Security is the first priority of all organizations. In the new world of businesses where digital channels become their major mechanisms and information fuels the growth of organizations. Amid economic recession in 2021, business organizations are more likely to become targets of cyberattacks anytime. Such attacks can affect businesses in numerous aspects; including their processes […]
Tag: Digital Transformation
Brick-and-mortar Shops Focusing on Creating Good Customer Experience with Technology to Impress Gen M
The businesses that depend mainly on brick-and-mortar shops to adapt during the new wave of COVID-19 to create strengths and opportunities. They should apply technologies including geofencing technology, the Internet of Things (IoT) and cloud computing to offer the good customer experience that suits the completely changing behaviors of consumers, especially the millennials who have […]
Privacy หรือ Security ผ่านมุมมอง Digital Transformation
จากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของ Timeline ผู้ป่วย เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของทั้งตัวเองและคนรอบตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่าไม่ได้มีทุกคนที่ยินยอมจะบอกความจริงตั้งแต่ต้น และอาจจะสายเกินไปเมื่อเกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลหลายประเทศจึงเริ่มออกมาตรการในการติดตามตัวประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูล Timeline ที่แน่นอน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ อาทิ ระบบ GPS และ Bluetooth ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัว #Privacy อย่างร้อนแรง เนื่องจากเป็นทราบกันดีว่าในยุคนี้ “Data is a new oil” เราแทบไม่รู้เลยว่ากลุ่มธุรกิจหรือรัฐบาลสามารถทำอะไรกับข้อมูลของเราได้บ้าง แอปพลิเคชัน #หมอชนะ นับตัวอย่างหนึ่งของมาตรการรัฐบาลไทยเพื่อติดตามการเดินทางของประชาชนและประเมินความเสี่ยง โดยแอปฯ นี้ขออนุญาตเข้าถึงกล้อง ตำแหน่งผู้ใช้ คลังภาพและวิดีโอ รวมถึงพื้นที่เก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟนของเรา หลายคนจึงเกิดคำถามว่า เป็นการขอเข้าถึงข้อมูลเกินความจำเป็นหรือไม่? แล้วประเทศอื่น ๆ จัดการเรื่องPrivacy และ Security แบบใดบ้าง รัฐบาล “สิงคโปร์” หนึ่งในประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีของเอเชีย มีมาตรการที่คล้ายกันโดยใช้แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า #Tracetogether ที่เข้าถึงเพียงแค่ตำแหน่งผู้ใช้ผ่าน Bluetooth บนสมาร์ทโฟน และเตรียมแผนรองรับสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกโหลดแอปฯ […]
ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่ตั้งแต่ที่จอดรถ
ระลอกใหม่ ถึงเวลา 3 ธุรกิจ ห้างฯ-ร.พ.-คอนโด เร่งสร้างความปกติใหม่หลังปลดล็อกดาวน์ระยะ 4 เรียกความมั่นใจให้ลูกค้าตั้งแต่ก้าวแรกเข้าใช้บริการด้วยนวัตกรรมการจอดรถอัจฉริยะหนุนไร้การสัมผัส ความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่การใช้ชีวิตไม่มีวันเหมือนเดิม เพราะยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และเพื่อให้รู้สึกถึงความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตเมื่อต้องไปสถานที่ต่างๆ มากขึ้น พร้อมแนะ 3 ธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า-โรงพยาบาล-คอนโดมิเนียม ต้องเริ่มและเร่งปรับตัวเพื่อเรียกความมั่นใจให้ผู้บริโภคและลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างไร้กังวลเรื่องความปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีระบบบริหารที่จอดรถอัจฉริยะเข้ามาช่วยให้มีการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ หรือบุคคลให้น้อยที่สุด (Contactless) ตั้งแต่ก้าวเข้ามาใช้บริการ เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์โดยเริ่มเปิดสถานที่สาธารณะต่างๆ ให้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น แต่โควิด-19 ก็ได้สร้างความปกติในรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ (New Normal) ให้กับทุกคน เพราะต่างรู้กันอยู่แล้วว่า จากนี้ไปวิถีชีวิตประจำวันจะไม่มีอะไรเหมือนเดิม ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลชัดเจนที่ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับ New Normal ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในด้านความปลอดภัยว่า หากต้องมาใช้บริการจะไม่เกิดความเสี่ยงเมื่อต้องออกมาใช้ชิวิตนอกบ้าน และด้วยปัจจุบันที่เป็นยุคของดิจิทัล ดิสรัปชั่น จึงสามารถนำเทคโนโลยีไปพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยลดข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่างๆ ให้ตอบโจทย์และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ปัจจุบันมี 3 ธุรกิจหลักที่ควรเริ่มและเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีความปลอดภัยตั้งแต่ย่างก้าวแรกเมื่อเข้ามาใช้บริการ โดยลดการสัมผัสสิ่งต่างๆ หรือพบปะผู้คนเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมให้มากที่สุด 1.ห้างสรรพสินค้าต่างนำใช้นวัตกรรมมาใช้เพื่อลดการสัมผัสให้น้อยที่สุด (Touchless Innovation) ห้างสรรพสินค้าเป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งต้องเร่งปรับตัวรองรับมาตรการผ่อนคลายให้ประชาชนมาใช้บริการพร้อมรับกับวิถี New Normal โดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อลดการสัมผัสสิ่งต่างๆ ตั้งแต่พัฒนาแอปพลิเคชั่น ระบบสแกนคิวอาร์โค้ด การใช้เทคโนโลยีกล้องตรวจวัดอุณหภูมิ การนำหุ่นยนต์อัจฉริยะตรวจอุณหภูมิเพื่อวิเคราะห์สภาวะเสี่ยงหรือความผิดปกติที่ส่งข้อมูลประมวลผลแบบเรียลไทม์ที่ผ่านระบบ Cloud AI ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อมาใช้บริการแล้วจะมีมาตรการที่ปลอดภัยรองรับอยู่ การไปห้างฯ ในปัจจุบันนอกจากจะต้องรับกับวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยแล้ว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการเองก็ยังต้องรู้จักป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งต่างๆ ให้น้อยที่สุด ตั้งแต่การกดลิฟท์ที่ปัจจุบันห้างฯ มีทั้งการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ หรือการเปลี่ยนปุ่มกดลิฟท์เป็นการใช้เท้าแทน และถ้าจะให้ดีควรหันมาใช้ดิจิทัลอีเพย์เมนท์แทนในการชำระเงินเพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเงินสด […]
สร้าง Digital Transformation เริ่มต้นที่ Digital Culture
ในปัจจุบัน หลายองค์กรต่างมุ่งนำเทคโนโลยีมายกระดับศักยภาพการดำเนินงาน หรือที่เรียกกันว่าการทำ Digital Transformation แต่การจะทรานส์ฟอร์มให้สำเร็จนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นแบบ Digital Culture คือขั้นตอนแรกที่ต้องให้ความสำคัญ ในการวางรากฐานให้แข็งแกร่งเสียก่อน เพื่อให้ทั้งองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สำหรับหลักการสร้าง Digital Culture ประกอบด้วย 5 ข้อด้วยกัน 1. เข้าใจมุมมองของลูกค้ามากขึ้น กระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์มากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจจากมุมมองของลูกค้า และหาแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น 2. เปิดให้พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรระดับใดก็ตามควรมีสิทธิที่จะออกความเห็น และมีส่วนร่วมวางแนวทางการทำงานและหารือในประเด็นต่าง ๆ ภายในองค์กร แทนที่จะรับคำสั่งจากหัวหน้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการได้รับมุมมองที่แตกต่างจากบุคลากรหลากหลายฝ่าย 3. สร้างความมั่นใจ และกล้าที่จะลอง ด้วยวัฒนธรรมแบบดิจิทัลจะช่วยส่งเสริมให้บุคลากรมีความกล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการออกความเห็น และการนำเสนอผลงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาด ปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และอาจเป็นจุดเริ่มสู่การสร้างนวัตกรรมในอนาคต 4. เริ่มต้นด้วยการกระทำ มากกว่าคำพูด วัฒนธรรมแบบดิจิทัลเน้นการลงมือทำจริง เพื่อให้กระบวนการทำงานคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบจากการวางแผนงานระยะยาวรอบเดียว มาเป็นการวางแผนสั้นๆ และปรับแผนอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างรวดเร็วทันเวลา 5. สร้างคุณค่าในการทำงานเป็นทีม […]
4 ปัจจัยความสำเร็จ Digital Transformation
Digital Transformation กลายเป็น buzzword ในโลกธุรกิจ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้หลายธุรกิจต้องเร่งแสวงหาทางเอาตัวรอด หลังเผชิญวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา และต้องหาทางรับมือความไม่แน่นอนที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกในอนาคต แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์ม โดยข้อมูลล่าสุดจากผลการสำรวจของนิตยสารธุรกิจ CIO ช่วงปลายปีที่แล้ว พบว่ามี 47% ของบริษัท 510 แห่ง ที่ก้าวหน้าในการทรานส์ฟอร์มองค์กร ดังนั้น หากอยากประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์ม ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับปัจจัย 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูล องค์กรที่ล้มเหลวในการทรานส์ฟอร์มส่วนใหญ่ ยังไม่มีมาตรการหรือแนวทางการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในกรณีเลวร้ายที่สุดคือข้อมูลเหล่านั้นไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งปัญหามาจากการไม่สื่อสารกันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายไอทีและฝ่ายปฏิบัติการ (FrontLine Operations) ที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลและรูปแบบข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ 2. กระบวนการ การยึดติดกับแนวคิดแบบลำดับชั้น โดยมองแค่หน้าที่ความรับผิดชอบเป็นส่วนๆ และขาดการมองภาพรวมแบบบูรณาการ (end-to-end) การกระทำเช่นนี้คือหายนะของการทรานส์ฟอร์มองค์กร หากต้องการประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์ม องค์กรต้องอาศัยความคิดแบบ end-to-end โดยมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อย่างไร้รอยต่อของกระบวนการทำงานขององค์กรแบบ cross-functional 3. เทคโนโลยี น่าเศร้าที่หลายองค์กรมองการทรานส์ฟอร์มองค์กรว่าเป็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวและเน้นทุ่มเม็ดเงินลงในเทคโนโลยีที่มีกระแสมาแรง โดยปราศจากการศึกษาและความเข้าใจเทคโนโลยีนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น IoT […]
Digital Transformation เริ่มยังไง?
Digital Transformation คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?การปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยการทำเทคโนโลยีมาปลดล็อกศักยภาพขององค์กร Bottleneck ของธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดและเติบโตแบบก้าวกระโดด ถ้าองค์กรอยากทำ Digital Transformation ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง กลยุทธ์กำหนดเป้าหมายในการทรานส์ฟอร์ม และหา Business Model ที่ช่วยทลายขีดจำกัดขององค์กร หลังจากนั้นไปลองทดสอบเพื่อสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ โดยเฉพาะ วัฒนธรรมองค์กรบุคลากรในองค์กรต้องมี Mindset ที่เปิดกว้าง พร้อมเปิดรับความเป็น Digital และวิธีการทำงานใหม่ๆ อย่าง Agile เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เทคโนโลยีเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับทั้งตัวธุรกิจและบุคลากรในองค์กร เช่น ใช้งานง่าย ใช้ได้จริง และช่วยทลายคอขวดของธุรกิจ ความท้าทายในการทรานส์ฟอร์ม ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์น้อยเกินไป คนในองค์กรเปลี่ยน Mindset ยาก ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ มั่นใจในโมเดลธุรกิจตัวเองมากเกินไปว่าจะไม่มีคู่แข่ง ทำไมคนไม่ยอมเปลี่ยน Incentiveเปลี่ยนแล้วเสียผลประโยชน์ ต้องหาโมเดลที่ปรับแล้วไม่กระทบมาก Capabilityต้องสร้างศักยภาพให้คนมีความพร้อมสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ Egoต้องหาวิธีการโน้มน้าว ยกเหตุและผลว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงจึงดีกว่า ผู้นำไม่เปลี่ยน Mindset ทรานส์ฟอร์มองค์กรยาก3 เรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องทำ ต้องมีความเข้าใจเข้าใจภาพใหญ่ เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร ต้องเปิดใจเปิดกว้างยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ยอมรับแนวคิดใหม่ๆ […]
แข่งขันอย่างไร้ขอบเขตผ่าน Digital Ecosystem
แม้การเข้ามาของเทคโนโลยี ทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น จนตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้นโดยใช้ต้นทุนต่ำลง แต่ก็ส่งผลให้การแข่งขันในโลกธุรกิจดุเดือดยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หนึ่งในกลยุทธ์ที่หลายๆ ธุรกิจเริ่มนำมาใช้คือการผลักดันตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Ecosystem และใช้ประโยชน์จากพันธมิตรใน Ecosystem นั้น ๆ Digital Ecosystem คืออะไร ? Digital Ecosystem คือการสร้างระบบนิเวศที่มาจากการเชื่อมต่อหลายระบบ หลายบริการ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในการใช้งานหลากหลายผ่านช่องทางเดียว เช่น E-commerce Platform ชื่อดังอย่าง Lazada ที่ร่วมมือกับธนาคารหลายแห่งเพื่อเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับลูกค้า รวมถึงจับมือกับผู้ให้บริการด้าน Logistics เพื่อดำเนินการส่งของอย่างรวดเร็วให้กับลูกค้า หรือแม้กระทั่งการจับมือกับธุรกิจค้าปลีกเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น จุดเริ่มต้นของ Digital Ecosystem: เมื่อธนาคารเริ่มปรับตัวเพื่อให้บริการ Lifestyle Banking ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทุกอุตสาหกรรมล้วนได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงินนั่นเอง เมื่อก่อนธนาคารเป็นเพียงสถานที่รับฝาก ถอน โอน จ่ายเงิน แต่ในปัจจุบันรูปแบบการให้บริการของธนาคารไม่ได้จำกัดอยู่แค่แบบเดิม เพราะเมื่อ Fintech ได้เข้ามาให้บริการดังกล่าวเช่นกัน ทำให้ธนาคารเผชิญการแข่งขันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องปรับตัวไปให้บริการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Lifestyle […]
สรุป OKR เครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย
ใกล้จะสิ้นปีแล้ว เชื่อว่าหลายบริษัทหรือหลายคนในที่นี้คงกำลังเริ่มวุ่นกับการทำแผนธุรกิจสำหรับปีหน้า และหนึ่งในหัวข้อสำคัญคงไม่ผลเรื่องแนวทางการปฏิบัติงานและการวัดผล โดยเฉพาะการทำ KPI และ OKR วันนี้เราจึงอยากจะมาเล่าถึงการจัด OKR ที่ดีเพื่อให้องค์สามารถบรรลุเป้าหมายธุรกิจในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงต้องบอกว่า OKR (Objectives & Key Results) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถนำ OKR ไปใช้ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้จริง เราจึงขอนำเสนอแนวทางการเขียน OKR อย่างได้ผล โดย OKR มีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลักด้วยกัน 1. Objectives คือเป้าหมาย หมายถึงสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จ (What) ควรเป็นเป้าหมายหลักขององค์กร หน่วยงาน หรือทีมที่กระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันในการทำงาน โดยเป้าหมายอาจไม่จำเป็นต้องมีเพียงอย่างเดียว เช็คลิสต์การตั้งเป้าหมาย เป้าหมายมีทิศทางที่ชัดเจนหรือไม่ เป้าหมายควรสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร เป้าหมายมีความท้าทาย แต่ขณะเดียวกันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริง เป้าหมายควรอิงจากข้อมูลความเป็นจริง ไม่ล่องลอยโดยไม่มีหลักการ เป้าหมายมีกรอบเวลาในการบรรลุผลหรือไม่ 2. Key Results คือตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าหมาย ซี่งก็หมายถึงแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (How) ในการกำหนดตัวชี้วัดควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ โดยวัดจากผลลัพธ์ที่ได้ ไม่ใช่ตัวกิจกรรมที่ทำ และการกำหนดตัวชี้วัดควรอยู่ที่ราว […]
PMO สูตรเร่งความสำเร็จทรานส์ฟอร์มองค์กร
คงต้องบอกว่าสูตรลับสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ขององค์กรแต่ละแห่งนั้นมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการมีหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อทำงานเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรโดยเฉพาะ “PMO” (Program Management Office) เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายองค์กรใช้เป็นเครื่องมือสำหรับทำ Transformation โดย PMO คือหน่วยงานเฉพาะกิจที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการโปรเจคหรือโครงการต่างๆ ในองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการบริหารโครงการและเข้าใจกลยุทธ์ขององค์กรเป็นอย่างดี ซึ่ง PMO นี้จะทำหน้าที่ทั้งประสานให้หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรทำงานสอดรับกัน และผลักดันแรงต้านต่างๆ ในการทำงานให้ลดน้อยลงไป โดยทั่วไป PMO จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน Passive PMO คือการบริหารโครงการแบบกว้างๆ และสนใจแค่คุณภาพของกระบวนการในการบริหาร เช่น เอกสารต่างๆ สถานะของโครงการ Activist PMO คือการบริหารจัดการโครงการร่วมกับผู้จัดการโครงการและผู้ทำงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องทำงานเชิงรุกและวางแผนล่วงหน้าเพื่อกำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที Accountable PMO คือการบริหารจัดการโครงการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยตัวเองตลอดทั้งกระบวนการ องค์กรส่วนใหญ่คุ้นชินกับการใช้ Passive PMO ที่มุ่งเน้นแค่การบริหารจัดการในภาพรวมเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรที่ทำ Transformation ได้สำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีทีม PMO ที่มีความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น และกระตือรือร้นสูงกว่าแบบ […]