินผลเพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หากธุรกิจต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและนำเสนอสินค้าบริการให้ตรงใจ นักการตลาดยุคใหม่ควรต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิด-19 ที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอุปนิสัยและพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทย โดยนำหลักการ Agile มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและเสริมประสิทธิภาพในการทำการตลาดในวันที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป ...

25 กันยายน 2020

คลาวด์เทคโนโลยีคือพระเอกตัวจริงในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ IT ในช่วง COVID-19

ช่วงวิกฤตเช่นนี้จึงเป็นจังหวะและจุดเริ่มต้นที่ดีของภาคธุรกิจที่จะเริ่มมาใช้ “Cloud computing” เพื่อลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นของตนเอง (On-Premise) อีกทั้งช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลรักษาระบบ ที่สำคัญช่วยประหยัดเวลาและยังมีความยืดหยุ่นด้านค่าใช้จ่าย จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจไปทั่วโลก องค์กรธุรกิจต่างค้นหาแนวทางในการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อเป็นผู้อยู่รอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะเน้นนโยบายในการดูแลต้นทุนและลดค่าใช้จ่าย  ซึ่งปกติธุรกิจส่วนใหญ่จะมีรายจ่ายในการใช้เงินลงทุนครั้งใหญ่ (Big investment) ที่ยังไม่สร้างผลกำไรในปัจจุบัน (Sunk cost) หรือเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ที่ไม่สามารถปรับลดลงได้ อย่างไรก็ตาม ตามปกติธุรกิจขนาดใหญ่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายแบบ Big investment หรือหากเลือกจ่ายเป็นรายเดือนก็ต้องดำเนินการแบบผ่อนชำระ นั่นหมายความว่า ค่าใช้จ่ายได้ถูกแปลงเป็นต้...

11 มิถุนายน 2020

ปรับ Mindset ฝ่าวิกฤตโควิด-19 เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเปิดใจรับเทคโนโลยีก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลง

องค์กรต้องปรับยุทธศาสตร์ทุกมิติเพื่อเร่งทรานสฟอร์มรับบรรทัดฐานใหม่ของโลกธุรกิจ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วโลก เศรษฐกิจทั้งระบบก็ได้รับผลสะเทือนไม่แพ้กัน นี่ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นฝันร้ายเพราะอีกหลายเดือนต่อจากนี้เศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยและต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นตัว องค์กรธุรกิจจึงต้องเร่งออกมาตรการรับมืออย่างเข้มข้นเพื่อประคับประคององค์กรและพนักงาน สิ่งแรกๆที่เราเห็นคือการปรับกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนและปรับลดค่าใช้จ่ายลง รวมทั้งให้น้ำหนักการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นสำหรับพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเป็นผู้นำตลาด สถานการณ์โควิดและหลังโควิดจะเป็นปัจจัยหลักในการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมหาศาลชนิดที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ (Disruptive Change) ต่อเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมส่วนบุคคลให้ต่างจากเดิมอย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งทักษะการทำงานหลายๆ อย่างจะเปลี่ยนแปลงไป เพียงแค่ทุ่มเทหรือทำงานเก่งอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องมีความสามารถด้านเทค...

20 พฤษภาคม 2020

Data-driven Banking เตรียมพร้อม Big Data ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธนาคาร

เมื่อ Digital Disruption เริ่มทำให้ทุกอุตสาหกรรมรับแรงสั่นสะเทือน ชนิดที่ใครช้า ไม่ปรับตัว ไม่เปลี่ยนแปลงอาจจะถูกกวาดทำลายล้างไปในที่สุด หนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะเจอผลกระทบอย่างชัดเจนคือ “การธนาคารสำหรับรายย่อย” หรือ Retail banking ที่เครือข่ายหรือจำนวนสาขาอาจจะไม่ใช่คำตอบของการดำเนินงานที่สำเร็จอีกต่อไป จึงทำให้เราอาจจะเห็นแบงก์ต้องรุกขึ้นมาพลิกโฉมปรับกลยุทธ์ เสริมพันธมิตรรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วของลูกค้าในปัจจุบันและเตรียมพร้อมเพื่อการปรับเปลี่ยนการทำงานอย่างต่อเนื่อง  เริ่มต้นต้อง Digitize กระบวนการทำงาน แบงก์ถือเป็นธุรกิจที่มีกระบวนการทำงานซับซ้อนและจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก เมื่อสู่โลกดิจิทัลก็ต้องก้าวข้ามมากกว่าการยกเลิกใช้กระดาษ สิ่งนั้นคือ การปรับวิธีการทำงานทุกอย่างให้ลื่นไหลจนถึงขั้นสามารถจัดการงานได้แบบอัตโนมัติ ในระยะเวลาที่รวดเร็วและช่วยทำให้ลดขั้นตอนการทำงานให้เหลือน้อยที่สุด จากการเข้าสู่ระบบออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งตัวอย่าง Digitize แรกเริ่มของแบงก์คือ การมีอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง จนพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่...

29 เมษายน 2020