เมื่อเทคโนโลยี DL ได้แทรกเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทั้งแบบรู้ตัว – ไม่รู้ว่า และทำให้รู้สึก ว้าว! บ่อยครั้งเมื่อ DL ก้าวข้ามขีดความสามารถบางอย่างของตัวเองได้ อย่างกรณีที่ DL ของ AlphaGo สามารถเอาชนะการแข่งขันหมากล้อมกับแชมป์โลก ลีเซดอล แบบขาดลอยถึง 4:1 จึงไม่น่าแปลกใจว่า DL อยู่ภายใต้สปอร์ตไลท์ของความสนใจทั้งในและนอกแวดวงเทคโนโลยีอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ บลูบิค จึงได้ทำการรวบรวมคำศัพท์พื้นฐาน DL เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มของเทคโนโลยี AI ที่กำลังมาแรงที่สุด เพื่อให้คุณรู้จักและเข้าใจ DL มากขึ้น เพราะนี่เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้ AI ฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการจำลองรูปแบบการประมวลผลของสมองมนุษย์เมื่อได้รับข้อมูลมาจะมีการกลั่นกรองข้อมูลเป็นชั้นๆ แล้วสรุปออกมาเป็น output ที่ผ่านการตรวจสอบ และสามารถเรียนรู้และปรับปรุงการประมวลผลจากคาดการณ์ที่ผิดพลาด ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีความสำคัญต่ออนาคตของการทำธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมรวมถึงชีวิตประจำวันของเราทุกคน Deep Learning – DL องค์ความรู้ หรือ ศาสตร์ในสาขาหนึ่งของ AI เป็น Subset ของ Machine learning […]
Tag: Data Analytics
มัดรวม 12 คำศัพท์สาย Artificial Intelligence – AI ที่คนสายเทคไม่ควรพลาด ep.1: Computer Vision
เมื่อโลกการตลาดมีภาษาของการตลาด และในวงการหุ้นหรือการลงทุนก็มีศัพท์เทคนิคเฉพาะที่นักลงทุนหรือ Trader ต้องรู้แล้วเข้าใจ ฉะนั้น คนที่สนใจเทคโนโลยี AI จึงจำเป็นต้องรู้คำศัพท์พื้นฐาน ถ้าอยากเข้าสู่วงการนักพัฒนาสายเทค หรือ Data Scientist เพราะ ‘ถ้าไม่รู้…เดี๋ยวจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง’ วันนี้ บลูบิค จึงได้ทำการรวบรวมคำศัพท์พื้นฐานของ Computer Vision ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาย่อยของ AI ที่กำลังมาแรง เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็น จดจำ ทำความเข้าใจและตอบสนองต่อข้อมูลประเภทรูปภาพ ซึ่งเทคโนโลยีนี้สำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งาน AI ในหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนา Self-Driving Car และ Facial Recognition Technology เป็นต้น Computer Vision องค์ความรู้ หรือ ศาสตร์ในสาขาหนึ่งของ AI ที่ว่าด้วยการพยายามทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ เรียนรู้ และแปรผลข้อมูลประเภทภาพ วีดีโอ หรือ visual input ได้ดีเทียบเท่าหรือมากกว่ามนุษย์ Pixel มาจากการผสมกันของคำว่า “Picture Element” […]
เปิดความเชื่อมโยง Cryptocurrency และตลาดทุน ผ่านมุมมองการวิเคราะห์ Data Analytics
กระโจนเข้าหามูลค่าจากสิ่งที่ไม่มีวันคาดเดาได้ ในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา ไม่ว่าเราจะรับข่าวสารผ่านช่องทางไหนก็ตาม มีอันต้องพบข่าวสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวเกี่ยวกับ “สกุลเงินเข้ารหัส” (cryptocurrency) กระแสข่าวที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมาอาจสร้างภาพความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า “cryptocurrency ก้าวเข้ามาเป็นตัวเลือกให้นักลงทุนและทดแทนสินทรัพย์กระแสหลัก” อาทิเช่น หุ้น ทอง หรือ น้ำมันไปเสียแล้ว แต่ถึงจะมีข่าวการสร้างกำไรเป็นอันมากของนักลงทุน แต่โดยภาพรวมกลุ่ม cryptocurrency อาจไม่ได้รับหรือส่งอิทธิพลต่อสินทรัพย์กระแสหลักนัก และยังถือเป็นเพียงสินทรัพย์เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ราวกับเป็นวัฏจักร ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเกิดวิกฤติ ถือเป็นเวลาที่มีธุรกิจประเภทใหม่ๆ เกิดขึ้น ในวิกฤติการเงินปี 2008 cryptocurrency ก็เริ่มแพร่หลายในต่างประเทศ จนกระทั่ง COVID-19 มาทำลายบรรยากาศทางเศรษฐกิจในสองปีที่ผ่านมา กระแสการเปิดกว้างในการลงทุนและการยอมรับ cryptocurrency ก็เริ่มเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เพราะการเข้าถึงที่ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีทุนทรัพย์มากนัก จึงดึงดูดนักลงทุนรายใหม่จำนวนไม่น้อยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ความกระตือรือร้นของการลงทุนคงเห็นได้จากจำนวนผู้ลงทะเบียนซื้อ-ขาย และปริมาณการซื้อ-ขาย ที่ขยายตัวขึ้นเป็นอันมาก cryptocurrency ถูกมองว่าเป็นกลุ่มสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร และราคามีความผันผวนสูง แต่ในระยะที่ผ่านมามีรายงานว่า ราคา cryptocurrency เริ่มเคลื่อนไหวสอดคล้องไปในทิศทางและจังหวะเวลาเดียวกัน กับราคาสินทรัพย์กระแสหลัก เช่น ดัชนีหุ้นในกลุ่ม S&P 500 น้ำมันดิบ หรือทองคำ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น ในสถานการณ์ที่ผันผวนสูง […]
Deep Reinforcement Learning แบบไม่ Deep
ในบรรดา subfields ของ machine learning ณ ตอนนี้คงไม่มีอะไรที่กำลังเป็นกระแสมากไปกว่า reinforce-ment learning อีกแล้ว (ต่อไปจะขอเรียกย่อว่า RL) ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปซัก 2-3 ปีที่แล้ว ตำแหน่งนี้ยังคงเป็นของ deep learning อยู่เลย ชัดเจนว่าโลกเปลี่ยนเร็วแค่ไหนกัน บทความนี้ตั้งใจเล่าแบบง่ายๆให้คนที่พอมีพื้นเกี่ยวกับ machine learning มาบ้าง ได้เข้าใจว่า RL คืออะไร แล้ว fit in อยู่ตรงไหนใน field ของวิชานี้ Supervised, Unsupervised and RL คงไม่ขอ deep dive มากใน 2 อันแรก Supervised คือ เรารู้ค่าของ output variables ส่วนถ้าเป็น Un-supervised คือ เราไม่รู้ ในขณะที่ RL นั้น […]
สะเดาะกุญแจแห่งความกลัว สู่การอุดช่องโหว่ภัยคุกคามไซเบอร์
องค์กรยุคใหม่มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้นจากการหันไปขยายขอบเขตการดำเนินงานบนโลกออนไลน์ ซึ่ง “ความน่ากลัว” ก็คือหลายองค์กรมักมองโลกดิจิทัลเพียงด้านเดียว ในแง่การเป็นโอกาสขยายธุรกิจและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ โดยลืมไปว่าในโอกาสย่อมมีความเสี่ยงแฝงอยู่ รายงานจาก World Economic Forum ระบุว่า เกือบ 80% ขององค์กรที่มุ่งขยายการดำเนินงานเข้าสู่โลกดิจิทัล ยังไม่มีมาตรการรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพียงพอ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้อาชญากรรมไซเบอร์ยิ่งทะยานสูงขึ้น คาดการณ์ว่าตัวเลขความเสียหายทั่วโลกจะอยู่ที่ 180 ล้านล้านบาทต่อปี ภายในปี 2564 และขึ้นไปแตะระดับ 315 ล้านล้านบาทภายในปี 2568 ขณะที่ต้องใช้เวลาถึง 280 วันในการสืบหาต้นตอและจัดการภัยคุกคาม อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกู้คืนข้อมูลสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการป้องกันเกือบ 10 เท่า ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มความปลอดภัยให้ธุรกิจผ่าน “กุญแจ 3 ดอก” ที่จะมาช่วยอุดช่องโหว่ ลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ กุญแจดอกที่ 1 บุคลากร : จุดอ่อนสำคัญที่กลายเป็นเป้าโจมตีหลักของแฮกเกอร์ ทำให้องค์กรต้องเริ่มป้องกันด้วยการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยให้พนักงานผ่านการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องภัยไซเบอร์ และให้สิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อจูงใจให้พนักงานเห็นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยองค์กรมากขึ้น กุญแจดอกที่ 2 กระบวนการ : วางแนวทางกำกับดูแลความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ เช่น การเพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงข้อมูล และการออกมาตรการดูแลความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยกำหนดทีมที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอย่างชัดเจน […]
‘Data’ ฟันเฟืองขับเคลื่อนโลกการตลาด
เป็นที่ทราบกันดีในแวดวงนักการตลาดว่าผลิตภัณฑ์เกิดใหม่จะต้องก้าวเข้าสู่วงจรชีวิต 4 ช่วง (Product Life Cycle) ตั้งแต่ช่วงแนะนำสินค้า (Introduction) ช่วงเติบโต (Growth) ช่วงอิ่มตัว (Mature) และช่วงถดถอย (Decline) ที่เตรียมจะออกจากตลาด ซึ่งในอดีตวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือเกิดการยกระดับเทคโนโลยีจนทำให้ผลิตภัณฑ์เดิมล้าสมัย แต่เพราะปัจจุบันมีการนำศาสตร์ด้านข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับการตลาด จึงสามารถนำผลการวิเคราะห์ Life Cycle มาวางกลยุทธ์ในการจัดการกับผลิตภัณฑ์ช่วงอิ่มตัวหรือช่วงขาลงได้ดีขึ้น ธุรกิจเริ่มนำข้อมูลด้านพฤติกรรมของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อหาความเป็นไปได้ว่าสินค้าออกใหม่รูปแบบใดที่ลูกค้ามีแนวโน้มจะให้ความสนใจ จากนั้นจะคาดการณ์อุปสงค์ที่ลูกค้ามีต่อสินค้า (Demand Forecasting) ด้วย Machine Learning เพื่อประเมินว่าตั้งแต่ช่วงแนะนำจนถึงช่วงเติบโตของสินค้านั้นต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด จะได้เร่งวางกลยุทธ์ด้านการตลาดมาอุดช่องโหว่ เพื่อย่นระยะเวลาให้สินค้าดังกล่าวสามารถเข้าสู่ช่วงการเติบโตได้เร็วที่สุด โดยกลยุทธ์จะครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบการสื่อสารการตลาดกับลูกค้า การบริหารจัดการสต็อกให้สอดรับกับอุปสงค์ของลูกค้าที่ประเมินไว้ จนถึงการวางแผนการกระจายสินค้าด้วยเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดและสามารถประหยัดต้นทุนได้มากที่สุด จากนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงอิ่มตัวอาจต้องเริ่มมองหาตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เร่งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงอาจต้องหันไปทำการตลาดบนช่องทางออนไลน์เป็นหลักเพื่อลดค่าใช้จ่าย และสุดท้ายเมื่อเข้าสู่ช่วงถดถอย ต้องเร่งระบายสินค้าให้เร็วที่สุด โดยอาจเน้นที่กลุ่มลูกค้า loyalty เป็นหลัก ดังนั้นการมี Big Data ที่ทำให้นักการตลาดเข้าใจ Insights และพฤติกรรมของลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็น Amazon […]
สัมภาษณ์นักเรียนทุน Bluebik Scholarship Program
นอกจากบลูบิคจะมีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรขนาดใหญ่มากมาย เรายังให้ความสำคัญกับการเติบโตของพนักงานภายในองค์กรด้วยเช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาร่วมอ่านบทสัมภาษณ์ของ แบงค์ – ธนภัทร นิลวัชรมณี Senior Data Consultant จากแผนก Advanced Insight (AI) บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับทุนสนับสนุนเต็มจำนวนในการเรียนต่อปริญญาโทคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MBA) ตลอดหลักสูตรระยะเวลา 2 ปี รวมถึงมุมมองในการนำความรู้ต่าง ๆ กลับมาเพิ่มศักยภาพให้กับบลูบิค เริ่มต้นการร่วมงานกับบลูบิค ก่อนอื่นต้องเล่าก่อนว่าบลูบิคเป็นสถานที่ทำงานที่แรกของแบงค์เลย แล้วก็คิดว่าเราตัดสินใจไม่ผิดที่ได้เลือกที่นี่ จริง ๆ เริ่มต้นจากการที่เราเรียนจบจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เอกการจัดการ ซึ่งมีความชื่นชอบในวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล (Database) และวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ในปี 2019 ประกอบกับช่วงนั้นบลูบิคกำลังขยายบริการด้าน Advanced Analytics & Big Data เราจึงค่อนข้างสนใจและเป็นโอกาสที่ได้เข้ามาร่วมงานกับบลูบิค Data Consulting ที่บลูบิคทำอะไรบ้าง […]