fbpx

เจาะเหตุผล ทำไม Data Governance ไม่เห็นผลจริงในองค์กร

Data Governance Big Data Transformation

ในการวางกลยุทธ์ข้อมูลและแนวทางบริหารจัดการให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ถือเป็นรากฐานสำคัญ อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนไม่น้อยยังคงเผชิญความท้าทายบางประการที่ทำให้การทำ Data Governance ยังไม่ราบรื่นเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้ยังคงไม่สามารถนำข้อมูลมาสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจได้จริง วันนี้ บลูบิค จึงอยากชวนมาดู 4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ Data Governance ยังไปไม่ถึงฝั่ง พร้อมแนวทางเบื้องต้นในการผลักดันให้การกำกับดูแลข้อมูลภายในองค์กรดำเนินการได้จริง  1.) ขาดการสื่อสารที่ชัดเจนและการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง  การริเริ่มการทำ Data Governance ควรมีกระบวนการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management) ครอบคลุมทั้งเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย เพราะ Data Governance ไม่ได้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วข้ามคืนแต่ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่เฉพาะฝ่ายไอทีเท่านั้น แต่รวมถึงฝ่ายธุรกิจ และทีมข้อมูล หากทุกฝ่ายไม่ได้เข้าใจและมองเห็นภาพเดียวกัน จะเป็นเรื่องยากในการร่วมมือทำงานและทำงานอย่างสอดคล้องกัน  การมีกระบวนการเรื่อง Change Management ที่ดีจะช่วยลดแรงต้านจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการจัดการข้อมูล และที่สำคัญคือแนวทางทำงานกับข้อมูลที่อาจต่างไปจากในอดีต อย่างการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล กระบวนการเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้ เป็นต้น  2.) ขาดเป้าหมายและตัววัดผลที่ชัดเจน  Data Governance ยากที่จะเกิดผลลัพธ์จริงในองค์กร […]

Read More…

เปิด 4 เทรนด์ Data Governance เมื่อโลกเปลี่ยน ธุรกิจควรปรับอย่างไร?

ในยุคที่ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์สำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ องค์กรต่างๆ จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารข้อมูล ด้วยการวางธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ที่เป็นแนวทางสร้างมาตรฐานและกำกับดูแลข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง อัพเดตเป็นปัจจุบัน และนำไปใช้ต่อยอดอย่างการเทรนโมเดล AI หรือใช้สำหรับงาน Business Intelligence อื่นๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจ >> อ่านเพิ่มเติม: Data Governance คืออะไร สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร…ไปหาคำตอบกัน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางโลกธุรกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้แนวทางบางอย่างในการทำ Data Governance เองก็เปลี่ยนไปเช่นกัน วันนี้ เราจึงอยากชวนมาดู 4 เทรนด์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Data Governance 1. Cloud-based Data Governance ในปัจจุบัน การใช้ระบบคลาวด์ (Cloud) กำลังเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแนวโน้มนี้มีผลต่อเรื่องการทำ Data Governance ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในแง่การค้นหา ติดตาม และจัดระเบียบข้อมูล ทำให้ Cloud-based Data Governance กลายเป็นเทรนด์หนึ่งที่จะช่วยให้การกำกับดูแลข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเมื่อองค์กรย้ายข้อมูลและระบบขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ […]

Read More…

6 ลักษณะของ Data Quality พร้อมแนวทางสร้างข้อมูลคุณภาพ

Data Strategy Big Data Transformation

ในยุคที่ข้อมูลคือตัวแปรสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ ไม่ว่าจะนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการทำงาน สร้างโอกาสการขยายตัวใหม่ๆ หรือใช้ในการเทรนโมเดล AI สำหรับทำงานในหลายส่วน สิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ จึงเป็นเรื่องคุณภาพข้อมูล หรือ Data Quality นั่นเอง  Data Quality คืออะไร นิยามของ Data Quality คือระดับความถูกต้อง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ความครบถ้วนสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เก็บรวบรวม และใช้งานภายในองค์กรหรือใช้สำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะ โดยข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง  ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจหรือวางกลยุทธ์องค์กร   6 ลักษณะของ Data Quality  คำถามสำคัญในการสร้าง Data Quality คือธุรกิจจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลแบบไหนมีคุณภาพ โดยการวัดว่าข้อมูลแบบไหนมีคุณภาพ ข้อมูลนั้นๆ ควรประกอบด้วยลักษณะ 6 ข้อด้วยกัน  👉 1.) ความถูกต้อง (Accuracy)  ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ผิดพลาด สะท้อนถึงข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่  👉 2.) ความครบถ้วนสมบูรณ์ (Completeness)  ข้อมูลในชุดข้อมูลของเรามีความครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน ไม่ได้มีส่วนที่ตกหล่นในส่วนที่ควรจะมี 👉 3.) ความทันเวลาและเป็นปัจจุบันของข้อมูล (Timeliness and […]

Read More…

ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Data Strategy

Data Strategy Big Data Transformation

ปัจจุบัน ข้อมูลได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้องค์กร ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการดำเนินงาน ลดความผิดพลาด บริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ในองค์กรให้ดีขึ้น ไปจนถึงช่วยประกอบการตัดสินใจให้เฉียบคมกว่าเดิมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ต่อยอดการสร้างนวัตกรรมจากผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม การนำข้อมูลไปสร้างมูลค่าทางธุรกิจจำเป็นต้องผ่านกระบวนการวางแผนและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูล หรือ Data Strategy เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปสร้างผลลัพธ์ได้จริง ซึ่งหากองค์กรมีการวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลที่แข็งแกร่ง ย่อมสามารถเพิ่มศักยภาพของธุรกิจได้ในระยะยาว แน่นอนว่าการสร้าง Data Strategy เป็นกระบวนการที่ท้าทายและมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้การวางกลยุทธ์ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น  👉 ขาดเป้าหมายธุรกิจ (Business Objective) การขาดเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำข้อมูลไปใช้งาน ทำให้ขาดทิศทางในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยส่งผลตั้งแต่ทำให้องค์กรเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งไม่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายของธุรกิจในภาพรวม 👉 ขาดแนวทางด้าน Data Governance  การขาดแนวทางบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้ไม่สามารถวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลให้สร้างผลลัพธ์ได้ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับ Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูล ที่เป็นการสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพด้วยการกำหนดทิศทาง ควบคุม ให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี 👉 ขาดการรวมศูนย์ข้อมูล (Consolidated Data)  ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล ประเภทข้อมูล วิธีการจัดเก็บ รวมไปถึงความกระจัดกระจายของข้อมูลภายในองค์กร ทำให้องค์กรไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเรื่องคุณภาพของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรมีความถูกต้องมากแค่ไหน […]

Read More…

จัดการข้อมูลไม่ดีผลลัพธ์ไม่เกิด แนวทางแก้ปัญหา Data Management

Data Management Big Data Transformation

ในโลกธุรกิจทุกวันนี้ต่างเต็มไปด้วยปริมาณข้อมูลมากมายมหาศาล การบริหารจัดการข้อมูลซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่จะสร้างมูลค่าให้ธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม การจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนับเป็นเรื่องที่มีความท้าทายไม่น้อย และมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ  Bluebik จึงได้รวบรวมความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล หรือ Data Management ที่มักเกิดขึ้นกับธุรกิจ พร้อมแนวทางเบื้องต้นในแก้ไขความท้าทายในการจัดการข้อมูล  4 ความท้าทายเรื่อง Data Management  1. คุณภาพข้อมูล (Data Quality)  ความท้าทายที่เกิดขึ้น  ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน จนส่งผลให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกได้ (insight) ซึ่งจะกระทบต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ การใช้เทรนโมเดล AI สำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง หรือใช้ในกระบวนการอื่นๆ  แนวทางแก้ปัญหา สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพข้อมูล สามารถดำเนินการได้ใน 3 ส่วนหลักๆ  วางนโยบายและแนวทางด้านธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ที่จะวางกรอบนโยบายเพื่อสร้างมาตรฐานด้านข้อมูล ระบุแนวทางและกระบวนการในการจัดข้อมูล รวมกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data validation) และทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleaning) เพื่อตรวจสอบ แก้ไข หรือจัดรูปแบบข้อมูลให้มีความถูกต้องพร้อมใช้งานที่สุด วางมาตรฐานข้อมูลให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน รวมไปถึงคัดกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่จำเป็นออกไปจากชุดข้อมูลที่จะใช้วิเคราะห์หรือประมวลผล เพื่อให้ชุดข้อมูลที่จะใช้มีความสมบูรณ์ […]

Read More…

ปลดล็อคศักยภาพธุรกิจสู่ Modern Business ด้วยคลังข้อมูลสุดล้ำ ‘Data Lakehouse’

Data Lakehouse ถูกพูดถึงในวงกว้างอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมถึงรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน […]

Read More…

ถอดปัญหา..ทำไมองค์กรติดกับดักการสร้าง Data Governance

Data Governance Big Data Transformation

Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูล นับเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพด้วยการกำหนดทิศทาง ควบคุม ให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวางนโยบายการดูแลข้อมูล กำหนดกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบดูแลจัดการข้อมูล และวางแนวทางการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม การสร้างแนวทางด้าน Data Governance ให้มีประสิทธิภาพอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีความท้าทาย โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นและในช่วงที่องค์กรขยายตัวจนต้องปรับแนวทางให้สอดคล้องกัน Bluebik จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจความท้าทายที่เป็นกับดักการสร้าง Data Governance ไม่ว่าจะเป็น 1.) ขาดการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจน ความท้าทายอย่างแรกคือการขาดความชัดเจนเรื่องบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากครอบคลุมขั้นตอนหลายส่วนทั้งการสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านการบริหารข้อมูลของบุคลากร การบันทึกสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลภายในกรอบการบริหารข้อมูล 2.) ขาดคุณภาพและความสม่ำเสมอของข้อมูล การขาดคุณภาพข้อมูลเป็นอีกหนึ่งความท้าทายเรื่อง Data Governance ซึ่งต้องมีการวางกระบวนการและกลไกในการระบุ ติดตาม และแก้ไขปัญหาคุณภาพข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน สอดคล้องเชื่อมโยงกันและอัพเดทอยู่สม่ำเสมอ 3.) ขาดการสร้างนโยบายและแนวทางปฏิบัติ การขาดนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้าน Data Governance เป็นอีกความท้าทายสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการและนำข้อมูลไปใช้ โดยนโยบายและแนวทางปฏิบัติควรครอบคลุมการจัดจำแนกข้อมูล (Data Classification) การวางนโยบายด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล รวมถึงการสร้างแนวทางสำหรับการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล 4.) ขาดการรักษาสมดุลระหว่างการเข้าถึงข้อมูลและความปลอดภัย ความท้าทายถัดมาคือการขาดสมดุลระหว่างการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ […]

Read More…

8 ความท้าทาย ฉุดรั้งองค์กรสร้าง Data Literacy

Data Literacy Big Data Transformation

ในยุคที่ข้อมูลกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ Data Literacy หรือความสามารถในการอ่าน ทําความเข้าใจ สื่อสารข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งการเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูล และเพิ่มความเข้าใจในการนำข้อมูลไปใช้สร้างผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้ทุกคนในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในการนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมีความท้าทายไม่น้อย Bluebik จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ 8 ความท้าทายในการสร้าง Data Literacy และองค์กรประกอบสำคัญในการบ่มเพาะ Data Literacy ให้สำเร็จ 1.) ขาดความเข้าใจข้อมูล  ความท้าทายอย่างแรกคือการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเมื่อเจอข้อมูลที่มีความซับซ้อนหรือเป็นข้อมูลเชิงสถิติ ซึ่งอาจทำให้ทำความเข้าใจข้อมูลไปผิดทาง และส่งผลให้นำข้อมูลไปใช้อย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับงาน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาคือองค์กรควรมีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเพิ่มขึ้น โดยอาจจะเน้นที่การทำให้คำศัพท์และคอนเซ็ปต์ต่างๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการอธิบายประเด็นสำคัญๆ เช่น คอนเซ็ปต์พื้นฐานของข้อมูล การวิเคราะห์เชิงสถิติ การแปลงผลข้อมูลออกมาเป็นรูปภาพ (data visualization) เป็นต้น  2.) ข้อมูลมีปริมาณมากเกินไป  เมื่อธุรกิจมีการเก็บข้อมูลมากขึ้นในทุกช่องทาง จึงไม่แปลกที่จะเกิดภาวะข้อมูลท่วมท้น (Data overload) ซึ่งหลายกรณีที่ข้อมูลมีปริมาณมากเกินไปอาจสร้างความสับสนและไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจได้จนส่งผลให้เกิด Analysis Paralysis ที่เป็นกระบวนการใช้เวลาไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลมากเกินจนทำให้การตัดสินใจบางอย่างไม่เกิดขึ้นหรือเกิดช้าเกินไป โดยแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นคือการนำเครื่องมือ Data Visualization มาปรับใช้เพื่อสรุปชุดข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วขึ้น  3.) ปัญหาในการสื่อสารข้อมูล […]

Read More…

Data Democratization แก้คอขวดปัญหาการใช้ข้อมูลในองค์กร

Digital Transformation Data Democratization

ปัจจุบัน เกือบทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลเพื่อขีดความสามารถของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนไม่น้อยอาจยังคงเผชิญปัญหาในการนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะทั้งจากการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งาน กระบวนการนำข้อมูลมาใช้งานดำเนินการยาก ไปจนถึงปัญหาเรื่องคุณภาพข้อมูล ในการแก้ปัญหาคอขวดของการใช้ข้อมูลในองค์กร คือการสร้างแนวทางให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้หรือที่เรียกว่า Data Democratization  Data Democratization คืออะไร  หากกล่าวอย่างรวบรัด Data Democratization เป็นการทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ โดยมีเป้าหมายให้พนักงานที่อาจไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเข้าใจและนำข้อมูลไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจสำคัญต่างๆ ในที่สุด  5 เสาหลัก Data Democratization  ในการผลักดันให้ Data Democratization สามารถเกิดขึ้นได้จริง องค์กรควรให้ความสำคัญกับ 5 ส่วน  Data Strategy  วางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้จริง โดยตั้งต้นจากการวางเป้าหมายธุรกิจที่ชัดเจน (Business Objective) เพื่อกำหนดทิศทางว่าจะนำข้อมูลไปใช้พัฒนาขีดความสามารถหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจในส่วนไหน การวางกลยุทธ์การใช้ข้อมูลไว้ตั้งแต่แรกจะช่วยทำให้องค์กรไม่หลงทาง ลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างการเติบโตในระยะยาว Data Governance ธรรมาภิบาลข้อมูลเป็นอีกแกนสำคัญในการวางมาตรฐานและแนวทางการใช้ข้อมูล โดยเป้าหมายของ Data Governance เป็นการกำหนดสิทธิ หน้าที่ และบทบาทความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในองค์กรให้ชัดเจน ซึ่งการทำ Data Governance […]

Read More…

4 Things Business Need to Know for Successful Data-Driven Marketing

In the new world of business, many people agree that data-driven marketing informs our understanding about customers, gives us clearer data about customers’ preferences and demand and has customers buy our products and services consistently. But the question is how businesses should start data-driven marketing. Today worldwide businesses attach importance to and seriously invest in […]

Read More…