fbpx

6 ลักษณะของ Data Quality พร้อมแนวทางสร้างข้อมูลคุณภาพ

Data Strategy Big Data Transformation

ในยุคที่ข้อมูลคือตัวแปรสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ ไม่ว่าจะนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการทำงาน สร้างโอกาสการขยายตัวใหม่ๆ หรือใช้ในการเทรนโมเดล AI สำหรับทำงานในหลายส่วน สิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ จึงเป็นเรื่องคุณภาพข้อมูล หรือ Data Quality นั่นเอง  Data Quality คืออะไร นิยามของ Data Quality คือระดับความถูกต้อง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ความครบถ้วนสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เก็บรวบรวม และใช้งานภายในองค์กรหรือใช้สำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะ โดยข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง  ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจหรือวางกลยุทธ์องค์กร   6 ลักษณะของ Data Quality  คำถามสำคัญในการสร้าง Data Quality คือธุรกิจจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลแบบไหนมีคุณภาพ โดยการวัดว่าข้อมูลแบบไหนมีคุณภาพ ข้อมูลนั้นๆ ควรประกอบด้วยลักษณะ 6 ข้อด้วยกัน  👉 1.) ความถูกต้อง (Accuracy)  ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ผิดพลาด สะท้อนถึงข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่  👉 2.) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Completeness)  ข้อมูลในชุดข้อมูลของเรามีความครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน ไม่ได้มีส่วนที่ตกหล่นในส่วนที่ควรจะมี 👉 3.) ความทันเวลาและเป็นปัจจุบันของข้อมูล (Timeliness and […]

Read More…

ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Data Strategy

Data Strategy Big Data Transformation

ปัจจุบัน ข้อมูลได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้องค์กร ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการดำเนินงาน ลดความผิดพลาด บริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ในองค์กรให้ดีขึ้น ไปจนถึงช่วยประกอบการตัดสินใจให้เฉียบคมกว่าเดิมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ต่อยอดการสร้างนวัตกรรมจากผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม การนำข้อมูลไปสร้างมูลค่าทางธุรกิจจำเป็นต้องผ่านกระบวนการวางแผนและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูล หรือ Data Strategy เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปสร้างผลลัพธ์ได้จริง ซึ่งหากองค์กรมีการวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลที่แข็งแกร่ง ย่อมสามารถเพิ่มศักยภาพของธุรกิจได้ในระยะยาว แน่นอนว่าการสร้าง Data Strategy เป็นกระบวนการที่ท้าทายและมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้การวางกลยุทธ์ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น  👉 ขาดเป้าหมายธุรกิจ (Business Objective) การขาดเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำข้อมูลไปใช้งาน ทำให้ขาดทิศทางในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยส่งผลตั้งแต่ทำให้องค์กรเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งไม่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายของธุรกิจในภาพรวม 👉 ขาดแนวทางด้าน Data Governance  การขาดแนวทางบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้ไม่สามารถวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลให้สร้างผลลัพธ์ได้ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับ Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูล ที่เป็นการสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพด้วยการกำหนดทิศทาง ควบคุม ให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี 👉 ขาดการรวมศูนย์ข้อมูล (Consolidated Data)  ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล ประเภทข้อมูล วิธีการจัดเก็บ รวมไปถึงความกระจัดกระจายของข้อมูลภายในองค์กร ทำให้องค์กรไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเรื่องคุณภาพของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรมีความถูกต้องมากแค่ไหน […]

Read More…

จัดการข้อมูลไม่ดีผลลัพธ์ไม่เกิด แนวทางแก้ปัญหา Data Management

Data Management Big Data Transformation

ในโลกธุรกิจทุกวันนี้ต่างเต็มไปด้วยปริมาณข้อมูลมากมายมหาศาล การบริหารจัดการข้อมูลซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่จะสร้างมูลค่าให้ธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม การจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนับเป็นเรื่องที่มีความท้าทายไม่น้อย และมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ  Bluebik จึงได้รวบรวมความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล หรือ Data Management ที่มักเกิดขึ้นกับธุรกิจ พร้อมแนวทางเบื้องต้นในแก้ไขความท้าทายในการจัดการข้อมูล  4 ความท้าทายเรื่อง Data Management  1. คุณภาพข้อมูล (Data Quality)  ความท้าทายที่เกิดขึ้น  ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน จนส่งผลให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกได้ (insight) ซึ่งจะกระทบต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ การใช้เทรนโมเดล AI สำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง หรือใช้ในกระบวนการอื่นๆ  แนวทางแก้ปัญหา สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพข้อมูล สามารถดำเนินการได้ใน 3 ส่วนหลักๆ  วางนโยบายและแนวทางด้านธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ที่จะวางกรอบนโยบายเพื่อสร้างมาตรฐานด้านข้อมูล ระบุแนวทางและกระบวนการในการจัดข้อมูล รวมกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data validation) และทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleaning) เพื่อตรวจสอบ แก้ไข หรือจัดรูปแบบข้อมูลให้มีความถูกต้องพร้อมใช้งานที่สุด วางมาตรฐานข้อมูลให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน รวมไปถึงคัดกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่จำเป็นออกไปจากชุดข้อมูลที่จะใช้วิเคราะห์หรือประมวลผล เพื่อให้ชุดข้อมูลที่จะใช้มีความสมบูรณ์ […]

Read More…

ปลดล็อคศักยภาพธุรกิจสู่ Modern Business ด้วยคลังข้อมูลสุดล้ำ ‘Data Lakehouse’

Data Lakehouse ถูกพูดถึงในวงกว้างอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมถึงรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน […]

Read More…

ถอดปัญหา..ทำไมองค์กรติดกับดักการสร้าง Data Governance

Data Governance Big Data Transformation

Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูล นับเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพด้วยการกำหนดทิศทาง ควบคุม ให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวางนโยบายการดูแลข้อมูล กำหนดกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบดูแลจัดการข้อมูล และวางแนวทางการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม การสร้างแนวทางด้าน Data Governance ให้มีประสิทธิภาพอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีความท้าทาย โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นและในช่วงที่องค์กรขยายตัวจนต้องปรับแนวทางให้สอดคล้องกัน Bluebik จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจความท้าทายที่เป็นกับดักการสร้าง Data Governance ไม่ว่าจะเป็น 1.) ขาดการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจน ความท้าทายอย่างแรกคือการขาดความชัดเจนเรื่องบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากครอบคลุมขั้นตอนหลายส่วนทั้งการสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการบริหารข้อมูลของบุคลากร การบันทึกสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลภายในกรอบการบริหารข้อมูล 2.) ขาดคุณภาพและความสม่ำเสมอของข้อมูล การขาดคุณภาพข้อมูลเป็นอีกหนึ่งความท้าทายเรื่อง Data Governance ซึ่งต้องมีการวางกระบวนการและกลไกในการระบุ ติดตาม และแก้ไขปัญหาคุณภาพข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน สอดคล้องเชื่อมโยงกันและอัพเดทอยู่สม่ำเสมอ 3.) ขาดการสร้างนโยบายและแนวทางปฏิบัติ การขาดนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้าน Data Governance เป็นอีกความท้าทายสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการและนำข้อมูลไปใช้ โดยนโยบายและแนวทางปฏิบัติควรครอบคลุมการจัดจำแนกข้อมูล (Data Classification) การวางนโยบายด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล รวมถึงการสร้างแนวทางสำหรับการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล 4.) ขาดการรักษาสมดุลระหว่างการเข้าถึงข้อมูลและความปลอดภัย ความท้าทายถัดมาคือการขาดสมดุลระหว่างการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ […]

Read More…

8 ความท้าทาย ฉุดรั้งองค์กรสร้าง Data Literacy

Data Literacy Big Data Transformation

ในยุคที่ข้อมูลกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ Data Literacy หรือความสามารถในการอ่าน ทําความเข้าใจ สื่อสารข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งการเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูล และเพิ่มความเข้าใจในการนำข้อมูลไปใช้สร้างผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้ทุกคนในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในการนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมีความท้าทายไม่น้อย Bluebik จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ 8 ความท้าทายในการสร้าง Data Literacy และองค์กรประกอบสำคัญในการบ่มเพาะ Data Literacy ให้สำเร็จ 1.) ขาดความเข้าใจข้อมูล  ความท้าทายอย่างแรกคือการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเมื่อเจอข้อมูลที่มีความซับซ้อนหรือเป็นข้อมูลเชิงสถิติ ซึ่งอาจทำให้ทำความเข้าใจข้อมูลไปผิดทาง และส่งผลให้นำข้อมูลไปใช้อย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับงาน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาคือองค์กรควรมีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเพิ่มขึ้น โดยอาจจะเน้นที่การทำให้คำศัพท์และคอนเซ็ปต์ต่างๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการอธิบายประเด็นสำคัญๆ เช่น คอนเซ็ปต์พื้นฐานของข้อมูล การวิเคราะห์เชิงสถิติ การแปลงผลข้อมูลออกมาเป็นรูปภาพ (data visualization) เป็นต้น  2.) ข้อมูลมีปริมาณมากเกินไป  เมื่อธุรกิจมีการเก็บข้อมูลมากขึ้นในทุกช่องทาง จึงไม่แปลกที่จะเกิดภาวะข้อมูลท่วมท้น (Data overload) ซึ่งหลายกรณีที่ข้อมูลมีปริมาณมากเกินไปอาจสร้างความสับสนและไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจได้จนส่งผลให้เกิด Analysis Paralysis ที่เป็นกระบวนการใช้เวลาไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลมากเกินจนทำให้การตัดสินใจบางอย่างไม่เกิดขึ้นหรือเกิดช้าเกินไป โดยแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นคือการนำเครื่องมือ Data Visualization มาปรับใช้เพื่อสรุปชุดข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วขึ้น  3.) ปัญหาในการสื่อสารข้อมูล […]

Read More…

Data Democratization แก้คอขวดปัญหาการใช้ข้อมูลในองค์กร

Digital Transformation Data Democratization

ปัจจุบัน เกือบทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลเพื่อขีดความสามารถของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนไม่น้อยอาจยังคงเผชิญปัญหาในการนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะทั้งจากการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งาน กระบวนการนำข้อมูลมาใช้งานดำเนินการยาก ไปจนถึงปัญหาเรื่องคุณภาพข้อมูล ในการแก้ปัญหาคอขวดของการใช้ข้อมูลในองค์กร คือการสร้างแนวทางให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้หรือที่เรียกว่า Data Democratization  Data Democratization คืออะไร  หากกล่าวอย่างรวบรัด Data Democratization เป็นการทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ โดยมีเป้าหมายให้พนักงานที่อาจไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเข้าใจและนำข้อมูลไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจสำคัญต่างๆ ในที่สุด  5 เสาหลัก Data Democratization  ในการผลักดันให้ Data Democratization สามารถเกิดขึ้นได้จริง องค์กรควรให้ความสำคัญกับ 5 ส่วน  Data Strategy  วางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้จริง โดยตั้งต้นจากการวางเป้าหมายธุรกิจที่ชัดเจน (Business Objective) เพื่อกำหนดทิศทางว่าจะนำข้อมูลไปใช้พัฒนาขีดความสามารถหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจในส่วนไหน การวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลไว้ตั้งแต่แรกจะช่วยทำให้องค์กรไม่หลงทาง ลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างการเติบโตในระยะยาว Data Governance ธรรมาภิบาลข้อมูลเป็นอีกแกนสำคัญในการวางมาตรฐานและแนวทางการใช้ข้อมูล โดยเป้าหมายของ Data Governance เป็นการกำหนดสิทธิ หน้าที่ และบทบาทความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในองค์กรให้ชัดเจน ซึ่งการทำ Data Governance […]

Read More…

Bluebik earned B369m, up 38%, with B71m profit and B960m backlog in Q1

Bluebik BBIK Performance 2024

Bluebik Group Public Company Limited (BBIK), a leading consultancy on end-to-end digital transformation, announced its performances in the first quarter of 2024. The company made 369 million baht in revenue, soaring by 38% year-on-year, and a net profit of 71 million baht, up by 14% from a year earlier. This results from steadily growing demand […]

Read More…

‘Data Governance’ จุดเปลี่ยนการใช้ AI และข้อมูลในธุรกิจ

Data Governance Big Data Transformation

ในโลกธุรกิจดิจิทัล ข้อมูล (Data) ถือเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Asset) ที่มิได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กร ผ่านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีกลยุทธ์ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบและช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจจากเทรนด์ธุรกิจ/เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ ‘Artificial Intelligence – AI และ Data Analytic’   แม้มูลค่าข้อมูลไต่ขึ้นสูงจุดสูงสุดใหม่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่กฎพื้นฐานของกำกับดูแลไม่เคยเปลี่ยน คือ ข้อมูลต้องมีคุณภาพ เพราะการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำและเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้องค์กรจำเป็นต้องรู้ว่าตนเองมีข้อมูลอะไร แหล่งที่มาของข้อมูล การจัดเก็บและการกำหนดเกณฑ์ทางธุรกิจเกี่ยวกับโครงสร้าง รวมถึงเนื้อหาและความถูกต้องของข้อมูล  บทบาทของข้อมูลและ Data-Driven Decision-Making รวมถึงจำนวนและความเร็วของข้อมูลที่มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้การกำกับดูแลข้อมูลหรือ Data Governance ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับบริบทและความต้องการทางธุรกิจ เห็นได้ชัดจากการใช้ข้อมูลเพื่อฝึก AI & ML และ Data Analytic ซึ่ง 4 เทรนด์ Data Governance ที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ปีนี้ มีดังต่อไปนี้ 1) ศักราชใหม่ของ Data […]

Read More…