fbpx

3 ปัจจัยปั้น “Digital Product” ให้สำเร็จและแตกต่าง

Digital Product Application Transformation

“Digital Product คือ สินค้าและบริการที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ครอบคลุมรูปแบบหลากหลาย ทั้งแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือบริการสมัครสมาชิกต่างๆ บนช่องทางออนไลน์ Digital Product ไม่เพียงเป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แต่ยังเปิดโอกาสสร้างธุรกิจอีกมาก“ หลายปีที่ผ่านมาผู้ขับเคลื่อนองค์กรชั้นนำต่างเล็งเห็นความจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัล และมุ่งมั่นที่จะวางรากฐานในการทำธุรกิจแห่งอนาคตให้เป็น Digital-First Company เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมของคน New Generations โดยยกระดับความสามารถในการสร้างความยืดหยุ่นควบคู่กับการเติบโตขององค์กร และสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบนิเวศของธุรกิจ ผ่านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนและตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ “กนกรัตน์ บุญลีชัย” Associate Director, Management Consulting, Bluebik Group PLC. ให้ความเห็นว่า หนึ่งในแนวทางการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ คือ การพัฒนา Digital Platform หรือ Super App ของตนเอง เพื่อให้สามารถเป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับ ไลฟ์สไตล์ของลูกค้ารุ่นใหม่ และเพิ่มโอกาสในการเติบโตร่วมกับพันธมิตรได้เต็มรูปแบบ หากอธิบายอย่างรวบรัด Digital Product คือ สินค้าและบริการที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมรูปแบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือบริการสมัครสมาชิกต่าง ๆ บนช่องทางออนไลน์ โดย Digital Product ไม่เพียงเป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เท่านั้น […]

Read More…

ออกแบบโครงสร้างองค์กร IT ให้เป็น Center of Excellence เพื่อรองรับการทำ Digital Transformation

ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ต่างตื่นตัวกับภาวะ Disruption หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและยากจะคาดเดา ซึ่งกระแส Disruption นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จนนำไปสู่การเร่งปรับโครงสร้าง รูปแบบการทำธุรกิจและการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่กลับประสบความล้มเหลวในการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด อีกทั้งยังมีปัญหาสำคัญที่องค์กรส่วนใหญ่มักละเลย คือ การปรับปรุงโครงสร้างแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ที่มักถูกมองว่ามีบทบาทเชิงรับ (Passive) โดยมีหน้าที่หลักเพียงสนับสนุน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในองค์กร แต่แท้จริงแล้วแผนก IT คือ ผู้เล่นสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาองค์กรให้สามารถเติบโตตามแผนงานที่วางไว้ ด้วยเหตุนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องให้ความสำคัญและลงมือเปลี่ยนโครงสร้างแผนก IT ขององค์กรให้สามารถรับมือกับเทคโนโลยีและรูปแบบการทำงานใหม่ๆ รวมไปถึงวิกฤตต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   ออกแบบองค์กร IT อย่างไรให้ตอบโจทย์การพัฒนา 1. กำหนดวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่ชัดเจนและจับต้องได้ ปกติแล้วผู้บริหารมักมุ่งเน้นปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของ IT ให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น ณ​ ขณะนั้น หรือปัญหาที่เร่งด่วน และมักมองข้ามความสำคัญในการสร้างเป้าหมายใหม่ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อองค์กรในระยะยาว ดังนั้น ก่อนที่องค์กรจะเริ่มตัดสินใจปรับปรุงโครงสร้างภายใน […]

Read More…

เจาะลึกข้อผิดพลาดในแต่ละขั้นตอนของ SDLC ที่นักพัฒนา Software ต้องรู้

‘ไม่มีใครอยากทำงานผิดพลาด’ แต่บางครั้งปัญหาหรือข้อผิดพลาดก็มาทั้งในรูปแบบ เส้นผมบังภูเขา หรือ แบบเข็นครกขึ้นเขา จนยากที่จะรับมือ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) ทำให้กระบวนการทำงานสะดุดล่าช้า ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และอาจทำให้งานที่ออกมาไม่ได้คุณภาพและส่งผลเชิงลบต่อองค์กรในที่สุด ด้วยเหตุนี้ บลูบิค จึงได้รวบรวม 6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในแต่ละขั้นตอนของการทำ Software Development Life Cycle (SDLC) ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมเมอร์ต้องรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างราบรื่น สามารถส่งมอบงานได้อย่างมีคุณภาพสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่วางไว้  1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการวางแผนและกำหนดว่า การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software: SW) นี้ ใครจะเป็นผู้ใช้งานและรูปแบบเป็นอย่างไร โดยมีการระบุอย่างชัดเจนถึง กรอบเวลา (timeline) ขอบเขตของงาน (Scope of Work) ความต้องการทางธุรกิจ (Business Requirement) ข้อมูลสำคัญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) มีใครบ้าง  ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย   ด้านเอกสาร (Document): ในขั้นตอนนี้นักพัฒนากับลูกค้าจะให้ความสำคัญในเรื่องการติดตั้งซอฟต์แวร์เป็นหลัก ทำให้มองข้ามการวางแผนและเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา รวมถึงการกำหนดดีไซน์และความต้องการทางธุรกิจไม่ละเอียดมากพอ […]

Read More…

6 ฝันร้าย สัญญาณความล้มเหลวในการบริหารโครงการ (Project Management)

“ความสำเร็จ” เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็มองหาแต่หนึ่งในหนทางไปสู่ความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ข้อผิดพลาดเพื่อป้องกันหรือเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจขึ้น  เพราะหนทางของการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ล้วนมีบททดสอบที่ท้าทายรออยู่เสมอ ในโลกของการบริหารจัดการโครงการก็เช่นกัน การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดหรือปัญหาสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจทำให้โครงการนั้นๆ ล้มเหลวได้ ด้วยเหตุนี้ บลูบิค ได้รวบรวม 6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยจากการบริหารจัดการโครงการที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลว ดังนี้ 1. ไม่สามารถควบคุมขอบเขตของโครงการได้ สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการโครงการ คือ การควบคุมต้นทุนให้อยู่ภายใต้งบประมาณวางเอาไว้ ซึ่งการควบคุมงบประมาณหรือต้นทุนได้อย่างแม่นยำนั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดขอบเขตของงานและกรอบเวลาการส่งมองให้ชัดเจน ในการบริหารจัดการโครงการ หลายโครงการสามารถกำหนดขอบเขตงานได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินการ แต่ในความเป็นจริงเเล้วนั้น หลายๆโครงการอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้ตั้งเเต่เริ่ม ดังนั้น หากโครงการเริ่มต้นไปแล้วสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่ผู้บริหารจัดการโครงการต้องทำคือ ตกลงและกำหนดขอบเขตการทำงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพื่อให้ทีมงานสามารถดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องและสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงเพื่อเป็นการกำหนด Baseline ให้กับโครงการ ว่าสิ่งที่ต่างไปจากขอบเขตที่กำหนดไว้จะส่งผลต่อต้นทุนเเละระยะเวลาการส่งมอบของโครงการทั้งสิ้น สำหรับผู้บริหารจัดการโครงการที่ไม่สามารถสรุปขอบเขตที่เเน่ชัดของงานได้ อาจต้องเผชิญกับปัญหาโครงการขาดทุน เนื่องจากใช้ทรัพยากรมากกว่าที่ประเมินไว้ และอาจต้องจ่ายค่าปรับจากการส่งมอบงานล่าช้า ยิ่งไปกว่านั้นคือการสูญเสียความน่าเชื่อถือของผู้บริหารจัดการโครงการอีกด้วย 2. การสื่อสารระหว่างทีมต่างๆ ไม่ทั่วถึงและไม่ชัดเจน “การสื่อสาร” เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการบริหารโครงการ ด้วยเหตุนี้ ความล้มเหลวของหลายโครงการจึงเกิดจากการสื่อสารกันระหว่างทีมที่ขาดความชัดเจนและไม่เพียงพอ ซึ่งโอกาสที่จะพบข้อผิดพลาดด้านการสื่อสารนั้นมักเกิดขึ้นกับโครงการขนาดใหญ่มากว่าโครงการขนาดเล็ก เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากกว่า ทำให้โอกาสที่จะเกิดช่องว่างของการสื่อสารมีมากกว่า เมื่อข้อมูลที่มีของเเต่ละบุคคลไม่เท่ากันหรือเข้าใจสารไม่ตรงกัน ย่อมทำให้เกิดความคาดหวังและความเข้าใจในสถานะต่างกัน รวมถึงความเสี่ยงของโครงการก็อาจแตกต่างกันออกไปด้วย อันดับแรกๆ ในบริหารจัดการโครงการสิ่งที่ผู้บริหารจัดการโครงการจะต้องทำให้เกิดขึ้น คือ การกำหนดช่องทางและวิธีการสื่อสาร รวมถึงความถี่ในการสื่อสารให้เป็นกิจวัตรที่ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลต่างๆ […]

Read More…

จุดตายในองค์กร ฉุด Agile ไปไม่ถึงฝั่งฝันความสำเร็จ

เมื่อแนวคิดการทำงานแบบ Agile เป็นกระแสนิยมที่องค์กรน้อยใหญ่ต่างมุ่งเข้าหา ด้วยความหวังว่าจะใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้พร้อมรับกระแสความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันที่ถาโถมอย่างรวดเร็ว แต่บางกรณีกลับพบว่า องค์กรที่หยิบ Agile ไปประยุกต์ใช้ แทนที่จะพุ่งทะยานสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว กลับเกิดภาวะสะดุดหล่ม ถึงจะเร่งเครื่องสุดแรงอย่างก็ไม่ถึงเส้นชัยโดยง่าย สาเหตุแห่งความล้มเหลวที่พบได้บ่อยนั้น ไม่ได้เป็นเพราะแนวคิด Agile แต่เกิดจุดบอดที่ซุกซ่อนอยู่ในองค์กรนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการขาดแรงผลักดันและความเข้าใจจากระดับบริหาร วัฒนธรรมองค์กรและทัศนคติของพนักงาน รวมถึงโครงสร้างองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อนำ Agile ไปใช้จึงเปรียบเสมือนมีแนวคิดที่ดี แต่ขาดแรงหนุนเกื้อที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ใครๆ ก็อยากนำไปใช้ไม่ให้ตกเทรนด์ แต่ด้วยความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือยังคลาดเคลื่อน ไปคิดว่าแนวคิดนี้มุ่งตอบสนองจุดมุ่งหมายบางอย่างเท่านั้น ทำให้องค์ประกอบระหว่างทางที่เป็นหัวใจหลักของแนวคิดนี้ถูกบิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ Agile ไม่ได้ปล่อยพลังของตัวเองอย่างเต็มประสิทธิภาพหรือสร้างประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยจากประสบการณ์ของ บลูบิค บริษัทคอนซัลต์ที่ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเข้าไปแนะนำองค์กรขนาดใหญ่สู่การทำ Agile Transformation จุดร่วมของความล้มเหลวที่พบได้มากที่สุด มีดังต่อไปนี้ 1. ขาดแรงผลักดันสำคัญและความเข้าใจจากผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูงไม่ร่วมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ถือเป็นปัจจัยท้าทาย ที่ส่งผลต่อความล้มเหลวมากที่สุด หากตั้งแต่ก้าวแรกของการนำ Agile มาใช้ ไม่ได้การใส่ใจและเข้าใจอย่างแท้จริงจากผู้บริหารระดับสูง เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับองค์กรใดก็ตาม ที่จะหวังสร้างแรงกระเพื่อมขนานใหญ่จากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up) เราอาจคาดเดาร่องรอยแห่งความล้มเหลวได้แต่แรก หากองค์กรไหนกระโดดเข้าหาแนวคิด Agile […]

Read More…

Design Thinking : 5 กระบวนการคิดที่ UX Designer ควรมี

จริงแล้วต้องบอกก่อนว่า คำว่า UX Designer ถ้าคนได้ยินคำว่า Design ก็คงไม่พ้นคำว่า ‘สวยงาม สีสัน’ หรืออะไรที่มันเห็นแล้วว้าว แต่จริง ๆ แล้ว UX Designer เป็นตำแหน่งที่ใช้กระบวนการคิดมากกว่าลงมือทำเสียอีก เรียกง่าย ๆ คำว่า Design สำหรับ UX คือ ‘กระบวนการคิด ออกแบบการใช้งาน’ มากกว่าความสวยงามด้วยซ้ำ ซึ่ง Step 1 ที่เราจะเตรียมตัวเป็น UX คือ Design Thinking เป็นเหมือนขั้นตอนการทำงานของพวกเรา ก่อนจะที่เริ่มงาน เราอาจจะต้องใช้เวลาคิดเป็นขั้นเป็นตอนถึง 5 ขั้นตอนนี้เลยละ เห็นภาพรวมแล้ว เราลองมาลงรายละเอียดแต่ละขั้นตอนดีกว่า ว่าเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไงบ้าง 1. Empathize ขั้นตอนแรกของ Design Thinking ก็คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน ‘Empathy (การเข้าอกเข้าใจ)’ คือกระบวนการที่ หยิบปัญหา, ความสนใจ หรือพฤติกรรมของ User […]

Read More…

Special Purpose Maps แผนที่นั้นสำคัญไฉน “หลงทางเสียเวลา หลงเธอขึ้นมาเสียอะไร”

แผนที่นั้น สำคัญไฉน“หลงทางเสียเวลา หลงเธอขึ้นมาเสียอะไร” สมหญิงขมวดคิ้วเมื่อได้ยินประโยคนี้จากสมชาย เธอขยับแว่นหนึ่งกรุบ แล้วหันไปตอบอย่างเรียบเฉย “ทำไมหลงทาง ไม่รู้จักใช้ Google Maps เหรอ” แน่นอนว่าสมชายและผู้ใช้งานกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ไม่ใช่แค่รู้จัก Google Maps แต่อาจจะถึงกับขาดแอปพลิเคชันนี้ไม่ได้เลยทีเดียว เมื่อต้องออกจากบ้านเดินทางไปยังจุดหมายที่ไม่คุ้นเคยในแต่ละวัน “แผนที่” คือการจำลองเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งต่างๆ แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจใช้เส้น สี รูปทรงสัณฐาน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาอธิบายความเชื่อมโยงนั้นๆ ส่วนใหญ่วาดบนพื้นผิวราบเรียบ โดยพื้นที่ๆ หยิบมาใช้อาจเป็นได้ทั้งพื้นที่จริงหรือพื้นที่เสมือนซึ่งจินตนาการขึ้นมาก็ได้ เช่น แผนที่เกมซึ่งสร้างบนอาณาจักรสมมติ หรือบางเกมอย่างโปเกม่อน โก กลับเลือกอิงพิกัดจากแผนที่จริงในโลก ย่อลงมาอยู่ในการเล่นบนจอสมาร์ทโฟน เปิดทางให้เรามีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโลกของเกมกับภูมิประเทศของจริง Google Maps เป็นตัวอย่างแผนที่อำนวยความสะดวกให้ชีวิตที่แพร่หลายที่สุดในยุคดิจิทัล แต่หากย้อนอดีตกลับไปในอดีต เราจะพบว่าชาวบาบิโลนรู้จักแผนที่มาเนิ่นนานตั้งแต่ 2,500 กว่าปีก่อน ด้วยการย่อโลกมาอยู่บนแผ่นดินเหนียว หรือที่รู้จักกันว่า Babylonian Map of the World หรือ Imago Mundi ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแผนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก […]

Read More…

อัปเดตความก้าวหน้าล่าสุดของ Metaverse

นโยบายขององค์การแห่งชาติ และองค์การระหว่างประเทศ ในแต่ละประเทศและองค์การระหว่างประเทศ จะมีทัศนคติต่อ Metaverse ที่แตกต่างกัน และเนื่องจากในระบบเศรษฐกิจของ Metaverse พื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการจัดการเหรียญ (token economy) ที่ทำงานบนระบบ Blockchain ซึ่ง Blockchain คือเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดสำหรับสกุลเงินดิจิตัล ดังนั้น เรามาดูนโยบายในด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และสกุลเงินดิจิตัล ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence), interactive technology, cloud computing และ edge computing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คอยสนับสนุน Metaverse  สหรัฐอเมริกา: หน่วยงาน ONC (Office of the National Coordinator for Health Information Technology) ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงสาธารณะสุขและมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา จัดงานวิ่งมาราธอนที่พัฒนาโดยแฮกเกอร์ด้านสุขภาพ เพื่อที่จะนำเทคโนโลยี blockchain ไปใช่กับภาคส่วนของการดูแลสุขภาพ ฝ่ายบริหารของรัฐสภาในนามของทรัมป์เห็นถึงศักยภาพของ blockchain และได้ทำการจัดทั้งทีมพัฒนา blockchain ในส่วนของภาครัฐขึ้น […]

Read More…

Time to know super-apps

Super App Application

Undeniably smartphones have become the fifth basic necessity of life. In the present era of digital transformation, smartphones play crucial roles in the everyday life of people because they have many functions that suit lifestyles. With a smartphone, life is easier in all its activities including those related to entertainment, work, food orders and financial […]

Read More…

Metaverse 101: มารู้จัก Metaverse กับเรากันเถอะ

Metaverse เป็นอินเทอร์เน็ตแอปพลิเคชันแบบใหม่ ที่มีการประสานกันของเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย โดยเปิดให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่สมจริงจาก reality technology ที่สร้างภาพสะท้อนของความเป็นจริงโดยอิงจาก digital twin technology สร้างระบบเศรษฐกิจจากเทคโนโลยี blockchain และเชื่อมต่อโลกเสมือนกับโลกแห่งความเป็นจริงเข้าด้วยกันบนระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบอัตลักษณ์ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ และปรับแต่งโลกเสมือนได้ Metaverse ยังคงเป็นแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และผู้เข้าร่วมแต่ละคนสามารถเติมเต็มความหมายของ Metaverse ได้ด้วยตัวเอง Figure 1 Timeline of the development of communication methods from “A Survey on Metaverse: the State-of-the-art, Technologies, Applications, and Challenges.” Huansheng Ning,Hang Wang, Yujia Lin, Wenxi Wang, Sahraoui Dhelim, Fadi Farha, Jianguo […]

Read More…