fbpx

สร้างสมดุลอย่างไร ระหว่าง Personalization กับ Privacy

ในยุคที่สินค้าและบริการมีตัวเลือกหลากหลาย การตลาดแบบ Mass Marketing ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อีกต่อไป จึงเป็นโอกาสของการตลาดแบบ Personalized Marketing ที่จะได้เฉิดฉาย เพื่อปิด Pain Point บางอย่างในใจของลูกค้า แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ เมื่อมีข้อดีคือสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างโดนใจ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคลที่แสดงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของลูกค้าโดยละเอียด ดังนั้นการสร้างสมดุลระหว่างการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์กับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้าจึงมีความสำคัญ 3 ขั้นตอนในการทำ Personalized Marketing อย่างเหมาะสม โดยต้องเริ่มจากการปรับ Mindset ของคนในองค์กร (People) ว่าการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทุกครั้งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานจริยธรรม เปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็นกับบุคคลที่ควรต้องรู้ พร้อมทั้งบูรณาการการทำงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Process) และสุดท้ายคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการคัดเลือก จัดเก็บ และตรวจสอบข้อมูล (Technology) เพื่อลดจำนวนแรงงานซึ่งเป็น Fixed Cost ในการทำธุรกิจ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในปีนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า 3 ขั้นตอนในการทำ Personalized Marketing นั้นมาถูกทาง เพราะสอดคล้องกับเป้าหมายของ PDPA ที่ต้องการควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ลงลึกถึงรายละเอียดว่าสิ่งใดสามารถทำได้หรือไม่ได้ […]

Read More…

Security, Why should businesses be focused in 2021?

Security is the first priority of all organizations. In the new world of businesses where digital channels become their major mechanisms and information fuels the growth of organizations. Amid economic recession in 2021, business organizations are more likely to become targets of cyberattacks anytime. Such attacks can affect businesses in numerous aspects; including their processes […]

Read More…

Privacy หรือ Security ผ่านมุมมอง Digital Transformation

จากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของ Timeline ผู้ป่วย เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของทั้งตัวเองและคนรอบตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่าไม่ได้มีทุกคนที่ยินยอมจะบอกความจริงตั้งแต่ต้น และอาจจะสายเกินไปเมื่อเกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลหลายประเทศจึงเริ่มออกมาตรการในการติดตามตัวประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูล Timeline ที่แน่นอน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ อาทิ ระบบ GPS และ Bluetooth ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัว #Privacy อย่างร้อนแรง เนื่องจากเป็นทราบกันดีว่าในยุคนี้ “Data is a new oil” เราแทบไม่รู้เลยว่ากลุ่มธุรกิจหรือรัฐบาลสามารถทำอะไรกับข้อมูลของเราได้บ้าง แอปพลิเคชัน #หมอชนะ นับตัวอย่างหนึ่งของมาตรการรัฐบาลไทยเพื่อติดตามการเดินทางของประชาชนและประเมินความเสี่ยง โดยแอปฯ นี้ขออนุญาตเข้าถึงกล้อง ตำแหน่งผู้ใช้ คลังภาพและวิดีโอ รวมถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟนของเรา หลายคนจึงเกิดคำถามว่า เป็นการขอเข้าถึงข้อมูลเกินความจำเป็นหรือไม่? แล้วประเทศอื่น ๆ จัดการเรื่องPrivacy และ Security แบบใดบ้าง รัฐบาล “สิงคโปร์” หนึ่งในประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีของเอเชีย มีมาตรการที่คล้ายกันโดยใช้แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า #Tracetogether ที่เข้าถึงเพียงแค่ตำแหน่งผู้ใช้ผ่าน Bluetooth บนสมาร์ทโฟน และเตรียมแผนรองรับสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกโหลดแอปฯ […]

Read More…