fbpx

Search

Bluebik is trusted by leading organizations

Agile Marketing นักการตลาดต้องรู้ ยิงโฆษณาให้รวดเร็ว-ตรงจุด

ในปัจจุบัน นักการตลาดมีเครื่องมือมากมายในการโปรโมทสินค้า แต่คำถามสำคัญคือใช้เครื่องมือเหล่านั้นเต็มประสิทธิภาพหรือยัง? "Agile Marketing" คือหลักการที่จะช่วยให้ออกแคมเปญการตลาดได้รวดเร็ว และนำผลตอบรับจากผู้บริโภคไปปรับปรุงแคมเปญให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งออกแคมเปญได้ในเวลาที่เหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์ จากรายงานการสำรวจองค์กรธุรกิจชั้นนำจาก Digital.ai บริษัทให้บริการโซลูชั่นการบริหารจัดการองค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสอบถามความเห็นจากผู้บริหารและที่ปรึกษาธุรกิจจากหลายภาคอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 1,000 รายทั่วโลกเมื่อปี 2562 พบว่า องค์กรที่นำหลักการ Agile มาปรับใช้ในการทำการตลาด สามารถสร้างรายได้และยอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 20 - 40% เมื่อเทียบกับการทำการตลาดแบบเดิม ขั้นตอนเบื้องต้นที่ธุรกิจสามารถนำหลักการ Agile ไปประยุกต์ใช้กับการทำการตลาด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน วางกรอบเป้าหมายนับเป็นขั้นตอนลำดับแรก โดยประกอบด้วยการตั้งเป้าหมายและวางแนวทางการทำงานเบื้องต้น ทั้งการสร้างทีมงาน วิธีการทำงานของนักการตลาดหรื...

24 มกราคม 2021

เชื่อหรือไม่ว่า!? บางบริษัทใช้ SWOT analysis เพียงแค่ “S” และ “W” เท่านั้น

จาก SWOT analysis ที่เราเคยศึกษากันมา 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง) เพื่อใช้วิเคราะห์สถานภาพขององค์กรและการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งการหาโอกาสในอนาคต แต่วันนี้เราจะมาเล่าถึงอีกแนวคิดหนึ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนจาก SWOT analysis เหลือเพียงแค่ "S" Strength และ "W" Weakness เท่านั้น แต่สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ "C" มาจาก "Competitor" หรือที่เรียกว่า "SWC" Strength "หาจุดแข็ง" ให้เจอWeakness "วิเคราะห์จุดอ่อน" ให้ออกCompetitor "รู้จักคู่แข่ง" ให้ดี ซึ่งในการวิเคราะห์นี้จะไม่เน้น O (Opportunity) และ T (Threat) แต่สนใจไปที่ C (Competitor) ในการเปรียบเทียบระหว่าง S และ W ขององค์กรเรากับคู่แข่งเพียงเท่านั้น ให้สามารถประเมินได้ว่าเรามีอะไรที่ชนะคู่แข่งหรือสิ่งใดที่จะทำให้คู่แข่งกลายเป็นเจ้าตลาดแทนเราได้ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถตอบโจทย์ได้จริงในการแข่งขันกับคู่แข่ง มากกว่าการวิเคราะห์จากโอกาสและความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้หรือเหนือความคาดการณ์ในบางครั้ง คงต้องบอกว่า SWOT analysis เป็นแ...

21 มกราคม 2021

SMEs ไทยกับปัญหาใหญ่เรื่อง “เงิน”

การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น รากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างธุรกิจ SMEs ที่คิดเป็นกว่า 90% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศและมีการจ้างงานสูงกว่า 13 ล้านคน ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากยิ่งขึ้นไปอีก จากวิกฤตโควิด หลังเผชิญคลื่น Technology Disruption ไปก่อนหน้านี้ เมื่อมองในภาพของปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของ SMEs นั้น พบว่าการเข้าไม่ถึงเงินทุนของสถาบันการเงินเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจ (Access of source of funds) การขาดความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในด้านการบริหารจัดการเงินทุน (Cash management) และการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร โดยหากแบ่งย่อยลงไปตามประเภทของ SMEs จะพบว่าแต่ละกลุ่มเผชิญปัญหาที่แตกต่างกัน 1) ME (Medium Enterprises) หมายถึงกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 50 - 500 ล้านบาท สำหรับปัญหาของ MEs คือหลักประกันไม่เพียงพอสำหรับขอสินเชื่อให้ได้วงเงินตามที่ต้องการ โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่ต้องการวงเงินสูงมาก ซึ่งจากจำนวน ME ทั้งหมด 44,290 ราย ข้อมูลจาก Bluebik Analysis พบว่ามีธุรกิจที่...

16 มกราคม 2021

Privacy หรือ Security ผ่านมุมมอง Digital Transformation

จากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของ Timeline ผู้ป่วย เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของทั้งตัวเองและคนรอบตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่าไม่ได้มีทุกคนที่ยินยอมจะบอกความจริงตั้งแต่ต้น และอาจจะสายเกินไปเมื่อเกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลหลายประเทศจึงเริ่มออกมาตรการในการติดตามตัวประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูล Timeline ที่แน่นอน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ อาทิ ระบบ GPS และ Bluetooth ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัว #Privacy อย่างร้อนแรง เนื่องจากเป็นทราบกันดีว่าในยุคนี้ "Data is a new oil" เราแทบไม่รู้เลยว่ากลุ่มธุรกิจหรือรัฐบาลสามารถทำอะไรกับข้อมูลของเราได้บ้าง แอปพลิเคชัน #หมอชนะ นับตัวอย่างหนึ่งของมาตรการรัฐบาลไทยเพื่อติดตามการเดินทางของประชาชนและประเมินความเสี่ยง โดยแอปฯ นี้ขออนุญาตเข้าถึงกล้อง ตำแหน่งผู้ใช้ คลังภาพและวิดีโอ รวมถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟนของเรา หลายคนจึงเกิดคำถามว่า เป็นการขอเข้าถึงข้อมูลเกินความจำเป็นหรือไม่? ...

ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่ตั้งแต่ที่จอดรถ

ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่หลังปลดล็อกดาวน์ระยะ 4 เรียกความมั่นใจให้ลูกค้าตั้งแต่ก้าวแรกเข้าใช้บริการด้วยนวัตกรรมการจอดรถอัจฉริยะหนุนไร้การสัมผัส ความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่การใช้ชีวิตไม่มีวันเหมือนเดิม เพราะยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และเพื่อให้รู้สึกถึงความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตเมื่อต้องไปสถานที่ต่างๆ มากขึ้น พร้อมแนะ 3 ธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า-โรงพยาบาล-คอนโดมิเนียม ต้องเริ่มและเร่งปรับตัวเพื่อเรียกความมั่นใจให้ผู้บริโภคและลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างไร้กังวลเรื่องความปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีระบบบริหารที่จอดรถอัจฉริยะเข้ามาช่วยให้มีการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ หรือบุคคลให้น้อยที่สุด (Contactless) ตั้งแต่ก้าวเข้ามาใช้บริการ  เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์โดยเริ่มเปิดสถานที่สาธารณะต่างๆ ให้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น แต่โควิด-19 ก็ได้สร้างความปกติในรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ (New Normal) ให้กับทุกคน เพราะต่างรู้กันอยู่แล้วว่า จากนี้ไปวิถีชีวิตประจำวันจะไม่มีอะไรเหมือนเดิม ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลชัดเจนที่ภาคธุร...

5 มกราคม 2021

มัดรวมข้อดี Direct to Consumer เทรนด์ค้าปลีกที่สำคัญ

การตลาดแบบ Direct to consumer (DTC) คือการขายสินค้าแบบปลีกผ่านช่องทางการขายเฉพาะที่เป็นของตนเอง มีระบบรวบรวมสินค้า บริการจัดส่ง และชำระเงินอย่างสมบูรณ์ไว้ในช่องทางเดียว ไม่ได้ขายผ่านแพลตฟอร์ม e-Marketplace อาทิ Lazada หรือ Shopee ซึ่งเป็นตัวกลาง ทำให้ผู้ผลิตสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเองได้โดยตรง และสร้างความสัมพันธ์ได้ดีกว่า เทรนด์การทำการตลาดแบบ Direct to Consumer นั้นได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากช่วยลดต้นทุนของราคาสินค้า เพราะสามารถตัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวกลางลงไปได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพในการให้บริการทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้เอง พร้อมทั้งเปิดโอกาสในผู้ผลิตสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้ผ่านเครื่องมืออาทิ Digital Analytics Tools หรือ Social Media ต่าง ๆ ข้อดีที่ผู้ผลิตหันมาทำ Direct to consumer มากขึ้น ดังนี้ เพิ่มประสบการณ์การซื้อที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าแบรนด์สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มและออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าได้เองตามที่เห็นสมควร และเป็นไปตามเอกลักษณ์ของแบรนด์เอง ช่วยเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ดีขึ้น รวมไปถึงการจัดการระบบการขนส่งได...

31 ธันวาคม 2020

ธุรกิจ B2C เร่งประยุกต์ใช้ Big Data – AI เสริมศักยภาพธุรกิจ

ธุรกิจที่มีปริมาณข้อมูลลูกค้าในมือจำนวนมาก อาทิ ประกันภัย ธนาคาร โทรคมนาคม และอีคอมเมิร์ซ ควรเร่งนำ Big Data และ AI พัฒนาเครื่องมือการตลาด ด้วยระบบ Bluebik Win-Back ช่วยดึงข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่เคยสนใจผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ยังไม่มีการซื้อ กลับมาวิเคราะห์จัดลำดับลูกค้าที่มีโอกาสกลับมาซื้อสูงแบบเรียลไทม์ ช่วยให้พนักงานสามารถดึงลูกค้าเข้าสู่ช่องทางขายและปิดการขายได้สำเร็จ หวังลดความผิดพลาดจากการตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณของพนักงานขาย และเร่งกระตุ้นยอดที่ซบเซาหลังวิกฤตโควิด-19    ผู้ประกอบการธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจในทุกๆ ด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคดิจิทัล ซึ่งกระบวนการขายนับเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่สร้างรายได้ ทั้งยังเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าในทุกขั้นตอน ฉะนั้นหากบริษัทมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีผนวกกับการประยุกต์นำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเชิงความเข้าใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาจากพิษโควิด  บลูบิค กรุ๊ป ...

25 ธันวาคม 2020

สร้าง Digital Transformation เริ่มต้นที่ Digital Culture

ในปัจจุบัน หลายองค์กรต่างมุ่งนำเทคโนโลยีมายกระดับศักยภาพการดำเนินงาน หรือที่เรียกกันว่าการทำ Digital Transformation แต่การจะทรานส์ฟอร์มให้สำเร็จนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นแบบ Digital Culture คือขั้นตอนแรกที่ต้องให้ความสำคัญ ในการวางรากฐานให้แข็งแกร่งเสียก่อน เพื่อให้ทั้งองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สำหรับหลักการสร้าง Digital Culture ประกอบด้วย 5 ข้อด้วยกัน 1. เข้าใจมุมมองของลูกค้ามากขึ้น กระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์มากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจจากมุมมองของลูกค้า และหาแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น 2. เปิดให้พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรระดับใดก็ตามควรมีสิทธิที่จะออกความเห็น และมีส่วนร่วมวางแนวทางการทำงานและหารือในประเด็นต่าง ๆ ภายในองค์กร แทนที่จะรับคำสั่งจากหัวหน้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการได้รับมุมมองที่แตกต่างจากบุคลากรหลากหลายฝ่าย 3. สร้างความมั่นใจ และกล้าที่จะลอง ด้วยวัฒนธรรมแบบดิจิทัลจะช่วยส...

21 ธันวาคม 2020

ReCommerce ธุรกิจที่กลับมาใหม่เมื่อเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยน

แม้การระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา นับเป็นหนึ่งในวิกฤตครั้งใหญ่สำหรับหลายธุรกิจ แต่ขณะเดียวกัน ก็ทำให้บางธุรกิจค้นพบโอกาสสร้างการเติบโตใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ที่มาแรงและอี-คอมเมิร์ซยอดขายถล่มทลายในช่วงล็อกดาวน์ ReCommerce หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าการซื้อขายของมือสอง เป็นอีกธุรกิจที่กลับมาน่าจับตามองอีกครั้ง โดยมีคาดการณ์ว่า ตลาด ReCommerce ทั่วโลกจะมีมูลค่า 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2023 จาก 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ตามข้อมูลของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล GlobalData ทำไม ReCommerce กลับมาน่าสนใจ? เทรนด์รักษ์โลกและความยั่งยืนผู้บริโภคยุคใหม่ ไม่ใช่แค่เฉพาะ Gen Z และ Millennials ตื่นตัวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ของมือสองจะกลายเป็นทางเลือกสำหรับคนรักโลก เพราะสามารถลด Carbon Footprint ซึ่งก็คือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ออกมา ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งจนถึงมือผู้บริโภคต้องการประสบการณ์มากกว่าความเป็นเจ้าของปัจจุบัน ผู้บริโภคมองหาสินค้าที่เหมาะกับการใช้งานในแต่ละโอกาสมากขึ้น หมายความว่าต...

21 ธันวาคม 2020

SWOT Analysis เครื่องมือเพื่อการวางแผนแนวทางธุรกิจอย่างมีหลักการ

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น เพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรและกระบวนการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (ความเสี่ยง) สำหรับพัฒนาความสามารถในการแข่งขันเพื่อหาข้อได้เปรียบในตลาด ไม่ว่าจะเป็นการปิดจุดอ่อน การลงทุนเพื่อส่งเสริมจุดแข็ง ไปจนถึงการหยุดลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายในองค์กร S - Strength (จุดแข็ง) การวิเคราะห์หาจุดแข็งที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่าง และสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ BTS/MRT มีผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น แนวทางการตั้งคำถามเบื้องต้นเพื่อหาจุดแข็งขององค์กร อะไรคือสิ่งที่ธุรกิจของเราได้เปรียบมากกว่าคู่แข่งสินค้าและบริการของเรามีความแตกต่างอย่างไรทีมงานของเรามีความร...

21 ธันวาคม 2020