fbpx

มัดรวมข้อดี Direct to Consumer เทรนด์ค้าปลีกที่สำคัญ

การตลาดแบบ Direct to consumer (DTC) คือการขายสินค้าแบบปลีกผ่านช่องทางการขายเฉพาะที่เป็นของตนเอง มีระบบรวบรวมสินค้า บริการจัดส่ง และชำระเงินอย่างสมบูรณ์ไว้ในช่องทางเดียว ไม่ได้ขายผ่านแพลตฟอร์ม e-Marketplace อาทิ Lazada หรือ Shopee ซึ่งเป็นตัวกลาง ทำให้ผู้ผลิตสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเองได้โดยตรง และสร้างความสัมพันธ์ได้ดีกว่า เทรนด์การทำการตลาดแบบ Direct to Consumer นั้นได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากช่วยลดต้นทุนของราคาสินค้า เพราะสามารถตัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวกลางลงไปได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพในการให้บริการทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้เอง พร้อมทั้งเปิดโอกาสในผู้ผลิตสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้ผ่านเครื่องมืออาทิ Digital Analytics Tools หรือ Social Media ต่าง ๆ ข้อดีที่ผู้ผลิตหันมาทำ Direct to consumer มากขึ้น ดังนี้ เพิ่มประสบการณ์การซื้อที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า แบรนด์สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มและออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าได้เองตามที่เห็นสมควร และเป็นไปตามเอกลักษณ์ของแบรนด์เอง ช่วยเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ดีขึ้น รวมไปถึงการจัดการระบบการขนส่งได้เองช่วยให้แบรนด์สามารถควมคุม และดูแลการขนส่งให้สามารถส่งถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัยเพื่อมั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมจากการเลือกซื้อสินค้าโดยตรงกับแบรนด์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การทำการตลาดแบบ Direct to consumer เปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถพูดคุยกับลูกค้าได้โดยตรง สามารถเลือกรูปแบบการสื่อสารกับลูกค้าได้เองอย่างยืดหยุ่น และเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ […]

Read More…

B2C Sector Expedites BIG Data-AI Use to Leverage Business Potential

Businesses that handle large amounts of data such as insurance, banking, telecommunications, and e-commerce should expeditiously use Big Data and AI to develop marketing tools with the Bluebik Win-Back system. The concept is to retrieve data of customers who are interest in goods and services yet making any purchases, for real-time analysis and prioritization for […]

Read More…

สร้าง Digital Transformation เริ่มต้นที่ Digital Culture

ในปัจจุบัน หลายองค์กรต่างมุ่งนำเทคโนโลยีมายกระดับศักยภาพการดำเนินงาน หรือที่เรียกกันว่าการทำ Digital Transformation แต่การจะทรานส์ฟอร์มให้สำเร็จนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นแบบ Digital Culture คือขั้นตอนแรกที่ต้องให้ความสำคัญ ในการวางรากฐานให้แข็งแกร่งเสียก่อน เพื่อให้ทั้งองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สำหรับหลักการสร้าง Digital Culture ประกอบด้วย 5 ข้อด้วยกัน 1. เข้าใจมุมมองของลูกค้ามากขึ้น กระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์มากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจจากมุมมองของลูกค้า และหาแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น 2. เปิดให้พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรระดับใดก็ตามควรมีสิทธิที่จะออกความเห็น และมีส่วนร่วมวางแนวทางการทำงานและหารือในประเด็นต่าง ๆ ภายในองค์กร แทนที่จะรับคำสั่งจากหัวหน้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการได้รับมุมมองที่แตกต่างจากบุคลากรหลากหลายฝ่าย 3. สร้างความมั่นใจ และกล้าที่จะลอง ด้วยวัฒนธรรมแบบดิจิทัลจะช่วยส่งเสริมให้บุคลากรมีความกล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการออกความเห็น และการนำเสนอผลงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาด ปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และอาจเป็นจุดเริ่มสู่การสร้างนวัตกรรมในอนาคต 4. เริ่มต้นด้วยการกระทำ มากกว่าคำพูด วัฒนธรรมแบบดิจิทัลเน้นการลงมือทำจริง เพื่อให้กระบวนการทำงานคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบจากการวางแผนงานระยะยาวรอบเดียว มาเป็นการวางแผนสั้นๆ และปรับแผนอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างรวดเร็วทันเวลา 5. สร้างคุณค่าในการทำงานเป็นทีม […]

Read More…

ReCommerce ธุรกิจที่กลับมาใหม่เมื่อเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยน

แม้การระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา นับเป็นหนึ่งในวิกฤตครั้งใหญ่สำหรับหลายธุรกิจ แต่ขณะเดียวกัน ก็ทำให้บางธุรกิจค้นพบโอกาสสร้างการเติบโตใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ที่มาแรงและอี-คอมเมิร์ซยอดขายถล่มทลายในช่วงล็อกดาวน์ ReCommerce หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าการซื้อขายของมือสอง เป็นอีกธุรกิจที่กลับมาน่าจับตามองอีกครั้ง โดยมีคาดการณ์ว่า ตลาด ReCommerce ทั่วโลกจะมีมูลค่า 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2023 จาก 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ตามข้อมูลของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล GlobalData ทำไม ReCommerce กลับมาน่าสนใจ? เทรนด์รักษ์โลกและความยั่งยืนผู้บริโภคยุคใหม่ ไม่ใช่แค่เฉพาะ Gen Z และ Millennials ตื่นตัวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ของมือสองจะกลายเป็นทางเลือกสำหรับคนรักโลก เพราะสามารถลด Carbon Footprint ซึ่งก็คือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ออกมา ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค ต้องการประสบการณ์มากกว่าความเป็นเจ้าของปัจจุบัน ผู้บริโภคมองหาสินค้าที่เหมาะกับการใช้งานในแต่ละโอกาสมากขึ้น หมายความว่าต้องการตัวเลือกสินค้าที่หลากหลายและให้ประสบการณ์ใช้งานที่แตกต่าง จึงให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของสินค้าน้อยกว่าเรื่องประสบการณ์ใช้งานที่ได้รับ ดังนั้นการลงทุนซื้อสินค้าที่ใช้แค่ครั้งเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการ อยากช้อปแต่ก็ต้องรัดเข็มขัดจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจและสร้างความไม่แน่นอนให้เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังเรื่องการใช้เงินมากขึ้น ทั้งลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลง หรือหาตัวเลือกสินค้าที่ราคาถูกกว่า จึงไม่แปลกที่ของมือสองจะได้รับความนิยมมากขึ้น Business Model […]

Read More…

SWOT Analysis เครื่องมือเพื่อการวางแผนแนวทางธุรกิจอย่างมีหลักการ

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น เพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรและกระบวนการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (ความเสี่ยง) สำหรับพัฒนาความสามารถในการแข่งขันเพื่อหาข้อได้เปรียบในตลาด ไม่ว่าจะเป็นการปิดจุดอ่อน การลงทุนเพื่อส่งเสริมจุดแข็ง ไปจนถึงการหยุดลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายในองค์กร S – Strength (จุดแข็ง) การวิเคราะห์หาจุดแข็งที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่าง และสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ BTS/MRT มีผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น แนวทางการตั้งคำถามเบื้องต้นเพื่อหาจุดแข็งขององค์กร อะไรคือสิ่งที่ธุรกิจของเราได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง สินค้าและบริการของเรามีความแตกต่างอย่างไร ทีมงานของเรามีความรู้เฉพาะด้านใดเป็นพิเศษ W – Weakness (จุดอ่อน) การวิเคราะห์ข้อด้อยที่ทำให้ธุรกิจเสียเปรียบในการแข่งขัน […]

Read More…

อีกระดับของ Digital Banking

การเปลี่ยนแปลงของ Digital Banking ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายของหลายธุรกิจ และหนึ่งในธุรกิจที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดที่สุดเลยคือกลุ่มธนาคาร ที่มีการปรับเปลี่ยนองค์กรให้กลายเป็น Digital banking มากขึ้น เพื่อให้สร้าง Digital experience ให้กับผู้ใช้งานและสามารถเข้าไปอยู่ในทุกพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้อย่างครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำธุรกรรมบนออนไลน์ เพื่อรองรับกับ New Normal ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ย้อนกลับเมื่อปี 2561 หลายธนาคารเปิดเกมการแข่งขัน Digital banking ด้วยการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ ตามด้วยการปรับปรุง Mobile banking application ให้เหมาะกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน (User experience) พร้อมทั้งทยอยปิดสาขาธนาคารที่เคยเป็นช่องทางในการให้บริการหลักลงไปเรื่อย ๆ เพื่อสื่อสารไปถึงผู้บริโภคทุกคนว่าการให้บริการของธนาคารจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และมุ่งหน้าเข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสด (Cashless) การสร้าง Ecosystem ของธุรกิจต่าง ๆ ผ่าน Digital Banking หลังจากนั้นคำว่า “Financial ecosystem” ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างมากในรูปแบบการใช้ชีวิตหรือการใช้จ่ายของผู้บริโภคทุกคน เนื่องจาก Mobile banking ได้เข้าไปอยู่ในเกือบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมในตลาด ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในกลุ่ม […]

Read More…

หลักการตลาด 4Cs มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า ลูกค้าได้กลายเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจ 4Cs หลักการตลาดที่นำเสนอโดย Robert F. Lauterborn เมื่อปี 1990 โดยมองจากมุมลูกค้าเป็นหลัก จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากหลัก 4Ps (Product, Price, Place, Promotion) วันนี้เราจึงขอมาเล่าให้ฟังว่า 4Cs มีอะไรบ้าง และจะนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างไร ⭐️ Consumer แทนที่จะผลิตสินค้าขึ้นมาก่อนแล้วค่อยหาลูกค้า ต้องมองกลับกันว่า ลูกค้าอยากได้อะไร (Consumer wants and needs) แล้วสร้างสินค้านั้นขึ้นมา แม้สินค้ามีคุณภาพดีแต่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าก็ยากที่ผลตอบรับจะดี ดังนั้น สินค้าและบริการของเราจึงควรเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ หรือแม้กระทั่งแก้ปัญหาเล็กๆ ในใจลูกค้าได้ ⭐️ Cost Cost ในที่นี้หมายถึงมุมมองของลูกค้าที่มีต่อราคาสินค้าและบริการ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ราคาของตัวสินค้า (Price) แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่ลูกค้าต้องเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าชิ้นนั้นมา ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่จอดรถ รวมถึงค่าเสียเวลาในการซื้อสินค้า นอกจากนี้ ความคุ้มค่าเมื่อเทียบระหว่างราคาสินค้าและคุณภาพที่ได้รับในมุมมองของลูกค้าก็สำคัญเช่นกัน การตั้งราคาจึงต้องสมเหตุสมผลกับคุณภาพตัวสินค้าและสอดคล้องกับ Position สินค้า เช่น สินค้าพรีเมี่ยมไม่ควรตั้งราคาต่ำจนเกินไป ⭐️ Convenience […]

Read More…

Insight น่าสนใจของ e-Commerce ในปี 2020

คงต้องบอกว่า e-Commerce ได้กลายเป็นช่องทางขายสินค้าของหลายธุรกิจไปแล้ว โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา แล้วถ้าอยากประสบความสำเร็จบนโลก e-Commerce ควรรู้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคอะไรบ้าง วันนี้เราจึงขอนำ Insight ที่น่าสนใจของทิศทาง e-Commerce ในเอเชียแปซิฟิก (APAC) ในปี 2020 มาให้อ่านกัน ขอขอบคุณข้อมูลจากรายงาน The Road to Recovery: e-Commerce in Asia Pacific 2020 โดย Rakuten Advertising […]

Read More…

Five Forces Model สุดยอดเครื่องมือวิเคราะห์ ‘การแข่งขันธุรกิจ’

Five Forces Model สุดยอดเครื่องมือวิเคราะห์ ‘การแข่งขันธุรกิจ’ จาก Harvard Business School อยากทำธุรกิจ ต้องวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ให้เป็น ก่อนที่เราจะลงมือจริงจังกับธุรกิจ นอกเหนือจากแพชชั่นในการผลิตสินค้าหรือบริการ เราควรต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขันให้เป็นก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากแบบขาดไม่ได้ เพราะมันจะบอกเราได้ตั้งแต่แรกเลยว่าธุรกิจที่เราจะเข้าไปนั้น ควรทำ หรือ ไม่ควรทำ โดยเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่ใช้กัน เรียกว่า Five Forces Model ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แรงกดดันทั้ง 5 ที่มีผลต่อสภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดยคุณ Michael E. Porter นักวิชาการด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ มีแรงกดดันอะไรบ้าง มาดูกัน 1. อำนาจต่อรองจากลูกค้า (Bargaining Power of Customers) ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ค้าต้องตระหนักว่าลูกค้าก็มีอำนาจการต่อรองเช่นกัน เช่นต่อรองขอให้ ลด แลก แจก แถม เพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยเฉพาะหากลูกค้ารายนั้นเป็นลูกค้ารายสำคัญและซื้อสินค้าในปริมาณมาก และหากผู้ค้าไม่ตอบสนองความต้องการ ลูกค้าก็อาจหนีไปซื้อสินค้ากับคนอื่นจนในที่สุดอาจไม่เหลือลูกค้าเลยก็เป็นได้ แต่หากเรายอมลดราคารายได้ก็ลดลง หรือหากเพิ่มคุณภาพสินค้าต้นทุนก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งปัจจัยทั้ง […]

Read More…

4 ปัจจัยความสำเร็จ Digital Transformation

Digital Transformation กลายเป็น buzzword ในโลกธุรกิจ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้หลายธุรกิจต้องเร่งแสวงหาทางเอาตัวรอด หลังเผชิญวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา และต้องหาทางรับมือความไม่แน่นอนที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกในอนาคต แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์ม โดยข้อมูลล่าสุดจากผลการสำรวจของนิตยสารธุรกิจ CIO ช่วงปลายปีที่แล้ว พบว่ามี 47% ของบริษัท 510 แห่ง ที่ก้าวหน้าในการทรานส์ฟอร์มองค์กร ดังนั้น หากอยากประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์ม ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับปัจจัย 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูล องค์กรที่ล้มเหลวในการทรานส์ฟอร์มส่วนใหญ่ ยังไม่มีมาตรการหรือแนวทางการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในกรณีเลวร้ายที่สุดคือข้อมูลเหล่านั้นไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งปัญหามาจากการไม่สื่อสารกันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายไอทีและฝ่ายปฏิบัติการ (FrontLine Operations) ที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลและรูปแบบข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ 2. กระบวนการ การยึดติดกับแนวคิดแบบลำดับชั้น โดยมองแค่หน้าที่ความรับผิดชอบเป็นส่วนๆ และขาดการมองภาพรวมแบบบูรณาการ (end-to-end) การกระทำเช่นนี้คือหายนะของการทรานส์ฟอร์มองค์กร หากต้องการประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์ม องค์กรต้องอาศัยความคิดแบบ end-to-end โดยมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อย่างไร้รอยต่อของกระบวนการทำงานขององค์กรแบบ cross-functional 3. เทคโนโลยี น่าเศร้าที่หลายองค์กรมองการทรานส์ฟอร์มองค์กรว่าเป็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวและเน้นทุ่มเม็ดเงินลงในเทคโนโลยีที่มีกระแสมาแรง โดยปราศจากการศึกษาและความเข้าใจเทคโนโลยีนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น IoT […]

Read More…