fbpx

หลักการตลาด 4Cs มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า ลูกค้าได้กลายเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจ 4Cs หลักการตลาดที่นำเสนอโดย Robert F. Lauterborn เมื่อปี 1990 โดยมองจากมุมลูกค้าเป็นหลัก จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากหลัก 4Ps (Product, Price, Place, Promotion) วันนี้เราจึงขอมาเล่าให้ฟังว่า 4Cs มีอะไรบ้าง และจะนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างไร ⭐️ Consumer แทนที่จะผลิตสินค้าขึ้นมาก่อนแล้วค่อยหาลูกค้า ต้องมองกลับกันว่า ลูกค้าอยากได้อะไร (Consumer wants and needs) แล้วสร้างสินค้านั้นขึ้นมา แม้สินค้ามีคุณภาพดีแต่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าก็ยากที่ผลตอบรับจะดี ดังนั้น สินค้าและบริการของเราจึงควรเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ หรือแม้กระทั่งแก้ปัญหาเล็กๆ ในใจลูกค้าได้ ⭐️ Cost Cost ในที่นี้หมายถึงมุมมองของลูกค้าที่มีต่อราคาสินค้าและบริการ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ราคาของตัวสินค้า (Price) แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่ลูกค้าต้องเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าชิ้นนั้นมา ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่จอดรถ รวมถึงค่าเสียเวลาในการซื้อสินค้า นอกจากนี้ ความคุ้มค่าเมื่อเทียบระหว่างราคาสินค้าและคุณภาพที่ได้รับในมุมมองของลูกค้าก็สำคัญเช่นกัน การตั้งราคาจึงต้องสมเหตุสมผลกับคุณภาพตัวสินค้าและสอดคล้องกับ Position สินค้า เช่น สินค้าพรีเมี่ยมไม่ควรตั้งราคาต่ำจนเกินไป ⭐️ Convenience […]

Read More…

Five Forces Model สุดยอดเครื่องมือวิเคราะห์ ‘การแข่งขันธุรกิจ’

Five Forces Model สุดยอดเครื่องมือวิเคราะห์ ‘การแข่งขันธุรกิจ’ จาก Harvard Business School อยากทำธุรกิจ ต้องวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ให้เป็น ก่อนที่เราจะลงมือจริงจังกับธุรกิจ นอกเหนือจากแพชชั่นในการผลิตสินค้าหรือบริการ เราควรต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขันให้เป็นก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากแบบขาดไม่ได้ เพราะมันจะบอกเราได้ตั้งแต่แรกเลยว่าธุรกิจที่เราจะเข้าไปนั้น ควรทำ หรือ ไม่ควรทำ โดยเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่ใช้กัน เรียกว่า Five Forces Model ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แรงกดดันทั้ง 5 ที่มีผลต่อสภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดยคุณ Michael E. Porter นักวิชาการด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ มีแรงกดดันอะไรบ้าง มาดูกัน 1. อำนาจต่อรองจากลูกค้า (Bargaining Power of Customers) ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ค้าต้องตระหนักว่าลูกค้าก็มีอำนาจการต่อรองเช่นกัน เช่นต่อรองขอให้ ลด แลก แจก แถม เพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยเฉพาะหากลูกค้ารายนั้นเป็นลูกค้ารายสำคัญและซื้อสินค้าในปริมาณมาก และหากผู้ค้าไม่ตอบสนองความต้องการ ลูกค้าก็อาจหนีไปซื้อสินค้ากับคนอื่นจนในที่สุดอาจไม่เหลือลูกค้าเลยก็เป็นได้ แต่หากเรายอมลดราคารายได้ก็ลดลง หรือหากเพิ่มคุณภาพสินค้าต้นทุนก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งปัจจัยทั้ง […]

Read More…

ทำความรู้จัก Business Model Canvas

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจพื้นฐาน จะทำให้เรามองเห็นรายละเอียดต่างๆของธุรกิจตัวเองได้อย่างอย่างทะลุปรุโปร่งไม่ว่าจะเป็นทั้งจุดเด่น จุดด้อย ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ กิจกรรมหลักของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งคู่ค้าและลูกค้าคือใคร ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นธุรกิจในภาพรวมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆฝ่าย โดยผลลัพท์จากการทำ Business Model Canvas นี้จะช่วยให้ทีมงานสามารถbrainstorm เพื่อเสริมจุดแข็งและปรับจุดอ่อนรวมไปถึงการปรับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็ว เครื่องมือนี้จะเป็น Template สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แบ่งหัวข้อหลักทั้งหมด 9 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างแต่เชื่อมโยงกันที่เราต้องวิเคราะห์และหยอดลงในช่อง ดังต่อไปนี้ Customer Segments ลูกค้าเราคือใคร มีหน้าตาแบบไหน Value Propositions จุดขาย จุดเด่นที่เป็นคุณค่าของธุรกิจเรา Customer Relationships วิธีในการรักษาฐานลูกค้าเป็นแบบไหน อย่างไร Channels ช่องทางที่เข้าถึงลูกค้า Key Activities กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อให้โมเดลธุรกิจอยู่และไปต่อได้ Key Resources ทรัพยากรที่จำเป็นที่ต้องมีในการดำเนินธุรกิจ Key Partners คู่ค้าที่เกี่ยวข้อง Cost Structure ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของธุรกิจ Revenue Streams รายได้ของธุรกิจมาจากไหน มีอะไรบ้าง เมื่อมองเห็นภาพใหญ่ของ […]

Read More…

สร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

TOWS Matrix เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับการสร้างกลยุทธ์ใหม่จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร ที่มีการต่อยอดมาจาก SWOT Analysis ด้วยการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กร 2 ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่ปัจจัยภายใน – Strength (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน)ปัจจัยภายนอก – Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง) เมื่อนำปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาจับคู่กัน จะทำให้เกิดเป็นการวิเคราะห์ของ TOWS Matrix ได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. กลยุทธ์เชิงรุก (SO)เป็นการจับคู่ระหว่าง Strength และ Opportunity (ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส) กลยุทธ์ในส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากบางครั้งจุดแข็งของเราเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมองถึงโอกาสในปัจจุบันหรือโอกาสที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด หรือที่เรียกกันว่า “ถูกจุด ถูกเวลา” 2. กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO)เป็นการจับคู่ระหว่าง Weakness และ Opportunity (ใช้โอกาสลดจุดอ่อน) ทุกธุรกิจล้วนมีจุดอ่อน […]

Read More…