fbpx

How to ให้ Feedback อย่างไรให้เข้าใจผู้รับ

people skill feedback mentor

หนึ่งในปัญหายอดฮิตของการให้ Feedback ที่คนเป็นหัวหน้ามักพบเจอคือ ลูกทีมมีความรู้สึกต่อต้าน หรือไม่พอใจ และไม่อยากที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า การให้ Feedback ไม่เพียงแต่จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเรื่องผลการปฏิบัติงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแสดงถึงความใส่ใจ และเห็นอกเห็นใจต่อลูกทีมของเราอีกด้วย วิธีการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพ  1. ตั้ง Goal ร่วมกันให้ชัดเจน สิ่งแรกที่หัวหน้าควรทำร่วมกันกับลูกทีมคือ การกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าเราทำงานเพื่อเป้าหมายอะไร มีเกณฑ์การประเมินผลงานอย่างไร สิ่งใดควรหรือไม่ควรกระทำ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่หัวหน้าควรระวังคือ การเป็นฝ่ายกำหนดเป้าหมายแต่เพียงฝ่ายเดียว ละเลยความคิดเห็นของลูกน้อง จนเหมือนเป็นการออกคำสั่ง ซึ่งอาจทำให้ลูกทีมไม่มีความรู้สึกร่วมกับเป้าหมายนั้นและรู้สึกต่อต้านในใจ  2. ให้ Feedback อย่างสม่ำเสมอ  การให้ Feedback ควรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการประเมินผลงานรายย่อยแต่ละชิ้น เพราะหากทิ้งช่วงไว้นาน ลูกทีมอาจจะเกิดความรู้สึกว่าเหตุใดจึงไม่บอกให้เร็วกว่านี้เพื่อที่จะได้รีบปรับปรุง สิ่งใดที่ลูกทีมของเราทำได้ดีก็ควรชื่นชม แต่สิ่งใดที่ยังสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ก็ควรรีบแนะนำเพื่อให้ผลงานดีขึ้น โดยที่ Bluebik เราสนับสนุนให้หัวหน้ามีการนัด Catch up และ/หรือ ให้ Feedback กับพนักงานใหม่ในความถี่ระดับ Bi-weekly (สองสัปดาห์ครั้ง) เพื่อให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ส่วนพนักงานปัจจุบัน […]

Read More…

“If You're Not as Smart as the Others, Put In More Effort.”

Bluebik People Alumni

“In middle school, there were 121 students in my class, and I ranked academically at 119.” You wouldn’t want to believe your ears if you knew Teeratat “Tat” Arayakarnkul because he’s now an MBA candidate at Columbia University, one of the most prestigious ivy league institutions in the US.  Before this, Tat worked in marketing […]

Read More…

“Studying an MBA is not as in-depth as learning at Bluebik.” Anna Chitman, ex-Senior Manager, Talks the Path to Ivy League and Amazon

Everybody knows that getting into an ivy league college and a leading tech company in the US is no easy task. It requires extreme talent and preparation. If anyone goes to Anna Chitman, an ex-Senior Manager, for advice, she’d tell you to “come work at Bluebik.” Today Anna is a Cornell University’s Tech MBA alumnus […]

Read More…

เชี่ยวแบบ ‘ชาญ’ ด้วย 2 ทักษะที่ไม่มีวันตกยุค

CRM Tech Talent Skill

“การพัฒนาตัวเองไม่ใช่การทำครั้งเดียวจบ ต้องทำต่อๆ กันเรื่อยๆ”  ประโยคนี้น่าจะบอกเล่ามุมมองที่ ‘ชาญ’ มีต่อการเติบโตบนเส้นทางสายคอนซัลแทนต์ได้ดีที่สุด ย้อนกลับไปราว 7 ปีก่อน ชาญเองก็เป็นเด็กจบใหม่คนหนึ่งที่ยังไม่รู้เรื่องการทำงานในชีวิตจริงมากนัก เขามีเพียงไอเดียคร่าวๆ ในหัวว่า “สนใจด้านธุรกิจ” แล้วตัดสินใจพาตัวเองออกไปหาประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด รู้ตัวอีกที วันนี้เขาเป็นถึง Associate Director ประจำ Customer Relationship Management Advisory Unit ของ Bluebik โดยดูแลภาพรวมทั้งหมดของการใช้ระบบ CRM ให้กับลูกค้า ไล่ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ การออกแบบระบบ ตลอดจนการนำไปใช้ให้ได้ผลจริงและมีประสิทธิภาพ  ภายในเวลาไม่นาน เขาพัฒนาตัวเองมาสู่จุดนี้ได้อย่างไร วันนี้ชาญเล่าให้เราฟังทั้งหมดแบบไม่มีกั๊ก ของาน ของาน ของาน   สำหรับชาญ เขาไม่ชอบอยู่เฉยๆ รอให้โอกาสลอยเข้ามาหา แต่พยายามไขว่คว้าและสร้างโอกาสขึ้นมาด้วยตัวเอง  “ผมสนใจด้านธุรกิจอยู่แล้วเป็นทุนเดิม อาจยังไม่รู้มากว่าธุรกิจเกี่ยวกับอะไรบ้าง หรือเราต้องรู้อะไรบ้าง แต่ก็เริ่มหางานเกี่ยวกับธุรกิจ จนมาเจอว่ามีงาน management consulting เลยเริ่มหาที่ฝึกงานด้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียน พอเรียนจบผมก็มาเป็น Case Team Assistant ที่ […]

Read More…

“แบงค์” นักเรียนทุนคนแรกของบลูบิค กับทัศนคติ “เวลาต้องใช้ให้คุ้มค่าทุกลมหายใจ” ทำงานต้องดี – เรียนต้องเด่น

Bluebik Scholarship

“ไว้ใจได้เลย” “โล่งละ..จ๊อบนี้” เสียงจากเพื่อนร่วมงานหลาย ๆ คนที่มีต่อ แบงค์ เมื่อรู้ว่าได้รับ Assignment ทำงานร่วมโปรโจคกับเขา  จากการที่ได้รู้จัก “แบงค์” ผ่านการประชุม Zoom…การเจอกันในลิฟท์ออฟฟิศเพียง 2 ครั้งและบทสนทนาสั้น ๆ ก็สัมผัสได้ถึงความมั่นใจและมุ่งมั่นในตัวเขา จึงไม่แปลกใจว่า “ธนภัทร” หรือที่เพื่อน ๆ เรียกกันว่า “แบงค์ – AI” จะประสบความสำเร็จด้วยวัยเพียง 26 ในฐานะ Manager ของทีม Advanced Insights – AI ที่กำลังง่วนกับบทบาทใหม่ นักศึกษาปริญญาโทที่ได้รับทุนการศึกษาคนแรกของ “บลูบิค” เพื่อสานฝันการเป็น Enterprise Architecture – EA ที่เปรียบได้กับ Rare Item ของเกม ในสายงานเทคฯ การเรียนไปด้วย – ทำงานสายเทคฯไปด้วยนั้น เกินคำว่าเหนื่อยไปมาก แต่ระบบ Systematic Thinking แบบฉบับของ […]

Read More…

Internship Opportunities for MBA Students at Bluebik!

Internships are a great chance for students who want to get hands-on experience before starting their real life work. Bluebik understands these needs and provides opportunities for all students both undergraduates and master students to advance their career to grow as a professional in their future goals. Meet ‘Woon Parima’, our MBA student at Carnegie […]

Read More…

กระชับความสัมพันธ์ภายในองค์กร วิธีดึงกลุ่ม Talents ให้อยู่กับองค์กร

ทีมเป็นส่วนสำคัญมากในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี และกระตุ้นประสิทธิภาพของการทำงาน อีกทั้งยังเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันของคนทำงาน และแรงดึงดูดให้ยังอยู่กับองค์กร ซึ่ง Bluebik ในฐานะองค์กรคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญเรื่องคนและความเป็นอยู่ จึงอยากมาแชร์ไอเดียและความรู้ 4 ข้อ ที่องค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ของคนในทีมเพื่อดึงกลุ่ม Talents ให้อยู่กับองค์กร  1. การสื่อสารที่สม่ำเสมอ การสื่อสารที่สม่ำเสมอเป็นรากฐานของกลยุทธ์ในการสร้างทีมที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่ว่าพนักงานทุกคนจำเป็นต้องรู้ทุกอย่างที่บริษัทกำลังทำ แต่สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องเข้าใจถึงความสำคัญ เป้าหมาย และกลยุทธ์ของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารภายในองค์กรที่ทำให้ทุกคนทราบดีว่า “มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง” ซึ่งนอกจากการจัดประชุม หรือกิจกรรมต่างภายในทีมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์แล้ว หลายองค์กรมีการจัด Townhall เพื่อให้ CEO หรือกลุ่มผู้บริหารได้มีโอกาสอัปเดตแผนธุรกิจ และพูดคุยอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มพนักงาน รวมถึงอาจทำเป็น Monthly Mingle หรือนิตยสารรายเดือนสัมภาษณ์คนในองค์กร เป็นเกล็ดความสนุกเล็กน้อยๆ ในองค์กรได้ 2. ชื่นชมและขอบคุณการทำงานของพนักงาน การกล่าวชื่นชม หรือการให้การรับยอมรับเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการสร้างทีม ดังนั้น อย่าลืมยอมรับหรือชื่นชมพวกเขาต่อหน้าทีมงานทั้งหมด หรือพูดคุยเป็นการส่วนตัวเพื่อขอบคุณสำหรับการทำงานที่ดี เพราะการตระหนักรู้ของผู้บริหารนั้นอาจมีความสำคัญพอๆ กับอีเมลแสดงความยินดี หรือการเลื่อนตำแหน่งจากการทำผลงานที่ยอดเยี่ยม เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความหมายและทำให้พนักงานรู้สึกได้รับการชื่นชมและยอมรับ เพราะนี่เป็นการปลูกฝังค่านิยมความภักดีต่อองค์กรและการมีส่วนร่วม  3. ใส่ใจความต้องการของพนักงาน กลยุทธ์การสร้างทีมที่สาม คือ ใส่ใจความต้องการของพนักงาน จำไว้ว่าพนักงานทุกคนล้วนมีชีวิตส่วนตัว การให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวหรือความต้องการของพนักงาน […]

Read More…

เจาะลึกข้อผิดพลาดในแต่ละขั้นตอนของ SDLC ที่นักพัฒนา Software ต้องรู้

‘ไม่มีใครอยากทำงานผิดพลาด’ แต่บางครั้งปัญหาหรือข้อผิดพลาดก็มาทั้งในรูปแบบ เส้นผมบังภูเขา หรือ แบบเข็นครกขึ้นเขา จนยากที่จะรับมือ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) ทำให้กระบวนการทำงานสะดุดล่าช้า ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และอาจทำให้งานที่ออกมาไม่ได้คุณภาพและส่งผลเชิงลบต่อองค์กรในที่สุด ด้วยเหตุนี้ บลูบิค จึงได้รวบรวม 6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในแต่ละขั้นตอนของการทำ Software Development Life Cycle (SDLC) ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมเมอร์ต้องรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างราบรื่น สามารถส่งมอบงานได้อย่างมีคุณภาพสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่วางไว้  1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการวางแผนและกำหนดว่า การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software: SW) นี้ ใครจะเป็นผู้ใช้งานและรูปแบบเป็นอย่างไร โดยมีการระบุอย่างชัดเจนถึง กรอบเวลา (timeline) ขอบเขตของงาน (Scope of Work) ความต้องการทางธุรกิจ (Business Requirement) ข้อมูลสำคัญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) มีใครบ้าง  ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย   ด้านเอกสาร (Document): ในขั้นตอนนี้นักพัฒนากับลูกค้าจะให้ความสำคัญในเรื่องการติดตั้งซอฟต์แวร์เป็นหลัก ทำให้มองข้ามการวางแผนและเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา รวมถึงการกำหนดดีไซน์และความต้องการทางธุรกิจไม่ละเอียดมากพอ […]

Read More…

Do and Don’t จัด Virtual Training อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงนั้น ทำให้หลายองค์กรต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงานใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมไปถึงการจัดการฝึกอบรมที่เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงาน โดยหลายครั้งผู้จัดอบรมอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการจัดฝึกอบรมออนไลน์ที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ ทั้งการขาดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้อบรมและผู้เข้าร่วม การไม่รู้ว่าผู้เข้าร่วมเข้าใจเนื้อหาที่กำลังสอนอยู่หรือไม่ รวมถึงการที่ผู้เข้าร่วมอาจจะกำลังทำสิ่งอื่นไปพร้อมกับการอบรม ซึ่งส่งผลให้การจัดฝึกอบรมนั้นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ วันนี้เราจึงนำเสนอเทคนิคการจัดฝึกอบรมออนไลน์แบบ  Do and Don’t เพื่อให้การฝึกอบรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรมอีกด้วย DO 1. แจ้งกฎกติกาใน 5 นาทีแรกก่อนเริ่มการฝึกอบรม ในการฝึกอบรมออนไลน์หลายครั้งมักพบปัญหา ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วม เนื่องจากผู้เข้าร่วมไม่ได้จดจ่ออยู่กับการฝึกอบรมเท่าที่ควร โดยเฉพาะ การฝึกอบรมในรูปแบบ interactive ที่ผู้เข้าร่วมจะต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ผู้จัดการอบรมควรชี้แจงและขอความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมตั้งแต่ช่วงต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมจดจ่อกับเนื้อหาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้มากที่สุด ตัวอย่างกฎและกติกาในการฝึกอบรม แจ้งผู้เข้าร่วมว่าในวันนี้จะมีกิจกรรมกลุ่ม การตอบคำถาม หรือการโหวต ขอความร่วมมือให้ผู้เข้าร่วมเปิดกล้อง ปิดไมค์ และหากมีคำถามสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางแชท เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้เข้าร่วมท่านอื่น  2. ทำสไลด์ให้น่าสนใจ การใส่ตัวอักษรเยอะเกินไปในแต่ละสไลด์ จะทำให้ผู้เข้าร่วมต้องจดจ่อกับการอ่านตัวอักษรเหล่านั้น จนอาจละเลยการฟังเนื้อหาที่ผู้อบรมกำลังสอน และพลาดเนื้อหาที่สำคัญได้  ยิ่งไปกว่านั้น หากสไลด์ไม่มีสีสัน หรือรูปภาพประกอบที่น่าสนใจ ก็อาจทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกเบื่อได้  ดังนั้นการทำสไลด์ให้น่าสนใจ จะช่วยดึงดูดให้ผู้เข้าร่วมจดจ่อกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้น  ทริคเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการทำสไลด์ให้น่าสนใจ […]

Read More…

Marketing Transformation – the Key to Competitive Advantage in the World of Digital Economy

Marketing is to satisfy consumers’ demand with some value in a sustainable and profitable manner. The businesses that understand what consumers need can enjoy strong growth. However, it is not easy to have an accurate understanding of consumers in the era of rapid changes in their behaviors. Apart from impressive products and services, businesses need […]

Read More…