fbpx

แข่งขันอย่างไร้ขอบเขตผ่าน Digital Ecosystem

แม้การเข้ามาของเทคโนโลยี ทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น จนตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้นโดยใช้ต้นทุนต่ำลง แต่ก็ส่งผลให้การแข่งขันในโลกธุรกิจดุเดือดยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หนึ่งในกลยุทธ์ที่หลายๆ ธุรกิจเริ่มนำมาใช้คือการผลักดันตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Ecosystem และใช้ประโยชน์จากพันธมิตรใน Ecosystem นั้น ๆ Digital Ecosystem คืออะไร ? Digital Ecosystem คือการสร้างระบบนิเวศที่มาจากการเชื่อมต่อหลายระบบ หลายบริการ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในการใช้งานหลากหลายผ่านช่องทางเดียว เช่น E-commerce Platform ชื่อดังอย่าง Lazada ที่ร่วมมือกับธนาคารหลายแห่งเพื่อเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับลูกค้า รวมถึงจับมือกับผู้ให้บริการด้าน Logistics เพื่อดำเนินการส่งของอย่างรวดเร็วให้กับลูกค้า หรือแม้กระทั่งการจับมือกับธุรกิจค้าปลีกเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น จุดเริ่มต้นของ Digital Ecosystem: เมื่อธนาคารเริ่มปรับตัวเพื่อให้บริการ Lifestyle Banking ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทุกอุตสาหกรรมล้วนได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงินนั่นเอง เมื่อก่อนธนาคารเป็นเพียงสถานที่รับฝาก ถอน โอน จ่ายเงิน แต่ในปัจจุบันรูปแบบการให้บริการของธนาคารไม่ได้จำกัดอยู่แค่แบบเดิม เพราะเมื่อ Fintech ได้เข้ามาให้บริการดังกล่าวเช่นกัน ทำให้ธนาคารเผชิญการแข่งขันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องปรับตัวไปให้บริการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Lifestyle […]

Read More…

รู้จักกับ Insights ทั้ง 3 ระดับ

รู้หรือไม่ว่าทำไมจำเป็นต้องมีการแบ่งระดับของ Insights ทั้งที่ทุกอย่างเป็นสิ่งเดียวกันที่ทุกคนมองเห็นเหมือนกัน แต่เพราะทุกคนไม่สามารถตีความออกมาได้เท่ากัน ดังนั้น การทำงานที่ดีโดยเฉพาะกับสายงานที่ปรึกษาจึงเป็นการค้นคว้าหาความรู้ให้มากกว่าที่หัวหน้าเคยรู้หรือที่ลูกค้าเคยเข้าใจ พร้อมสกัดออกมาเป็นกลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินงานที่ใช้ได้จริง ถึงจะเรียกว่างานที่ปรึกษานั้นสามารถสร้าง “Value added” ได้จริง วันนี้ Bluebik จึงขอนำเสนอ 3 ระดับของ Insights ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของลูกค้าและสามารถผลิตผลงานที่มีคุณค่าต่อองค์กรออกมาได้ 1. First level insight หรือ Analytic insightสรุปความเชื่อมโยงจากการสังเกตระหว่างชุดข้อมูล เป็น Insight ระดับแรกที่เกิดจากการสังเกตผ่านการเชื่อมโยงระหว่างชุดข้อมูล เพื่อประมวผลข้อมูลตั้งแต่การทำ Enquiry ไปจนถึงการจัดทำเป็น Dashboard สรุปข้อมูล ตัวอย่างเช่น วิเคราะห์ความถี่ของผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่น e-Commerce ในแต่ละช่วงเวลา จำนวนครั้งที่เข้า วันใดบ้าง เพศมีความแตกต่างหรือไม่ เพื่อที่จะได้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ลึกมากขึ้น และพัฒนากลับมาเป็นยอดขายที่สูงขึ้นได้ 2. Second level insight หรือ Synergic insightเชื่อมต่อจุดสังเกตสร้างเป็นความสัมพันธ์ เป็น Insight ระดับที่พูดถึงมากที่สุด เนื่องจากเป็นระดับที่เรียกว่ามีทั้งคุณค่า (Value-added) และความแตกต่างเฉพาะตัว […]

Read More…

ทำไม Big Data ถึงสำคัญสำหรับธุรกิจส่งอาหาร

1. กำหนดเวลาส่งอาหารได้แม่นยำขึ้น จัดการเวลาการจัดส่งอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ร้อนและสดใหม่ โดยพิจารณา จากความหนาแน่นของสภาพการจราจร สภาพอากาศ ปริมาณคำสั่งซื้อและจำนวนคนส่งอาหารในพื้นที่นั้น 2. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน จัดการกับออเดอร์ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่การจัดการสต็อก จำนวนคนงานที่ต้องใช้สำหรับแต่ละช่วงเวลา พร้อมประเมินราคาอาหารและการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สร้างสินค้าที่ตรงใจผู้บริโภคแต่ละคนมากที่สุด ช่วยจับคู่สินค้าให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภท และสร้างแคมเปญการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงจากข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคว่าชอบและไม่ชอบอาหารประเภทใด ในช่วงเวลาไหน ขอขอบคุณข้อมูลจาก rubygarage, bringg.comD […]

Read More…

ทำความรู้จัก Business Model Canvas

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจพื้นฐาน จะทำให้เรามองเห็นรายละเอียดต่างๆของธุรกิจตัวเองได้อย่างอย่างทะลุปรุโปร่งไม่ว่าจะเป็นทั้งจุดเด่น จุดด้อย ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ กิจกรรมหลักของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งคู่ค้าและลูกค้าคือใคร ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นธุรกิจในภาพรวมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆฝ่าย โดยผลลัพท์จากการทำ Business Model Canvas นี้จะช่วยให้ทีมงานสามารถbrainstorm เพื่อเสริมจุดแข็งและปรับจุดอ่อนรวมไปถึงการปรับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็ว เครื่องมือนี้จะเป็น Template สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แบ่งหัวข้อหลักทั้งหมด 9 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างแต่เชื่อมโยงกันที่เราต้องวิเคราะห์และหยอดลงในช่อง ดังต่อไปนี้ Customer Segments ลูกค้าเราคือใคร มีหน้าตาแบบไหน Value Propositions จุดขาย จุดเด่นที่เป็นคุณค่าของธุรกิจเรา Customer Relationships วิธีในการรักษาฐานลูกค้าเป็นแบบไหน อย่างไร Channels ช่องทางที่เข้าถึงลูกค้า Key Activities กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อให้โมเดลธุรกิจอยู่และไปต่อได้ Key Resources ทรัพยากรที่จำเป็นที่ต้องมีในการดำเนินธุรกิจ Key Partners คู่ค้าที่เกี่ยวข้อง Cost Structure ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของธุรกิจ Revenue Streams รายได้ของธุรกิจมาจากไหน มีอะไรบ้าง เมื่อมองเห็นภาพใหญ่ของ […]

Read More…

สร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

TOWS Matrix เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับการสร้างกลยุทธ์ใหม่จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร ที่มีการต่อยอดมาจาก SWOT Analysis ด้วยการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กร 2 ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่ปัจจัยภายใน – Strength (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน)ปัจจัยภายนอก – Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง) เมื่อนำปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาจับคู่กัน จะทำให้เกิดเป็นการวิเคราะห์ของ TOWS Matrix ได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. กลยุทธ์เชิงรุก (SO)เป็นการจับคู่ระหว่าง Strength และ Opportunity (ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส) กลยุทธ์ในส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากบางครั้งจุดแข็งของเราเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมองถึงโอกาสในปัจจุบันหรือโอกาสที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด หรือที่เรียกกันว่า “ถูกจุด ถูกเวลา” 2. กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO)เป็นการจับคู่ระหว่าง Weakness และ Opportunity (ใช้โอกาสลดจุดอ่อน) ทุกธุรกิจล้วนมีจุดอ่อน […]

Read More…

หลักการตลาดยุคใหม่ จาก 4P’s สู่ 4E’s

หลักการตลาดแบบดั้งเดิมที่ Edmund Jerome McCarthy ศาสตราจารย์ด้านการตลาดชื่อดังแห่งสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายไว้ตามสูตรส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ 4P’s ประกอบด้วย Product, Price, Place และ Promotion แต่หลักการที่ว่าใช้มาตั้งแต่ปี 1960 จึงไม่แปลกที่ในปัจจุบันจะมีหลักการตลาดใหม่ที่น่าสนใจ และสามารถปรับใช้ได้เหมาะกับยุคปัจจุบันมากกว่าคือ 4E’s เราจึงอยากมาเล่าให้ฟังว่าหลักการนี้คืออะไร Product >> “Experience” ทุกวันนี้ผู้บริโภคไม่ได้คาดหวังแค่สินค้าหรือบริการเท่านั้น ตัวอย่างที่เห็นกันง่ายๆ คือทำไมบางคนถึงยอมจ่ายเงินซื้อรถหรูหลักหลายล้าน หรือเลือกจ่ายแพงกว่าเพื่อนั่งเครื่องบินระดับ First class นั่นเป็นเพราะต้องการประสบการณ์ที่ดีกว่า สะดวกสบายกว่าและสร้างความสุขได้มากกว่า ซึ่งประสบการณ์ที่ว่านี้มาจากการนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์และการสร้างความรู้สึกเกี่ยวข้องกับบริษัท ดังนั้นการเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดในยุคนี้คงไม่พ้นเรื่องของการ “สร้างประสบการณ์” เพื่อให้เกิดผลลัพธ์แบบที่ผู้บริโภคจะต้อง “หลงรัก” และอยู่กับเราไปยาวนาน Price >> “Exchange” ก่อนหน้านี้การตั้งราคาสินค้ามาจากต้นทุนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมักแข่งกันด้วยการลดราคาต้นทุน เพื่อให้สินค้าสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งในตลาด แต่ในปัจจุบันเมื่อพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนไม่ได้ให้ความสำคัญที่ราคาเป็นหลัก แต่หันไปให้ความสนใจเรื่อง “ความคุ้มค่า” มากกว่า เปรียบเหมือนกับการแลกเปลี่ยนความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายระหว่างตัวธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งไม่ว่าสินค้าราคาเท่าไหร่ แต่ถ้าผู้บริโภคชั่งใจแล้วว่าคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป ก็ย่อมอยากซื้อสินค้านั้นๆ Place […]

Read More…

สรุป OKR เครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว เชื่อว่าหลายบริษัทหรือหลายคนในที่นี้คงกำลังเริ่มวุ่นกับการทำแผนธุรกิจสำหรับปีหน้า และหนึ่งในหัวข้อสำคัญคงไม่ผลเรื่องแนวทางการปฏิบัติงานและการวัดผล โดยเฉพาะการทำ KPI และ OKR วันนี้เราจึงอยากจะมาเล่าถึงการจัด OKR ที่ดีเพื่อให้องค์สามารถบรรลุเป้าหมายธุรกิจในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงต้องบอกว่า OKR (Objectives & Key Results) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถนำ OKR ไปใช้ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้จริง เราจึงขอนำเสนอแนวทางการเขียน OKR อย่างได้ผล โดย OKR มีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลักด้วยกัน 1. Objectives คือเป้าหมาย หมายถึงสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จ (What) ควรเป็นเป้าหมายหลักขององค์กร หน่วยงาน หรือทีมที่กระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันในการทำงาน โดยเป้าหมายอาจไม่จำเป็นต้องมีเพียงอย่างเดียว เช็คลิสต์การตั้งเป้าหมาย เป้าหมายมีทิศทางที่ชัดเจนหรือไม่ เป้าหมายควรสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร เป้าหมายมีความท้าทาย แต่ขณะเดียวกันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริง เป้าหมายควรอิงจากข้อมูลความเป็นจริง ไม่ล่องลอยโดยไม่มีหลักการ เป้าหมายมีกรอบเวลาในการบรรลุผลหรือไม่ 2. Key Results คือตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าหมาย ซี่งก็หมายถึงแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (How) ในการกำหนดตัวชี้วัดควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ โดยวัดจากผลลัพธ์ที่ได้ ไม่ใช่ตัวกิจกรรมที่ทำ และการกำหนดตัวชี้วัดควรอยู่ที่ราว […]

Read More…

PMO สูตรเร่งความสำเร็จทรานส์ฟอร์มองค์กร

คงต้องบอกว่าสูตรลับสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ขององค์กรแต่ละแห่งนั้นมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการมีหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อทำงานเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรโดยเฉพาะ “PMO” (Program Management Office) เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายองค์กรใช้เป็นเครื่องมือสำหรับทำ Transformation โดย PMO คือหน่วยงานเฉพาะกิจที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการโปรเจคหรือโครงการต่างๆ ในองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการบริหารโครงการและเข้าใจกลยุทธ์ขององค์กรเป็นอย่างดี ซึ่ง PMO นี้จะทำหน้าที่ทั้งประสานให้หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรทำงานสอดรับกัน และผลักดันแรงต้านต่างๆ ในการทำงานให้ลดน้อยลงไป โดยทั่วไป PMO จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน Passive PMO คือการบริหารโครงการแบบกว้างๆ และสนใจแค่คุณภาพของกระบวนการในการบริหาร เช่น เอกสารต่างๆ สถานะของโครงการ Activist PMO คือการบริหารจัดการโครงการร่วมกับผู้จัดการโครงการและผู้ทำงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องทำงานเชิงรุกและวางแผนล่วงหน้าเพื่อกำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที Accountable PMO คือการบริหารจัดการโครงการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยตัวเองตลอดทั้งกระบวนการ องค์กรส่วนใหญ่คุ้นชินกับการใช้ Passive PMO ที่มุ่งเน้นแค่การบริหารจัดการในภาพรวมเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรที่ทำ Transformation ได้สำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีทีม PMO ที่มีความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น และกระตือรือร้นสูงกว่าแบบ […]

Read More…

ข้อดีของการทำงานแบบ Agile ในยุคดิจิทัล

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลยุค องค์กรที่จะอยู่รอดไม่ได้วัดกันที่ขนาดอีกต่อไปแต่ต้องวัดกันที่ความเร็ว ตามคำกล่าวที่ว่า โลกปัจจุบันเป็นโลกของ “ปลาเร็วกินปลาช้า” และไม่มี “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” อีกต่อไป ดังนั้นหลายองค์กร จึงพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยนำแนวคิดการทำงานแบบ ‘Agile’ เข้ามาปรับใช้ หากกล่าวแบบรวบรัด Agile เป็นหลักการทำงานขององค์กรให้มีความยืดหยุ่นจนสามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามคำกล่าวที่ว่า “Fail fast, fail often” คือการผลักดันให้เกิดผลงานออกมาก่อน ถึงแม้อาจจะมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่จะความผิดพลาดนั้นจะสามารถได้รับการแก้ไขและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายองค์กรเริ่มหยิบยกการบริหารแบบใหม่ที่เน้นความคล่องตัว แบบที่เรียกว่า Agile methodology เข้ามาใช้ในการบริหารการทำงานแบบทีมที่เรียกว่า Agile squad เพื่อร่นระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลงด้วยการลด Silo หรือการทำงานแบบซ้ำซ้อนที่เกิดจากแยกส่วน ให้เกิดเป็นการทำงานเป็นทีมที่ประกอบบุคลากรจากหลายสายงาน และแบ่งงานในการส่งมอบออกเป็นทีละชิ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับความผิดพลาดได้อย่างไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานภาพรวมมากนัก จึงเกิดเป็นข้อดีการทำงานแบบ Agile ดังนี้ 1. ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อผิดพลาดได้รวดเร็วด้วยการแบ่งชิ้นงานและส่งมอบออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ช่วยให้การทำงานแบบ Agile สามารถกำหนดเป้าหมายเป็นระยะสั้นได้ หรือที่เรียกว่า Sprint ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัว และปรับเปลี่ยนการทำงานได้เรื่อย ๆ และทันท่วงที ในกรณีที่เกิดมีข้อผิดพลาด […]

Read More…

3 ปัจจัย 10 สาเหตุทำ Digital Transformation ล้มเหลว

ทุกธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยน องค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลด้วยการเปิดรับและให้บริการลูกค้า ช่องทางดิจิทัลอย่าง เว็บไซต์แอพพลิเคชั่น มือถือโซเชียล มีเดียบริการดิจิทัล เช่น Digital Banking, Digital Insurance, Virtual Assistant รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เช่น AI, Big Data, Paperless Workflow เป็นต้น ซึ่งทุกองค์กรทราบดีว่า การประสบความสำเร็จในเรื่อง Digital Transformation จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลต่อกำไร และอัตราการขยายตัวทางธุรกิจในที่สุด แต่การทำ Digital Transformation ไม่ใช่เพียงแค่ซื้อเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจ เพราะมีความซับซ้อนละเอียดอ่อนมากกว่า ทั้งในด้านรูปแบบการดำเนินธุรกิจ กระบวนการทำงาน บุคลากร รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กร ล้วนได้รับผลกระทบและต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน และนั่นทำให้กว่า 50% ขององค์กรต้องเผเชิญกับความล้มเหลวจากการทำ Digital Transformation 10 สาเหตุของความล้มเหลวในการทำ Digital Transformation ที่พบบ่อยในองค์กร อันเกิดจาก 3 ส่วนหลักคือ ผู้บริหาร […]

Read More…