fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

Marketing Consulting กับ Marketing Agency สองขุมกำลังที่ธุรกิจต้องใช้ร่วมกันเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด

“การทำงานด้านตลาดกำลังถูกท้าทายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน” จากสภาวะตลาดในปัจจุบันที่ถูกท้าทายไม่ว่าจะเป็นภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ โรคระบาด การเข้ามาของเทคโนโลยี การสื่อสารการตลาดและงบโฆษณาที่แพงขึ้น คู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น และความเปลี่ยนแปลงอันไม่แน่นอน ทำให้ธุรกิจถูกบีบรัดด้วยนโยบายลดรายจ่ายในภาวะวิกฤต ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มการลงทุนด้านการทรานส์ฟอร์เมชั่น และอัดแคมเปญเร่งยอดขาย เป้าหมายอันดับแรกในการ “เฉือน” งบประมาณลงก่อนใครคือ “งบด้านการตลาดและงบโฆษณา” แม้จะเห็นผลเฉพาะหน้ารวดเร็วคือรายจ่ายที่ลดฮวบฮาบ แต่ระยะยาวมักส่งผลเสียต่อธุรกิจมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะมูลค่าของ “แบรนด์” ที่จริงๆ แล้วส่งผลทางตัวเลขของธุรกิจมากกว่าที่เราเห็น แต่ในอีกมุมหนึ่งของภาวะวิกฤตเหล่านี้กลับมีบางองค์กรคิดต่างและหันมาทุ่มงบประมาณด้านการตลาดในการสร้างแบรนด์ วางการลงทุนด้านการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น และการใช้ข้อมูลเพิ่มสวนทางคู่แข่งที่เมื่อพ้นจากภาวะที่ไม่แน่นอนอาจเติบโตได้มากกว่าหลายเท่าและฉีกหนีคู่แข่งไปไกลลิบ แล้วอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรเหล่านั้น “คิดต่าง” และนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เหนือกว่า? สโรจ เลาหศ...

10 Checklist เมื่อต้องทำ Vendor Selection ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา

เมื่อกระบวนการคัดเลือกผู้ให้บริการ (Vendor Selection) ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้งาน PMO หรือ Program Management Office สามารถผลักดันกิจกรรมภายในโครงการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถปรับตัวก้าวสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลทรานฟอร์เมชันได้ตามเป้าหมาย แต่ทุกการขับเคลื่อนย่อมมีอุปสรรคเสมอ “ทิติยาพร สุเมธารัตน์” Strategy and Management Director ได้แนะนำ 12 แนวทางเพื่อกระบวนการคัดเลือกผู้ให้บริการ (Vendor Selection) ราบรื่นและไม่กลายเป็นสิ่งที่ต้องหนักใจอีกต่อไป 1. ทีมผู้ตัดสินใจเลือก Vendor ต้องมีความเข้าใจภาพใหญ่และรู้กระบวนการทำงานจริงขององค์กร ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการควรประกอบไปด้วยผู้ที่มีความเข้าใจในกลยุทธ์และทิศทางขององค์กรในภาพรวมว่าต้องการพัฒนาศักยภาพด้านใด ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงร่วมกับผู้ที่เข้าใจปัญหาที่เกิดกับกระบวนการทำงาน (Operation) รวมไปถึงเข้าใจความต้องการและประสบการณ์ของผู้ที่ใช้งานระบบจริง (User Experience) ได้แก่ ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management) หรือ Supervisor ที่มีความเข้าใจในรายละเอียดฟังก์ชันและความสามารถ...

Disruptive Growth กลยุทธ์สร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด พลิกชะตาธุรกิจจากผู้รอดวิกฤตสู่ผู้ชนะ

ท่ามกลางวิกฤตโควิด หลายธุรกิจต่างผ่านประสบการณ์ทรานส์ฟอร์มองค์กร เพื่อหาทางให้ตัวเองอยู่รอดให้ได้ แต่แค่อยู่รอดอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมองไปถึงเรื่องการเติบโต (Growth) ของธุรกิจด้วยว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรสามารถเติบโตอย่างแท้จริงในระยะยาว ท่ามกลางความไม่แน่นอนหลายอย่าง ทั้งจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และโลกธุรกิจที่เผชิญการเปลี่ยนแปลงบ่อยขึ้นกว่าในอดีต แค่การเติบโตแบบธรรมดาอาจไม่พอ แต่ยังต้องคิดไปถึงการเติบโตที่เหนือกว่าอีกขั้นที่เรียกกว่า Disruptive Growth ลงทุนธุรกิจอย่างชาญฉลาด ทางลัดทลายขีดจำกัดการเติบโต การลงทุนถือเป็นส่วนสำคัญสู่การสร้าง Disruptive Growth องค์กรจึงต้องบริหารการลงทุนธุรกิจในมือให้ยังคงรักษาความสามารถในการสร้างมูลค่าได้ ซึ่งในการดูแลพอร์ตธุรกิจ ต้องมองให้ออกว่าธุรกิจไหนที่เป็นธุรกิจหลัก และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วธุรกิจไหนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ไปจนถึงคาดการณ์อนาคตการเติบโตของแต่ละธุรกิจในอีก 3 ปี หรือ 5 ปีไว้อย่างไรบ้าง สำหรับปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาเพื่อบริหารจัดการพอร์ตธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 แกนหลัก คือ   ผลการดำเนินงานทางการเงิน...

28 กุมภาพันธ์ 2022

4 สิ่งต้องรู้ก่อนทำ Data-driven Marketing ผลักดันการทำการตลาดด้วยข้อมูลตั้งแต่จุดเริ่มต้น

ในโลกธุรกิจยุคใหม่ หลายๆคนต่างบอกว่าการทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล  (Data-driven Marketing) เพราะข้อมูลคือสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจลูกค้าได้ดีสามารถค้นหาความชอบและความต้องการของลูกค้าได้อย่างชัดเจนขึ้น และทำให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้าและบริการของเราอย่างต่อเนื่องในระยะยาว แต่คำถามคือหากธุรกิจจะเริ่มทำการตลาดแบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ควรจะเริ่มต้นอย่างไร ในปัจจุบันธุรกิจทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญและเน้นลงทุนในด้านการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดและเพิ่มศักยภาพการเติบโตเพื่อสร้างผลกำไร โดยการทำ Data-driven Marketing  ถือเป็นเครื่องมือการตลาดหนึ่งที่จะช่วยเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงใจ การทำ Data Driven Marketing จึงเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการจัดเก็บ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะสามารถเข้าใจในความต้องการของลูกค้าได้ในทุกมิติ ฉะนั้นก่อนที่นักการตลาดจะเริ่มลงมือปฏิบัติเพื่อผลักดันให้ Data-driven Marketing ประสบความสำเร็จและสร้างผลลัพธ์ได้จริง จึงควรรู้และเข้าใจใน 4 สิ่งนี้  1. เป้าหมายของธุรกิ...

Vendor Selection กว่าจะได้ ‘Vendor’ ที่ใช่และเป็นเพื่อนที่รู้ใจ

เมื่อดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันกลายเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องทำเพื่ออยู่รอดและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนองค์กรในเชิงดิจิทัล ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ พัฒนาศักยภาพบุคคลากร และอื่นๆ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีแนวคิดและโครงการผุดขึ้นมามากมายในองค์กร โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีและระบบโซลูชันมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ แน่นอนว่าย่อมเกิดความคาดหวังในประสิทธิผลของโครงการให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ขอบเขต งบประมาณ ระยะเวลา และคุณภาพ    งาน PMO หรือ Program Management Office มีหน้าที่ในการบริหารโครงการขนาดกลางและขนาดใหญ่ขององค์กร รวมถึงควบคุมกิจกรรมในโครงการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่บริหารความเสี่ยง ติดตาม ประสานงาน และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปถึงการบริหารจัดการผู้ให้บริการต่างๆ  (Vendor Management) ให้สามารถทำงานร่วมกันภายในโครงการได้อย่างราบรื่น  ซึ่งมีกรณีตัวอย่างหลายโครงการที่ประสบปัญหาการทำงานจากผู้ให้บริการ ที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ความเข้าใจ หรือ ข้อตกลงที่กำหนดตั้งแต่ก่อนเริ...

5 Initiatives ดันการทำ Digital Transformation สำเร็จ ทลายขีดจำกัดองค์กร ปลดล็อกการเติบโตแบบก้าวกระโดด

อิทธิพลช่องทางออนไลน์ ส่งผลต่อทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยแวดล้อมในการทำธุรกิจ เผยเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลปี 2022 หรือ Digital Transformation เพื่อปลดล็อกศักยภาพการเติบโตขององค์กร ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (AI-driven Advanced Analytics) 2. การย้ายโครงสร้างระบบขึ้นไปบนคลาวด์ (Cloud Migration) 3. การสร้างประสบการณ์ลูกค้าให้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน (Unified Experience) 4. การบริหารจัดการทำงานแบบ Agile และ 5. การปรับรูปแบบธุรกิจให้เป็นแบบ Decentralized Business Model ปัจจุบันช่องทางออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำคัญในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ จึงทำให้ธุรกิจต้องมุ่งสู่การปรับให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ โดยทั่วไปแล้ว การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ขั้นหลักๆ เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนถ่ายการเก็บข้อมูลมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) ถัดไปคือการปรับกระบวนการทำงานขึ้นมาอยู่บนระบบดิจิทัล (Digit...

2 กุมภาพันธ์ 2022

ถอดบทเรียน PMO ทำอย่างไรให้รอดและชนะแบบ Squid Game เมื่อการบริหารโปรเจ็กต์เหมือนเกม Survival

เมื่อพูดถึงงาน PMO หรือ Project Management Office ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารจัดการโครงการต่างๆ กับ Squid Game ซีรีส์แนว Survival ชื่อดังทาง Netflix ที่กลายเป็นไวรัลทั่วโลกก่อนหน้านี้ ดูเป็นสองสิ่งที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันได้ สำหรับเนื้อเรื่องย่อของ Squid Game คือการนำกลุ่มคน 456 คนที่มีหนี้สินมหาศาลมาเล่นเกมสมัยเด็กทั้งหมด 6 เกม เพื่อเอาชีวิตรอดและกลายเป็นผู้ชนะคว้าเงินรางวัลจำนวนมากถึง 45.6 ล้านวอน หรือราว 1,300 ล้านบาทกลับบ้านไป ซึ่งในหลายตอนของเรื่องสามารถสอดแทรกบทเรียนที่สามารถนำไปปรับใช้กับการบริหารจัดการโครงการได้อย่างน่าสนใจ หนึ่งในตอนที่สะท้อนบทบาทและการทำงานของ PMO ออกมาได้ดีที่สุดคือตอนเกมแข่งชักเย่อ หรือ “Stick to the Team” ที่แบ่งกลุ่มคนออกเป็น 2 ทีม โดยกติกาการแข่งขันยังคงเป็นแบบเดียวกับที่เราคุ้นเคยกันดีคือทีมที่ดึงเชือกไปที่ฝั่งตัวเองได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะไป แต่ด้วยความเป็น Squid Game ทีมชนะไม่ใช่แค่ผ่านเข้ารอบต่อไป แต่ยังได้ต่อลมหายใจตัวเองและเอาชีวิตรอดไปได้อีกครั้งก่อนจบเกม เมื่อมีชีวิตเป็นเดิมพัน จึงไม่แปลกที่ทุกคนอยากอยู่ในทีมที่แข็งแกร่งที่สุด และอยากได้ผู้ชาย...

เปิดกลยุทธ์ ‘AAA Application Strategy’ พัฒนาแอปใหม่จับใจลูกค้า สร้างผลลัพธ์ให้ธุรกิจได้จริง

Business organizations must have application strategies. Many organizations develop apps which are parts of their digital transformation to offer good digital experiences to ธุรกิจต้องมีกลยุทธ์แอปพลิเคชัน ในยุคที่หลายองค์กรต่างหันมาพัฒนาแอป ซึ่งเป็นส่วนหนี่งของการทำ Digital Transformation โดยเฉพาะในแง่การสร้างประสบการณ์ใช้งานดิจิทัลที่ดีให้ลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ผ่านการออกแบบแนวคิดกลยุทธ์พัฒนาแอปพลิเคชัน ‘AAA Application Strategy’ หลังจากพบว่าแอปพลิเคชันส่วนใหญ้ในปัจจุบัน คนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันน้อยลง หรือดาวน์โหลดมาแล้วแต่แทบไม่ได้ใช้งาน รวมลบแอปทิ้งเมื่อมองว่าไม่เป็นประโยชน์ โดยกลยุทธ์ที่บลูบิคออกแบบ ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ 1. กระตุ้นให้คนสนใจดาวน์โหลด (Attention) 2. กระตุ้นให้ใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง (Active) 3. กระตุ้นให้แอปกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน (Attachment) ในปัจจุบัน ผู้บริโภคยุคใหม่ต่างหันมาซื้อสินค้าและใช้บริการต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันมากขึ้น เนื่องจากมีความง่ายและสะดวกรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจจำนวนไม่น้อยเริ่มหันไป...

Develop Strategic Team with Strategies

อีกหนึ่งทีมสำคัญของบริษัทคอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันอย่าง Bluebik ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ทีม “Management Consulting” เนื่องจากเป็นทีมหัวเรือสำคัญในการสร้างกลยุทธ์ทางการทำธุรกิจให้กับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่มากมาย รวมถึงการสร้างแผนปฏิบัติงานในการทรานส์ฟอร์มองค์กรเหล่านี้ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของศักยภาพการทำงานและผลกำไรให้เกิดขึ้นได้จริงในยุคดิจิทัลนี้ วันนี้ Bluebik จึงอยากชวนพาทุกคนมารู้จักกับ “พี่แจ๊บ - วรทย์ ลีฬหาชีวะ” Head of Management Consulting ของ Bluebik ถึงรูปแบบการทำงาน ความน่าสนใจของตัวงาน และการพัฒนาศักยภาพภายในทีมเพื่อผลักดันให้ Bluebik ก้าวขึ้นเป็นคอนซัลต์ระดับโลก เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้เลย รู้จัก “พี่แจ๊บ” กับการเป็นนักวางแผนกลยุทธ์ แจ๊บ - วรทย์ ลีฬหาชีวะ Head of Management Consulting จบการศึกษาปริญญาโทด้านการบริหารจัดการธุรกิจด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก University of Warwick ประเทศสหราชอาณาจักร และปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้านการจัดการอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย จากการคลุกคลีกับครอบครัวที่ทำธุรกิจตั้งแต่เด็ก จึงทำใ...

“Data Governance” รากฐานสำคัญขับเคลื่อนองค์กรสู่ Data-Driven Organization

การวางรากฐานขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล หรือ Data Governance 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. การออกนโยบายดูแลข้อมูล (Data Policy) 2. กำหนดกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบดูแลจัดการข้อมูลโดยเฉพาะ (Data Governance Team) และ 3. วางกระบวนการจัดการข้อมูลให้ชัดเจน (Process) เพื่อให้การจัดเก็บและนำข้อมูลไปใช้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เผยองค์กรที่นำข้อมูลคุณภาพสูงไปต่อยอด ยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างรายได้เติบโตและปลดล็อกศักยภาพขยายธุรกิจในอนาคต ปัจจุบันการแข่งขันในโลกธุรกิจถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลัก ทั้งการนำข้อมูลมาใช้ในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สอดรับกับเทรนด์เพื่อสร้างแหล่งรายได้เพิ่มเติม หรือการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานในส่วนที่ไม่จำเป็น แต่หลายองค์กรกลับไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้ เนื่องจากพบปัญหาเรื่องข้อมูลไม่มีคุณภาพ อาทิ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนั้นไม่สมบูรณ์ มีความซ้ำซ้อนกัน หรือไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการวิเคราะห์ ส่งผลให้หน่วยธุรกิจ (Business unit) ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้จริง และต้องแบกรับภาระต้นทุนในการจัดเก็บและดูแลระบบสูงขึ้นจากการเสียพื้นที่เก็บข้อม...