Digital Transformation คืออะไร การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในองค์กรเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่กระบวนการทำงานไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือให้บริการลูกค้าเพื่อสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วรวมทั้งเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเติบโตทางธุรกิจ Digital Transformation เป็นคำที่เราได้ยินกันอย่างแพร่หลายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งผู้นำธุรกิจทั่วโลกยังให้ความสำคัญกับสิ่งๆนี้ เพราะเชื่อว่าจะสามารถพลิกโฉมธุรกิจให้มีกำไรที่สวยงามได้ หากถามว่า Digital Transformation คืออะไร คงอธิบายอย่างสั้นๆให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในองค์กรเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่กระบวนการทำงานไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือให้บริการลูกค้าเพื่อสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วรวมทั้งเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเติบโตทางธุรกิจ ตัวอย่างผู้ที่ทำ Digital Transformation จนประสบความสำเร็จ เช่น LEGO ผู้ผลิตของเล่นเด็กที่เคยประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักจนต้องตัดสินใจพลิกโฉมธุรกิจด้วยการสร้าง Business Model แบบใหม่ จากการทำภาพยนตร์ เกมส์ และ Mobile Application จนในที่สุดสามารถสร้างผลกำไรได้มากถึง 37.1% รวมทั้งสร้างรายได้ถึง 468 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการทำหนัง แถมยังได้รับการนิยามว่าเป็น “the Apple of toys”อีกด้วย Why?หากจะสรุปเป้าหมายของการทำ Digital Transformation แบบง่ายๆ คงแบ่งออกเป็น 4 เรื่อง ดังนี้ ทำเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ทำเพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำเพื่อเพิ่มรายได้ […]
Tag: Framework
Why Transform? & How to Transform?
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อขาด Unit Test
ปัญหาการพัฒนา Application
ทุกวันนี้ในโลกของดิจิทัล การพัฒนาแอปพลิเคชันมีมากมายหลายรูปแบบ และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ นักพัฒนาอย่าง Software Engineer หรือ Developer จำเป็นต้องพัฒนาทักษะกันอย่างมากเพื่อให้สามารถสร้างผลงานที่ต้องตามความต้องการของลูกค้า และทันต่อตลาด เพื่อแย่งชิงความเป็นผู้นำ หรือค้นหาโอกาสต่าง ๆ ในยุคดิจิทัลนี้ หนึ่งในวิธีที่จะยืนยันความถูกต้องของแอปพลิเคชันที่เขียนมาคือ การทดสอบ ซึ่งมีมากมายไม่ว่าเป็น เช่น UI Test, Integration Test, Manual Test, Unit Test หรืออื่น ๆ อีกมากมาย แต่ละการทดสอบก็จะมีวัตถุประสงค์ต่างกันออกไป แต่วันนี้ที่เราจะมาพูดถึงกันคือ Unit Test ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างไร และจะมีปัญหาหรือไม่หากไม่มี Unit Test? Unit Test คืออะไร Unit Test เป็นวิธีการทดสอบ Software แบบหนึ่งที่ใช้ในการทดสอบส่วนที่เล็กที่สุดของ Code ซึ่งมักกระทำโดย Developer โดยจะดำเนินการเขียนชุดทดสอบตามรูปแบบการทดสอบแบบ White Box Testing เพื่อเช็กว่า Code […]
รวมเครื่องมือ Low Code / No Code Dev แพลตฟอร์มแห่งอนาคตที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น
ในปัจจุบัน Digital Transformation กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ หลายๆองค์กรจึงเร่งพัฒนาสร้างแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันต่างๆไว้ใช้งานเพื่อตอบโจทย์การทรานฟอร์มองค์กร แต่ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากรอย่าง Software Developer ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโต หรือการเขียนโค้ดและโปรแกรมแบบเดิมๆซึ่งมีข้อจำกัดทั้งด้านเวลาและทรัพยากรที่ต้องทุ่มลงไป ลองนึกภาพว่าการสร้างแอปพลิเคชั่นในแต่ละครั้งนั้นเต็มไปด้วยโค้ดที่ซับซ้อนและอาจกินเวลานานหลายๆเดือน การสร้างแอปฯจะยุ่งยากและลำบากขนาดไหน ตอนนี้มีสิ่งอัศจรรย์ที่เรียกว่า No-Code Development Platform ได้กำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมสามารถสร้างเว็บไซต์และซอฟต์แวร์ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเลย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสามารถพัฒนาโปรแกรมได้ด้วยตนเอง รวมถึง Low-Code Development Platform ที่เข้ามาช่วยให้ Software Developer เขียนโค้ดน้อยลง ทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถร่นระยะเวลา จากหลายเดือนอาจเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถได้แอปฯ มาใช้ทันที No Code Development Platform คืออะไร? มีคนจำนวนมากต้องการสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อทำธุรกิจของตัวเอง แต่ไม่มีความรู้ในการเขียนโค้ด ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป เพราะ No Code Development Platform ทำให้ผู้ใช้งานไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม (Coding) สร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Graphical User Interface (GUI) ที่เป็นการคลิก เลื่อน หรือวาง […]
จัดการความเสี่ยงธุรกิจด้วย Risk Matrix
คนส่วนใหญ่รู้ว่าธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายประการ แต่ก็ใช่ว่าทุกกรณีจะเลวร้ายเสมอไป เพราะหากสามารถวางแผนและจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้ ธุรกิจย่อมสามารถอยู่รอดและไปต่อได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด จึงเป็นที่มาของการทำ Risk Matrix ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงนั่นเอง แม้การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสี่ยงมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการได้รับผลตอบแทน เพราะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ธุรกิจจะได้ผลตอบแทนโดยไม่ต้องเสี่ยง ในบางกรณียิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งได้ผลตอบแทนมาก ดังนั้น จุดประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงจึงไม่ใช่การ “ขจัด” ความเสี่ยง แต่เป็นการดูแลความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ธุรกิจรับมือไหวและสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจไปพร้อมกัน Risk Matrix เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับช่วยวางกระบวนการประเมินความเสี่ยง กำหนดระดับความเสี่ยงโดยพิจารณาถึงความน่าจะเป็นหรือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์กับความรุนแรงของผลที่ตามมาต่อธุรกิจหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เมื่อนำ Risk Matrix มาใช้ จึงจะช่วยให้ธุรกิจมองเห็นความเสี่ยงที่มีแนวโน้มเกิดขึ้น ช่วยประกอบการตัดสินใจและวางแนวทางบรรเทาผลกระทบ โดย Risk Matrix มีขั้นตอนการประเมินดังนี้ 1. ทำรายการความเสี่ยงทางธุรกิจในการดำเนินงานและความเสี่ยงทางการเงิน รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องการเมือง นโยบายการบริหารประเทศ เป็นต้น 2. นำรายการความเสี่ยงที่ประเมินไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาจัดลำดับความเป็นไปได้ที่ความเสี่ยงเหล่านั้นอาจเกิดขึ้น โดยความเป็นไปได้ของความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ น่าจะเกิดขึ้น – มีโอกาสเกิดขึ้นมาก เป็นไปได้ – มีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง ไม่น่าจะเป็นไปได้ – โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น […]
วิเคราะห์ตำแหน่งกลยุทธ์ ประเมินแผนงานด้วย SPACE Matrix
Strategic Position and Action Evaluation Matrix หรือ SPACE Matrix เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือทางในการวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรที่ผู้วิเคราะห์ต้องการให้ความสำคัญต่อสถานะทางการเงิน การได้เปรียบทางการแข่งขัน ความสามารถของธุรกิจในอุตสาหกรรม และความมั่นคงของปัจจัยแวดล้อม โดยสามารถพิจารณากลยุทธ์และตำแหน่งได้จากขั้นตอน ดังนี้ Space Matrix แกน X ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)ให้คะแนนตั้งแต่ -1 ถึง -6 (-1 คือปัจจัยนั้นดีที่สุด) ปัจจัยภายในที่เป็นจุดเด่นของบริษัทที่ทำได้ดีหรือปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างและสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงกว่า ความแตกต่างของสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของพนักงาน เป็นต้น จุดแข็งของอุตสาหกรรม (Industry Strength)ให้คะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 6 (6 คือปัจจัยนั้นดีที่สุด) ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับธุรกิจในการบอกถึงโอกาสและความมั่นคงในการทำธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรมนั้น ๆ ที่ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถเติบโตสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง เช่น แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรม ขนาดของลูกค้าในตลาด ปริมาณของทรัพยากรในการผลิต เป็นต้น Space […]
Agile Waterfall – The hybrid methodology plugs loopholes and enhances efficiency at modern organizations
Among the methodologies of modern organizations, agile has been mentioned regularly for years because it allows organizations to operate with flexibility and agility. Organizations can create plans and deliver work in series and thus are able to adjust their operations quickly enough to respond to changing situations. The popularity of the agile methodology leads to […]
ทำความรู้จัก Lean Canvas พระเอกตัวจริงช่วย Start-Up ร่างแผนธุรกิจให้ครบจบในแผ่นเดียว
LeanCanvas คืออะไร Lean Canvas คือ เครื่องมือช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าใจภาพรวมของธุรกิจได้ในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนกับการเขียนแผนธุรกิจฉบับย่อ ทำให้ทราบปัจจัยสำคัญที่จะต้องโฟกัสครอบคลุมทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องของการสร้างธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นมานั้นตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง โดย Lean Canvas มีลักษณะเป็นตาราง 9 ช่อง สำหรับให้ทีมงานช่วยกับระดมความคิด และมองเห็นภาพรวมธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน LeanCanvas VS Business Model Canvas คอนเซ็ปต์ของ Lean Canvas และ Business Model Canvas มีความคล้ายคลึงกัน…..แต่ Lean Canvas เหมาะสำหรับธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ ซึ่งมีหลายสิ่งที่ยังไม่ชัดเจนทั้งในเรื่องของปัญหา และความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องนำไปทดสอบกับกลุ่มลูกค้าสมมุติ (Persona) เพื่อลดความเสี่ยงเพิ่มเติมและปรับให้แผนธุรกิจสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก่อนทำธุรกิจ Business Model Canvas มักใช้กับธุรกิจที่เริ่มดำเนินการมาแล้วและรู้ว่ากำลังจะทำอะไรชัดเจน จึงไม่จำเป็นต้องเน้นประเด็นปัญหาและความต้องการของลูกค้า แต่จะเน้นให้เข้าใจภาพรวมของธุรกิจเชิงกลยุทธ์ว่าจะวางแผนใช้ทรัพยากรที่มีส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าให้ได้ถูกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร องค์ประกอบของ Lean Canvas ประกอบด้วยภาพรวมหลักของธุรกิจ 9 ปัจจัยที่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้าน #Product […]
สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยโมเดล Customer Lifetime Value
ทำความรู้จักกับ Customer Lifetime Value (CLV) กลยุทธ์สร้างรายได้ให้ธุรกิจด้วยการดึงลูกค้าใหม่ เอาใจลูกค้าเก่า การสร้างสรรค์สินค้าและบริการในปัจจุบัน หากใช้วิธีการออกแบบตามความพึงพอใจของผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไปแล้ว เพราะเทรนด์ของการทำธุรกิจในยุคนี้ ผู้ผลิตต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ทำทุกอย่างโดยมองจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้ตอบสนองความต้องการหรือ Pain Point ของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด เพราะเมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการของเรา แวะเวียนมาอุดหนุนบ่อยๆ จนกลายเป็นลูกค้าประจำ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ! CLV มักถูกนำมาใช้ประเมินความคุ้มค่าในการบริหารจัดการลูกค้า และเป็นตัวชี้วัดการปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ หากจะกล่าวให้ชัดก็คือ การคำนวณว่าลูกค้า 1 คน จะสามารถสร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้เท่าไรตลอดระยะเวลาที่เขาเป็นลูกค้าของเรา โดยวิธีการคำนวณมูลค่าที่ง่ายที่สุดแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ คำนวณจากข้อมูลของลูกค้ารายบุคคล ซึ่งต้องนำมูลค่าการซื้อต่อครั้ง ไปคูณกับความถี่ในการซื้อ จากนั้นจึงนำผลลัพธ์ที่ได้ไปคูณกับระยะเวลาที่เขาเป็นลูกค้าของเรา คำนวณจากข้อมูลภาพรวม โดยนำมูลค่าเฉลี่ยของลูกค้า ไปคูณกับระยะเวลาเฉลี่ยที่เขาเป็นลูกค้าของเรา ตัวอย่างเช่นร้านกาแฟ “สตาร์บัค” ประเมินว่าลูกค้าแต่ละคนจะใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 5.9 ดอลลาร์ หากภายในสัปดาห์ลูกค้าเข้าร้านเฉลี่ย 4.2 ครั้ง แสดงว่าสตาร์บัคจะสามารถสร้างรายได้ต่อสัปดาห์จากลูกค้าหนึ่งคนอยู่ที่ 24.3 ดอลลาร์ และหากประเมินว่าลูกค้าคนดังกล่าวจะเป็นลูกค้าของเราไปอีก 20 ปี ก็สามารถนำรายได้ต่อสัปดาห์มาคูณกับจำนวนสัปดาห์ในหนึ่งปี และคูณกับจำนวนปีที่เขาจะเป็นลูกค้าของเรา (24.3 x 52 x 20) ผลลัพธ์ที่ได้ 25,272 ดอลลาร์ ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับก็คือจะสามารถบริหารจัดการสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับลูกค้าได้ดีขึ้น อาทิ การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับการหาลูกค้าใหม่หรือการรักษาลูกค้าเก่า และการทำ Segmentation ลูกค้าในระดับบุคคลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยธุรกิจที่ต้องการนำโมเดลดังกล่าวมาปรับใช้ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 2 ข้อ ต้องเริ่มจากการประเมินว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายมียอดการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ต่อครั้งมากน้อยเพียงใด […]
SOAR Analysis อีกทางเลือกหนึ่งที่มาแทน SWOT Analysis
SOAR Analysis เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ทดแทน SWOT Analysis ด้วยการวิเคราะห์จาก Strength (จุดแข็ง) Opportunity (โอกาส) Aspiration (แรงบันดาลใจ) และ Result (ผลลัพธ์) ซึ่งมีความแตกต่างจาก SWOT Analysis ที่เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นขององค์กรจากปัจจัยภายในและภายนอก แต่ไม่อาจระบุเป้าหมายหรือแนวทางในการดำเนินงานได้ ในขณะที่ SOAR Analysis ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้ผู้วิเคราะห์หรือนักกลยุทธ์มองเห็นไปถึงภาพสุดท้ายหรือผลลัพธ์ของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน SOAR Analysis คือการจัดทำ Matrix ที่แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 แกนร่วมกันได้แก่ ช่วงเวลาและปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรต่อองค์กร ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ Strength (จุดแข็ง) การวิเคราะห์หาจุดเด่นที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างและสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ BTS/MRT มีผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น Opportunity (โอกาส) โอกาสทางธุรกิจคือสิ่งที่ส่งผลดีต่อการดำเนินงาน การสร้างรายได้และการทำกำไรเพิ่มขึ้น […]
เชื่อหรือไม่ว่า!? บางบริษัทใช้ SWOT analysis เพียงแค่ “S” และ “W” เท่านั้น
จาก SWOT analysis ที่เราเคยศึกษากันมา 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส) และ Threat (ความเสี่ยง) เพื่อใช้วิเคราะห์สถานภาพขององค์กรและการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งการหาโอกาสในอนาคต แต่วันนี้เราจะมาเล่าถึงอีกแนวคิดหนึ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนจาก SWOT analysis เหลือเพียงแค่ “S” Strength และ “W” Weakness เท่านั้น แต่สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ “C” มาจาก “Competitor” หรือที่เรียกว่า “SWC” Strength “หาจุดแข็ง” ให้เจอWeakness “วิเคราะห์จุดอ่อน” ให้ออกCompetitor “รู้จักคู่แข่ง” ให้ดี ซึ่งในการวิเคราะห์นี้จะไม่เน้น O (Opportunity) และ T (Threat) แต่สนใจไปที่ C (Competitor) ในการเปรียบเทียบระหว่าง S และ W ขององค์กรเรากับคู่แข่งเพียงเท่านั้น […]